บทความที่ได้รับความนิยม

วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เส้นทางสายหมดหนี้ : บันไดขั้นที่ 10 เครดิตบูโร

หลายคนมีหนี้เพิ่มมากกว่าเดิมเพราะ คำนี้ “เครดิตบูโร
กลัวว่าหากไม่จ่ายหนี้แล้วจะติดเครดิตบูโร กลัวจะเสียเครดิต
ทำธุรกรรมกับแบงก์ไม่ได้ ชีวิตจะมืดมนมาก
ทุกครั้งที่ถูกตามหนี้จะมีคำพูดเรื่องการเสียเครดิตมา ขู่ ลูกหนี้เสมอทำให้ลูกหนี้พยายามหาเงินมาจ่ายหนี้จนมีเพิ่มเป็นทวีคูณ

ขอบอกลูกหนี้ทุกคนว่า หากเราไม่ใช่นักธุรกิจที่จำเป็นต้องพึงพาเงินลงทุนจากธนาคารต่างแล้ว คำคำนี้ไม่มีผลมากหรอก

หากคุณหยุดจ่ายหนี้ ณ วันนี้คุณอาจเสียเครดิตติดแบล็คลิสต์แต่วันไหนที่คุณจ่ายหนี้หมด นับจากวันนั้นไป 2-3 ปี ชื่อคุณก็จะปลดจากการติดเครดิตแล้ว ลองศึกษาข้อมูลจากกระทู้เก่าๆดูก็ได้ มีเพียบเลย
http://www.consumerthai.org/compliant_board1/view.php?id=14586http://www.consumerthai.org/compliant_board1/view.php?id=14711http://www.consumerthai.org/compliant_board1/view.php?id=14538
และธนาคารไม่ได้ส่งข้อมูลของคุณทุกเดือน บางทีส่งทุก 6 เดือน บางแห่ง 1 ปี จึงส่งข้อมูล ครั้งหนึ่ง
เพราะฉะนั้น หากคุณสามารถเคลียร์หนี้ได้หมด ช่วง ม.ค – ธ.ค ของแต่ละปี เมื่อธนาคารส่งข้อมูลคุณไปที่เครดิตบูโร ข้อมูลที่โชว์อาจจะเป็น “ไม่มียอดค้างชำระ" ก็ได้

และถึงคุณจะจ่ายขั้นต่ำทุกเดือนโดยไม่หยุด แต่หากคุณมีหนี้หลายบัญชี ต่อให้คุณไม่เสียเครดิตไม่ติดเครดิตบูโร คุณก็อาจจะขอกู้ต่างๆไม่ผ่านก็ได้ เพราะแบงก์อาจเห็นว่า คุณมีภาระหนี้มากเกินความสารถที่จะจ่ายอยู่แล้วก็ได้

***บางทีการหยุดจ่ายเพื่อล้างหนี้ให้หมดแม้จะเสียเวลา1- 5 ปี มันอาจจะดีกว่าคุณทนจ่ายขั้นต่ำไปเรื่อยแล้วหนี้ไม่หมดสักทีและทำธุรก รรมกับแบงก์ไม่ได้เสียด้วยซ้ำ

ที่มา   http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=14748

เส้นทางสายหมดหนี้ : บันไดขั้นที่ 9 เรื่องของอายุความ

ลูกหนี้ควรมีความรู้เรื่อง อายุความ” ด้วย อย่างน้อยมันก็อาจจะเป็นประโยชน์กับการเจรจาต่อรองเรื่องแฮร์คัทได้

*********
อายุความในการฟ้องสำหรับ "หนี้" ที่ผิดนัดชำระ...ให้นับจาก
วันที่ผิดนัดชำระครั้งสุดท้าย...จนถึงวันที่ฟ้องคดี

ที่ผ่านมาส่วนใหญ่...เรามักจะเข้าใจกันว่า
ให้นับจากวันที่จ่ายค่างวดเป็นครั้งสุดท้าย...จนถึงวันที่ฟ้อง
ซึ่งเป็นการเข้าใจที่ ผิด ครับ

อย่าลืมนะครับ ภาษาของกฏหมายเขียนเอาไว้ว่า
นับจากวันที่ผิดนัดชำระครั้งสุดท้าย จนถึงวันที่ฟ้อง

ทีนี้เรามาตีความกันสักหน่อยนะครับ
คำว่า วันที่ผิดนัดชำระครั้งสุดท้าย ไม่ได้หมายถึงวันที่จ่ายชำระเงินเป็นครั้งสุดท้ายนะครับ
เพราะการที่เราจ่ายเงินไปในครั้งสุดท้ายนั้น...เรายังไม่ได้ผิดสัญญา ดังนั้น อายุความก็จะยังไม่เริ่มนับ

ความหมายของคำว่า “ผิดนัดชำระสัญญา” ก็คือ...เมื่อถึงวันที่เราจะต้องจ่ายคืนเงินกู้ตามสัญญาที่ได้ระบุไว้ แต่เรากลับมิได้จ่ายตามวันที่ได้กำหนดไว้สัญญา...นั่นแหละ...จึงจะถือได้ว่า “เริ่มผิดนัดชำระตามสัญญา”

ขออนุญาตสมมุติตัวอย่างให้ดูสักกรณีหนึ่งนะครับ จะได้เข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

นาย ก. ได้ไปทำการกู้เงินจาก ธนาคาร A มาเป็นจำนวนเงิน XX,XXX บาท ซึ่งกำหนดให้ผ่อนจ่ายคืนทั้งหมด 24 งวดๆละ 1,000.-บาท โดยต้องผ่อนจ่ายคืนไม่เกินวันที่ 8 ของทุกๆเดือน
นาย ก. ได้รับเงินกู้มาแล้ว ในวันที่ 9/ก.ค./ 2550...ซึ่งหลังจากนั้น นาย ก. ได้ผ่อนจ่ายชำระคืนไปแล้ว เป็นบางงวด ดังนี้
งวดที่1_____จ่าย 1,000.-บาท_____วันที่จ่าย 8/ส.ค./2550
งวดที่2_____จ่าย 1,000.-บาท_____วันที่จ่าย 7/ก.ย./2550
งวดที่3_____จ่าย 1,000.-บาท_____วันที่จ่าย 6/ต.ค./2550
งวดที่4_____จ่าย 1,000.-บาท_____วันที่จ่าย 7/พ.ย./2550
งวดที่5_____ซึ่ง นาย ก. ควรจะต้องจ่ายค่าผ่อนชำระ 1,000.-บาท ไม่เกินวันที่ 8/ธ.ค./2550 ตามสัญญา แต่ นาย ก. เริ่มประสพปัญหาเรื่องเงินหมุน (ไม่มีเงินจ่าย) จึงเริ่มหยุดจ่าย...นับตั้งแต่วันที่ 8/ธ.ค./2550 เป็นต้นมา...จนถึงปัจจุบัน
วันที่ 8/ธ.ค./2550 นี่แหละครับ ที่ถือว่า นาย ก. ได้เริ่มผิดนัดชำระตามสัญญา
ส่วนจะไปอ้างว่า วันที่ 7/พ.ย./2550 เป็นวันที่ นาย ก. ได้เริ่ม “ผิดนัดชำระตามสัญญา” เพราะว่าเป็น “การจ่ายชำระเงินเป็นครั้งสุดท้าย” มิได้...เพราะถือได้ว่า นาย ก. ยังมีการจ่ายชำระเงินในวันที่ 7/พ.ย./2550 ตามสัญญาอยู่ จึงไม่ได้เป็นการผิดนัดตามสัญญาแต่อย่างใด จนกว่าจะถึงรอบบิลในการชำระเงินครั้งต่อไป

ที่ผมหยิบยกเอาประเด็นนี้ขึ้นมาเสริม เพราะเกรงว่าอาจส่งผลต่อการสู้ต่อคดีของลูกหนี้บางท่าน ที่ยังไม่เข้าใจในการตีความของกฏหมาย

เช่น...ถ้าลูกหนี้ถูกฟ้องเรื่อง”หนี้บัตรเครดิต”...ซึ่งได้หยุดจ่ายมาเป็น เวลา 24 เดือน (2 ปี) พอดี โดยที่ตัวลูกหนี้เอง ใช้วิธีคำนวนระยะเวลา จากวันที่เริ่มหยุดจ่ายจนถึงวันที่ฟ้อง และได้อ้างข้อมูลดังกล่าวนี้ต่อศาลว่า “คดีขาดอายุความ” เพื่อที่จะให้ศาล “ยกฟ้อง” ให้
แต่ถ้าทนายฝ่ายโจทก์กล่าวแย้งว่า “ยังไม่ขาดอายุความ” ตามเหตุผลที่ผมได้ยกตัวอย่างในเรื่อง นาย ก. ให้ศาลพิจารณา...จะทำให้คดีที่ถูกฟ้องร้องนี้ มีระยะเวลาในการ”ผิดนัดชำระสัญญา” เพียงแค่ 23 เดือน (1 ปี กับอีก 11 เดือน) เท่านั้น...ดังนั้น คดีนี้จึงไม่ขาดอายุความ และอาจส่งผลให้ลูกหนี้ถูกตัดสิน “แพ้คดี” เนื่องจากการสู้ความ "ผิดประเด็น" ก็เป็นได้
ดังนั้น สำหรับเพื่อนสมาชิกที่จะใช้ “เงื่อนไขของ การผิดนัดชำระตามสัญญา” สำหรับต่อสู้คดีในเรื่อง “ขาดอายุความ” ให้พิจารณาถึงส่วนนี้ด้วยนะครับ

สำหรับอายุความของหนี้สินประเภทต่างๆ...เท่าที่ผมได้เคยสอบถามกับผู้รู้กฏหมาย...ได้ความมาตามนี้ครับ
หนี้บัตรเครดิต...อายุความในการฟ้อง หลังจากมีการผิดนัดชำระตามสัญญา = 2 ปี
หนี้เงินกู้ หรือสินเชื่อ...อายุความในการฟ้อง หลังจากมีการผิดนัดชำระตามสัญญา = 5 ปี
สัญญาเช่าซื้อ...อายุความในการฟ้อง หลังจากมีการผิดนัดชำระตามสัญญา = 3 ปี

คำว่า คดีขาดอายุความ มีความหมายว่า "ไม่สามารถเอาผิดได้ตามกฏหมายที่บัญญัติไว้"...แต่ไม่ได้หมายความว่า ฟ้องไม่ได้ หรือห้ามฟ้อง นะครับ...กล่าวคือถ้าอยากจะฟ้องก็ฟ้องไป แต่ฟ้องแล้วก็ไม่สามารถเอาผิดกับจำเลยได้
ดังนั้น ถ้ามันรู้ว่า...คุณเองก็พอมีความรู้ในเรื่อง "คดีขาดอายุความ"...มันจึงไม่ฟ้องดีกว่า...เสียเงินและเสียเวลาในการฟ้องไป เปล่าๆ...แต่มันจะใช้วิธีในการทวงหนี้แบบนี้ไปเรื่อยๆแทน เพราะกฏหมายไม่ได้ระบุไว้นี่ครับว่า ถ้าไม่ฟ้องแล้วห้ามทวงหนี้โดยเด็ดขาด

เข้าใจไหมครับ? จาก คุณนกกระจอกเทศ (http://www.consumerthai.org/compliant_board1/view.php?id=14588 )

และ

บัตรเครดิต................................อายุความ 2 ปี
บัตรเงินสด................................อายุความ 2 ปี
หนี้วงเงินเบิกเกินบัญชี..................อายุความ10 ปี( วงเงินโอดี)
หนี้เงินกู้...................................อายุความ 10 ปี (สัญญากู้ยืมที่กำหนดชำระเงินต้นคืนทั้งหมดในครั้งเดียว)
หนี้เงินกู้สินเชื่อบุคคล...................อายุความ 5 ปี (สัญญากู้ยืมที่มีการผ่อนต้นคืนพร้อมดอกเบี้ยเป็นงวดๆ)
จากคุณ Greeny (http://www.consumerthai.org/compliant_board1/view.php?id=14588 )

หรือ จากTITAN http://www.consumerthai.org/compliant_board1/view.php?id=14523

ที่มา http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=14748

เส้นทางสายหมดหนี้ : บันไดขั้นที่ 8 การอายัดเงินเดือน

ลำดับการอายัดเงินเดือน, อายัดทรัพย์
1.มี เจ้าหนี้หลายที่ ถูกฟ้องไล่เลี่ยกัน และมีคำพิพากษาออกมาแล้ว ลูกหนี้ไม่มีการชำระหนี้ เจ้าหนี้จะต้องยื่นเรื่องกับกรมบังคับคดี เพื่ออายัดเงินเดือน,อายัดทรัพย์ ประมาณว่าใครทำเรื่องก่อนได้เงินก่อนใช่หรือไม่ หรือว่าต้องให้สิทธิกับเจ้าหนี้ที่ฟ้องก่อน หรือมีคำพิพากษาออกมาก่อนทำเรื่องบังคับคดีได้เป็นรายแรก
- เจ้าหนี้รายไหนไปร้องขอบังคับคดีก่อนก็ได้บังคับคดีก่อน โดยไม่สนใจว่าจะฟ้องก่อนฟ้องหลัง หรือมีคำพิพากษาก่อนมีคำพิพากษาหลัง.... สมมุติเจ้าหนี้รายแรกฟ้องแล้วมีคำพิพากษาออกมาแล้วก่อน แต่ยังชะล่าใจไม่รีบไปดำเนินการร้องต่อศาลขอบังคับคดี ต่อมาเจ้าหนี้รายที่ 2 ฟ้องแล้วมีคำพิพากษาออกมาแล้วไปดำเนินการร้องต่อศาลขอบังคับคดีก่อน เจ้าหนี้รายที่ 2 ก็จะได้บังคับคดีก่อน

2.เมื่อมีคำพิพากษาออกมาแล้ว ให้ลูกหนี้แบ่งชำระหนี้เป็นงวด ๆ เนื่องจากไม่มีเงินก้อน โดยถูกฟ้องหลายคดี ถ้าจะจ่ายได้ก็คงจ่ายไม่ครบทุกที่ คงต้องยอมให้อายัดเงินเดือน 30 % จะดีกว่ามั๊ย จะได้หมดหนี้เป็นราย ๆ ไป (เงินเดือนถูกหักหนี้บ้าน ธอส., และหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ ก็แทบแย่แล้ว)
- คำพิพากษาไม่ระบุว่าจะต้องชำระอย่างไร ขึ้นอยู่กับลูกหนี้และเจ้าหนี้จะไปตกลงกันเอง.... ถูกต้องครับ หากมีเจ้าหนี้เค้าฟ้องหลายๆรายพร้อมๆกัน และเมื่อคำนวณดูแล้วไม่สามารถผ่อนจ่ายเจ้าหนี้ทุกรายได้พร้อมกัน ควรที่จะปล่อยให้เข้าสู่ขั้นตอนอายัดเงินเดือน (กรณีที่ไม่มีทรัพย์สินอะไรนะครับ) เพราะถ้าผ่อนจ่ายเจ้าหนี้ทุกรายไม่ได้ เจ้าหนี้รายที่คุณไม่ผ่อนจ่ายเค้า เค้าก็ไปร้องต่อศาลขอบังคับคดีอยู่ดี...

ที่มา  http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=19638







เส้นทางสายหมดหนี้ : บันไดขั้นที่ 7 จะจ่ายหนี้เมื่อไหร่และอย่างไรดี

1.จ่ายเมื่อเจรจาขอแฮร์คัทได้ และได้เอกสารยืนยันแน่นอนและได้รับคำยืนยันจากแบงก์แล้ว
2.เมื่อได้รับหมายศาล สามารถเจรจาขอจ่ายหนี้ได้เลย
3.ไปเจรจาตามวันที่ศาลนัด และจ่ายตามที่ตกลงกัน
4.หลังจากที่ศาลตัดสินแล้วก็สามารถเจรจาขอจ่ายได้ จะเป็นก้อนเดียวจบ จะเป็นงวดแบบขั้นบันได จะเป็นการแฮร์คัท ก็แล้วแต่จะตกลงกัน

ลองศึกษาข้อมูลนี้ดูนะคะ

แนวทางปฏิบัติหลังศาลตัดสินแล้ว ว่าคุณเหมาะสมกับแบบไหนระหว่าง การจ่ายหลังคำพิพากษา &รอให้อายัดเงินเดือน


1) การจ่ายเงินหลังคำพิพากษา จะเหมาะกับ คนที่มีบ้าน จำนองบ้าน +โดนฟ้อง 1-3 ราย + เงินเดือนสูง

- กรณีเงินเดือนสูง 30,000 – 50,000 ถ้าปล่อยไปถึงอายัดเงินเดือนมากตาม เดือนละ 9,000 – 15,000

- การโดนฟ้องศาลไม่มาก 1- 3 ราย ถ้าโดนฟ้องติดๆกัน รวมทั้งหมด 3 ราย และแต่ละรายจะต้องผ่อนจ่ายหลังคำพิพากษารายละ 2,000 บาท ในช่วงปีที่ 1 (แบบขั้นบันได) อาจจะจ่ายน้อยบ้าง ครบบ้าง ตามความเหมาะสม ดังนั้นคุณเสียเงินเพื่อผ่อนจ่ายตามคำพิพากษาเฉลี่ย 1,000 - 2,000 * 3 ราย = 3,000 - 6,000 บาท/เดือน ส่วนต่างที่เหลือเมื่อเทียบกับการปล่อยให้อายัดเงินเดือน = 6,000-12,000 บาท/เดือน ก็จะเป็นทั้งการป้องกันเรื่องการโดนบังคับคดี ยึดบ้าน หรือ เพื่อเก็บเงินต่อเดือนมากขึ้น เพื่อเก็บไว้รอ hair cut นั่นเองนะครับ

- คนที่มีบ้าน/บ้านจำนอง และโดนฟ้องหลายราย การผ่อนจ่ายจะมากตาม จนไม่สามารถเก็บเงินได้ วิธีนี้อาจจะไม่ใช่ทางออกที่ดีนั่นเอง


2) การให้ไปจบที่อายัดเงินเดือน จะเหมาะกับ คนที่ไม่มีบ้าน จำนองบ้าน +โดนฟ้องมากกว่า 3 ราย

- เราสามารถเจรจา hair cut ได้ตลอดเหมือนแบบที่ 1


3) แนวทางการ hair cut จะทำตอนไหนระหว่าง (จ่ายตามคำพิพากษา) หรือ (อายัดเงินเดือน) โดยรูปแบบการ hair cut ตั้งแต่ขั้นตอนนี้จะแตกต่างกันแล้วแต่กรณี รายละเอียดตามนี้

3.1 ถ้าไม่มีบ้าน จำนองบ้าน เงินเดือน +/- 10,000
case แบบนี้ หลังศาลตัดสินลูกหนี้จะได้เปรียบเพราะเจ้าหนี้ไม่มีช่องทางจะเอาเงินคุณได้ เลย แต่ถ้าคุณไม่จ่าย หนี้ก็จะติดตัวคุณไปตลอด!!!
ค่อยๆเก็บเงินไปไม่กี่เดือนก็จะ hair cut ได้
3.2 ถ้ามีบ้าน/บ้านติดจำนอง ทรัพย์สิน เงินเดือน +/- 10,000
case นี้การนิ่งเฉยไม่ทำอะไรเลย ถึงแม้จะอายัดเงินเดือนไม่ได้ แต่จะเสียงกับการโดนสืบทรัพย์ได้ ทั้งบ้านที่ไม่ติดจำนอง หรือ บ้านที่ติดจำนองแต่ผ่อนมานาน จนมูลหนี้เหลือน้อยมาก จะเกิดส่วนต่างระหว่างหนี้ กับ ราคาประเมินมาก เจ้าหนี้อาจจะฟ้องบังคับคดีขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินส่วนต่างตรงนี้นั่นเอง
การ hair cut ทำได้เหมือนข้อ 1 แต่จะเสี่ยงมากกว่า ทางออกคือต้องประเมินเรื่องบ้านก่อน และ เจรจากับเจ้าหนี้อย่างต่อเนื่อง ห้ามหายตัวเด็ดขาด

3.3 ถ้าไม่มีบ้าน/ไม่มีบ้านติดจำนอง เงินเดือน > 10,000 - 20,000 case นี้การนิ่งเฉยหลังศาลตัดสิน เจ้าหนี้จะฟ้องบังคับอายัดเงินเดือนได้อย่างเดียว การ hair cut ทำได้ตั้งแต่ศาลตัดสิน จนถึงระหว่างอายัดเงินเดือน ระหว่างอายัดเงินเดือนก็สามารถเจรจา hair cut ได้ขอเพียงมีเงินพร้อม และเจรจาจนพอใจทั้ง 2 ฝ่าย


3.4 ถ้ามีบ้าน/มีบ้านติดจำนอง เงินเดือน >10,000 -20,000
case นี้การนิ่งเฉย หรือคิดว่าจะปล่อยให้อายัดเงินเดือนต้องระวัง เพราะเจ้าหนี้จะทำการสืบทรัพย์และบังคับยึดบ้าน ก่อนถึงขั้นตอนอายัดเงินเดือนได้ จึงควรต้องเจรจากับเจ้าหนี้ให้ได้ว่าจะให้เราผ่อนจ่ายเท่าไหร่ ห้ามหายหน้าเด็ดขาด เงื่อนไขเจรจาที่ได้ผลดีคือขอจ่ายแบบขั้นบันได เริ่มปีที่1 น้อย แล้วค่อยๆเพิ่มไป ตามความเหมาะสม) หลังจากได้เงื่อนไขแล้วก็ชำระหนี้ไปอย่างสม่ำเสมอ จ่ายพอดีบ้าง น้อยบ้าง แบบสมเหตุสมผล เพื่อไม่ให้เจ้าหนี้ฟ้องบังคับคดีเราได้ หรือถ้าแก้ไขเรื่องบ้านได้แล้ว จะให้ไปจบที่อายัดเงินเดือนก็ย่อมทำได้

การ hair cut จะต้องพิจารณามากกว่าข้อ 3.3 เนื่องจาก มีบ้าน/จำนองบ้าน การปล่อยให้ไปถึงขั้นตอนอายัดเงินเดือน บ้าน/บ้านจำนอง อาจจะได้รับผลกระทบด้วย

3.5 ถ้ามีบ้าน/มีบ้านติดจำนอง เงินเดือนสูงๆ เช่น 30,000 - 50,000 case นี้ถ้านิ่งเฉยหลังศาลตัดสิน จะเสี่ยองต่อการโดนยึดทรัพย์เหมือนข้อ 3.4 อีกทั้งการอายัดเงินเดือนก็จะโดนมาก คือ 30% = 9,000 - 15,000 (ภาระที่หนักมากนั่นเอง) จึงมีหลายทางเลือก เนื่องจากมีรายได้สูง

- การขอจ่ายหลังคำพิพากษา เพื่อลดภาระการชำระหนี้มากๆๆ นั่นเอง เช่น ขอจ่าย 1,500 หรือ 2,000 หรือ 2,500 ต่อ/เดือน แบบขั้นบันได มีน้อยจ้ายน้อย จ่ายพอดีบ้าง ซึ่งการจ่ายแบบนี้จะน้อยกว่าโดนอายัดเงินเดือน แต่ต้องโดนฟ้อง 1-3 รายเท่านั้น ถึงจะคุ้ม เงินส่วนต่างก็เก็บไว้เพื่อรอ hair cut เป้นต้น

- ถ้าโดนฟ้องเกิน 3 ราย การจ่ายหลังคำพิพากษาจะไม่คุ้ม เช่น โดนฟ้อง 5 ราย จะต้องผ่อนจ่ายเกือบ 10,000 บาท/เดือน ซึ่งจะทำให้ไม่มีเงินเหลือเก็บเพื่อ hair cut เป็นต้น

http://www.consumerthai.org/compliant_board1/view.php?id=10152
*** ถ้าศาลตัดสินแล้วสักสองสามเดือน ลูกหนี้ยังไม่ยอมจ่ายหนี้อีก คราวนี้แหล่ะ การบังคับคดี(อายัดเงินเดือน/ยึดทรัพย์)ก็จะตามมา

ที่มา  http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=14748

เส้นทางสายหมดหนี้ : บันไดขั้นที่ 6 เมื่อถูกฟ้องจะต้องทำอย่างไร

ระหว่างที่ลูกหนี้เก็บเงินรอแฮร์คัท ถ้ามี รายไหนส่งฟ้องศาลก็ไม่ต้องตกใจ ขอให้ลองศึกษาข้อมูลเหล่านี้ดู

ขั้นที่ 6 แนวทางปฏิบัติเมื่อคดีความที่เข้าสู่ศาลแพ่ง

1 มาจากการเจรจา hair cut ไม่ได้ / ไม่ทัน เนื่องจาก เราไม่มีเงินพอ หรือ แบงค์ต้องการเงินคืนเร็ว เลยฟ้องเร็ว อันนี้ไม่มีอะไรแน่นอน

2 ขั้นตอนนี้ก็ยังสามารถเจรจา hair cut ได้เรื่อยๆ จำไว้ว่าการ hair cut ทำได้ในทุกขั้นตอน ขอเพียงเรามีเงิน

3 วันไปขั้นศาล ควรไปทุกนัดจะดีมาก

3.1 ไปนัดแรก เป็น นัดไกล่เกลี่ย

ก) หากคู่ความ ตกลงกันได้ในต้นเงิน ดอกเบี้ย ระยะเวลา และค่าใช้จ่ายต่อกัน เช่น ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ ค่าทนายความโจทก์ 500-1,000 บาท

(ก.1) ก็จะลงนามใน บันทึกการไกล่เกลี่ย โดยคู่ความ โจทก์ ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ หรือทนายความโจทก์ และ จำเลย หรือทนายความจำเลยและ ผู้ไกล่เกลี่ย

(ก.2) เจ้าหน้าที่ศาล จะทำ คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมตามที่คู่ความตกลงกันไปให้ผู้พิพากษาลงนาม โดยท่านผู้พิพากษาจะให้คู่ความทั้งสองฝ่ายพร้อมกันต่อหน้า

(ก.3) ท่านผู้พิพากษาจะอ่านคำพิพากษาให้สองฝ่ายทราบ และแก้ไขข้อความให้ตรงกับที่คู่ความ ตกลง พึงพอใจสองฝ่ายเมื่อเป็นที่เข้าใจตรงกันแล้ว

(ก.4) ท่านจะมีคำพิพากษาและลงนามไปตามนั้น พร้อมให้คู่ความลงนาม และมอบคำพิพากษาให้คู่ความเก็บเป็นหลักฐานและปฏิบัติไปตามนั้น

(ก.5) ขั้นตอนเจรจาที่จบลงแบบนี้ คือ เงื่อนไขที่ลูกหนี้ร้องขอ เจ้าหนี้พอใจ แต่ถ้าไม่ยินยอมก็ไปข้อ (ข)

ข) หากคู่ความไม่ตกลงในนัดไกล่เกลี่ย

(ข.1) จะส่งเรื่องคืนเข้าสู่การนัดสืบพยานเรื่องราวที่ตกลงกันในการไกล่เกลี่ยถือเป็นโมฆะ ไม่นำกลับมาเป็นข้ออ้างในการพิจารณาของศาล

(ข.2) ขั้นตอนที่เจรจา ส่วนใหญ่จะลงเอยแบบนี้มากกว่าข้อ (ก) เพราะโจทก์ (แบงค์) มักไม่ยอมตามเงื่อนไขลูกหนี้ง่ายๆ ขั้นตอนมีคร่าวๆดังนี้ครับ

2.1 หลังมาศาลแล้วจะเจอทนายของแบงค์ (โจทก์) ที่ฟ้อง ให้เราเจรจาเงื่อนไขที่เราต้องการ ถ้าแบงค์ไม่ยอมอะไรเลย ก็ขอเลื่อนคดี (ยืดหนี้)ออกไปก่อน เช่น ใช้เทคนิคเรื่องโบนัสที่จะออกใน 3-4 เดือนข้างหน้า เป็นต้น

2.2 ดังนั้นเทคนิคยืดเวลา คือ การขอเลื่อนคดีออกไป อีก 2-4 เดือน (แต่ไม่ใช่การสู้คดีนะ) ลูกหนี้มีสิทธิ์ ถึงแม้ทนายโจทก์จะไม่อยากให้เลื่อนก็ตาม ลูกหนี้ทุกคนมีสิทธิ์ร้องขอ ควรทำความเข้าประเด็นนี้ให้มากๆ

2.3 หรืออีกเทคนิคคือ การยื่นคำให้การ แต่จะยุ่งยากกว่าข้อ 2.2 (อาจจะต้องจ้างทนาย) ลองประเมินตามความเหมาะสม


2.4 ระหว่างที่รอมาศาลในนัดต่อไป ก็เก็บเงินไปเรื่อยๆ ได้อีกหลายเดือน ระหว่างนี้ถ้าพร้อมก็เจรจา hair cut ได้เลย โจทก์ก็จะถอนฟ้องให้ หรือถ้าเงินยังเก็บได้ไม่พอ ก็ไม่ต้องกังวลใจ ค่อยไปต่อรองหน้าศาลในนัดต่อไปได้

ตัวอย่างกระทู้ - ไปศาลนัดแรก

กระทู้การขอเลื่อนคดี 2-4 เดือน (แบบธรรมดา )>>>>>>>>>>>>>http://www.consumerthai.org/compliant_board1/view.php?id=9982

กระทู้การได้เลื่อนคดี 6-7 เดือน เพราะจะจ่ายด้วยโบนัส >>>>>>>>>>>http://www.consumerthai.org/compliant_board1/view.php?id=9105

กระทู้เสี่ยง (มาศาลแต่ไม่ยอมพบผู้พิพากษา) เพราะเชื่อทนายโจทก์มากไป >http://www.consumerthai.org/compliant_board1/view.php?id=9806


กระทู้ไกล่เกลี่ยลงตัว เซ็นต์ยอมความและให้ศาลตัดสินเลย >>>>>>>>http://www.consumerthai.org/compliant_board1/view.php?id=9784


กระทู้ต้องการสู้คดี >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>http://www.consumerthai.org/compliant_board1/view.php?id=9375


กระทู้ต่อสู้เรื่อง หมดอายุความ แล้วโดน Bank หยอดเงิน>>>>>>>http://www.consumerthai.org /compliant_board1/view.php?id=9904


กระทู้ การยื่นคำให้การเรื่องคดีหมดอายุความ แบบไม่ต้องจ้างทนาย>>>>http://www.consumerthai.org /compliant_board1/view.php?id=10011


กระทู้ คดีหมดอายุความ แต่เจ้าหนี้หลอกให้ลูกหนี้จ่ายเงินเข้าและมั่วนิ่มฟ้องให้จ่ายหนี้ก่อนหมดอายุความด้วย
http://www.consumerthai.org/compliant_board1/view.php?id=9949

3.2ไปนัดที่ 2 เป็น นัดสืบพยาน

ก) ท่านผู้พิพากษาจะสืบคู่ความทั้งสองฝ่าย และพยานที่กล่าวอ้าง ตามกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงแห่งหนี้
ข) และจะนัดให้คู่ความฟังคำพิพากษาในวันถัดไป

3.3ไปนัดสุดท้าย เป็น นัดฟังคำพิพากษา

ก) มาถึงศาลแล้ว จะเจอทนายโจทก์ก็สามารถเจรจาเงื่อนไขได้ ถ้าเจรจาไม่ได้ก็ลองไปเจรจาหน้าบัลลังค์อีกครั้ง

ข) ผู้พิพากษาจะอ่านคำพิพากษาให้คู่ความทั้งสองฝ่ายฟัง โดยคู่ความสามารถตกลงกันตอนนี้ได้ หรือจะให้เป็นไปตามที่มีคำพิพากษาเลยก็ได้

(ข.1) ส่วนใหญ่ถ้ามาศาลคนเดียว ลูกหนี้ (ตัวเรา) จะขอความเห็นใจจากศาลในขั้นตอนนี้ครับ เช่น เทคนิคขอผ่อนแบบขั้นบันได
ปีที่ 1 = 1,000, 1,500, 2,000
ปีที่ 2 = 1,500, 2,000, 2,500
ปีที่ 3 = 2,000, 2,500, 3,000
ปีที่ 4 ………………………..ก็แล้วแต่ยอดหนี้และความเหมาะสม แต่คงไม่เกิน 10 ปีตามอายุบังคับคดี

(ข.2) จากนั้นศาลท่านจะแค่บอกแนวทางสั้นๆ แก่โจทก์ ถ้ายอมก็ตามนั้น ถ้าโจทก์ไม่ยอมก็ตัดสินตามคำฟ้องของเจ้าหนี้

ค) เมื่อท่านมีคำพิพากษาแล้ว คู่ความจะต้องลงนามในคำพิพากษา และรับคำพิพากษาแต่ละฝ่ายกลับไปปฏิบัติตามนั้นถือว่าจบกระบวนการพิจารณาคดี

ง) ค่าใช้จ่ายถ้าไปศาลเองก็ยังไม่ต้องจ่ายอะไร เป็นเรื่องที่ทนายจะไปเรียกเก็บกับทางแบงค์ต้นสังกัดเอง

ข้อมูลนี้เอามาจาก http://www.consumerthai.org/compliant_board1/view.php?id=10152

****คำถามที่มักจะถามกันคือ***

-แต่ละแบงก์จะฟ้องเมื่อไหร่ อันนี้ก็บอกกำหนดแน่นอนไม่ได้ว่าหยุดจ่ายแล้วกี่เดือนจึงจะส่งฟ้องขึ้นอยู่ กับนโยบายของแบงก์ มูลค่าหนี้ แต่เมื่อหยุดจ่ายไปแล้ว 5 เดือนก็ควรระวังเรื่องการส่งฟ้องศาลได้

-ถ้าแต่ละแบงก์ฟ้องพร้อมกันจะทำยังไง ขอบอกว่าปกติแล้วจะไม่ฟ้องพร้อมกันหรอก ลูกหนี้จะมีเวลา 3-4 เดือน หรืออาจจะมากกว่านั้น ในการเตรียมตัวรับมือการฟ้องของเจ้าหนี้รายต่อไป แต่กว่าจะฟ้องจริงๆ บางทีลูกหนี้แฮร์คัทไปหมดแล้วก็มี

ที่มา  http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=14748

เส้นทางสายหมดหนี้ : บันไดขั้นที่ 5 การแฮร์คัท

เมื่อมีเงินมากพอจะจ่ายหนี้ เราสามารถโทรไปเจรจาขอจ่ายหนี้แบบก้อนเดียวปิดบัญชีได้
เราไม่จำเป็นต้องบอกว่าเรามีเงินอยู่เท่าไหร่
แต่เราถามได้ว่าถ้าจะจะจ่ายทีเดียวเพื่อปิดบัญชีหนี้จะให้จ่ายเท่าไหร่ จะลดให้เท่าไหร่ พยายามต่อรองให้ลดได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
หากไม่ยอมลดเลยก็ปล่อย ไปจ่ายรายที่ลดให้สูงสุดก่อน

มีคำถามถามเสมอว่าจะขอแฮร์คัทได้มากที่สุดเท่าไหร่
อันนี้ก็ขอบอกว่าขึ้นอยู่กับการเจรจาของแต่ละคน ระยะเวลาในการหยุด และอายุความ ฯลฯ
ซึ่งก็สามารถศึกษาดูได้ เช่นจากกระทู้ของ k. ใกล้เป็นไท

http://www.consumerthai.org/compliant_board1/view.php?id=10152
แนวทางปฏิบัติเรื่องการ hair cut ว่าทำตอนไหนอย่างไร
1 การ hair cut สามารถทำได้ตั้งแต่โดนทวงถาม และเริ่มมีการให้เงื่อนไขต่างๆๆ
2 การ hair cut สามารถทำได้ทั้งลูกหนี้ (เรา) เจรจาขอ หรือ เจ้าหนี้ (แบงค์/คนทวงหนี้) บอกเงื่อนไขมา
3 ไม่มีกฎเกณฑ์ อะไรตายตัว ไม่มีมาตรฐาน ว่าจะได้ลด 30% 20% 50% 40% มันขึ้นอยู่ที่มูลหนี้ อยู่ที่เทคนิคการพูด อยู่ที่ความใจดีของแบงค์แต่ละแห่ง..ซึ่งไม่เท่ากัน
4 การ hair cut มีทั้งจ่ายครั้งเดียว หรือ จ่าย 2 งวด 3 งวด อยู่ที่การเจรจาทั้งหมด ทุกอย่างอยู่ที่ความพอใจ ทั้ง 2 ฝ่าย
5 ก่อนจ่ายเงินปิดบัญชีต้องขอหนังสือยืนยันทุกครั้ง โดยถ้ามาจากสำนักกฎหมายต้องมีหนังสือมอบอำนาจ หรือ แสดงว่า แบงค์เจ้าของบัตรรับทราบเงื่อนไขแล้ว
ตัวอย่างกระทู้
http://www.consumerthai.org/compliant_board1/view.php?id=9216http://www.consumerthai.org/compliant_board1/view.php?id=8888

***ขอย้ำว่าที่สำคัญคือเมื่อเจรจาขอลดยอดหนี้ได้แล้วลูกหนี้จะต้องได้เอกสาร ยืนยันการลดยอดหนี้จากสำนักงานกฎหมายที่เราคุยด้วยก่อน ในเอกสารจะต้องมีข้อความบอกว่าเมื่อจ่ายแล้วเป็นว่าหมดหนี้ เมื่อได้รับเอกสารแล้วจะต้องมีการโทรสอบถามข้อมูลจากธนาคารก่อนว่าลดหนี้ให้ จริง จากนั้นค่อยจ่ายเงินไป และเมื่อจ่ายแล้วให้เก็บเอกสารการลดยอดหนี้ใบจ่ายเงินไว้จนเราจะได้เอกสาร ยืนยันจากแบงก์ว่าหมดหนี้แล้วจริงๆ

***และหากมีการบอกให้จ่ายก่อน 500 บ้าง 1000 บ้าง แล้วจะดำเนินการให้ ก็อย่าได้ทำเป็นเด็ดขาด เพราะอาจเป็นหลอกให้จ่ายทั้งๆที่ไม่มีการลดหนี้ให้จริงๆ รอไปจ่ายทีเดียวตอนได้รับเอกสารเลยดีกว่า 

ที่มา  http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=14748

เส้นทางสายหมดหนี้: บันไดขั้นที่ 4 เมื่อหยุดแล้วต้องเจอกับอะไรบ้าง

สิ่งที่ ต้องเจอแน่นอนคือการตามหนี้แบบไร้มารยาทซึ่งจะหนักมากๆช่วง 6 เดือนแรก ช่วงนี้ต้องอาศัยความอดทนสูงมากๆเลย ศึกษาจากคำแนะนำและตัวอย่างได้จาก

http://www.consumerthai.org/compliant_board1/view.php?id=10152
หรือ
http://www.consumerthai.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=348&Itemid=38
เมื่อถูกตามหนี้แบบไร้มารยาทไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด หรือจะเป็นการส่งคนมาพบที่ทำงานก็ไม่ต้องไปกลัวหรือกังวล เพราะรูปแบบมันก็ซ้ำๆกันนั่นแหล่ะ ขอเพียงเราตั้งสติให้ได้ก็พอ โทรมาว่างก็รับ ไม่ว่างก็ไม่ต้องรับ พูดจาดีก็คุยด้วย ถ้าพูดจาสุนัขไม่รับประทานก็ไม่ต้องสนใจ
จะใช้วิธีการแบบ
- ตาต่อตา ฟันต่อฟัน หรือ
-ใช้ความสงบสยบความเคลื่อนไหว
ก็เลือกเอาตามลักษณะนิสัยและฝีปากของลูกหนี้เองก็แล้วกันค่ะ

ที่มา  http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=14748

เส้นทางสายหมดหนี้ : บันไดขั้นที่ 3 เมื่อเลือกที่จะหยุดจ่าย

บันไดขั้นที่ 3 เมื่อเลือกที่จะหยุดจ่าย

หากเลือกวิธีการหยุดจ่าย คุณต้องทำอะไรบ้าง
1.ต้องบอกครอบครัวให้รู้ จะได้ไม่ตกใจ รู้ว่าเรากำลังจะทำอะไร ผลจะเป็นอย่างไร และเป็นการระวังไม่ให้มีใครไปหลอกเอาเงินจากทางครอบครัวของลูกหนี้ได้ด้วย

2.ต้องบอกที่ทำงาน( หัวหน้างาน ฝ่ายบุคคล คนที่ทำงานเกี่ยวข้องประสานงาน เพื่อน คนที่อาจถูกรบกวนจากการตามทวงหนี้ที่ไม่มีมารยาท ) ให้รับรู้ไว้ บอกให้รู้ว่าเราจะทำอะไร และจะเกิดอะไรบ้างระหว่างที่เราหยุดรอจ่ายปิดหนี้ที่ละบัญชี ห้ามอาย/ไม่อยากให้คนรู้เรื่อง เพราะยังไงๆ ที่ทำงานต้องรู้เรื่องแน่ ให้รู้จากเราไปเลยว่าเราจะทำอะไร อย่าให้เขารู้แต่ว่าเราถูกทวงหนี้ ให้เขารู้ว่าเราจะจ่ายทีเดียวปิดบัญชีหนี้ไปเลย ไม่จ่ายทีละนิดแล้วหนี้ไม่หมดสักที ให้ที่ทำงานรู้ว่าเราจะทำอะไรและผลจะเป็นอย่างไรเลยดีกว่า แล้วก็ต้องรู้จักขอโทษและขอบคุณเพื่อนรวมงานตามความเหมาะสม

3.หยุดจ่ายหนี้ต้องหยุดทุกรายการและหยุดตลอด อย่าหยุดบางแบงก์จ่ายบางแบงก์และอย่าหยุดบ้างจ่ายบ้าง เพราะจะเก็บเงินก้อนไม่ได้ ไม่มีประโยชน์เลย และนับอายุความไม่ได้ด้วย

4.จัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายใหม่เพื่อดูว่าเมื่อเราหยุดจ่ายหนี้ทุกอย่างแล้ว เราเหลือเงินเท่าไหร่ เก็บออมไว้ ห้ามใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เช่น เงินเดือน 15000 บาท ใช้จ่ายตลอดเดือน 10000 เหลือ 5000 ก็แยกเก็บไว้สัก สองบัญชี บัญชีจ่ายหนี้ 3500 และบัญชีสำรองเผื่อฉุกเฉิน 1500 อันนี้เป็นแค่ตัวอย่างเท่านั้นแต่ละคนจะเก็บได้มากได้น้อยแล้วภาระครอบครัว สำหรับบัญชีจ่ายหนี้พอเก็บได้เป็นเงินก้อนใหญ่ก็ลองเจรจาแฮร์คัทดู ส่วนบัญชีสำรองเก็บไว้เผื่อกรณีฉุกเฉินในครอบครัว

5. พยายามหารายได้พิเศษเพิ่ม

6. หาความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้ต่างๆ ศึกษาให้เข้าใจจริงๆ นำไปใช้ให้ได้ และ เมื่อรู้แล้วจะได้ไม่ต้องกลัวรูปแบบการทวงหนี้และการข่มขู่ต่างๆ ที่มีสารพัดรูปแบบ

7.เตรียมตัวเอง(ใจ)ให้พร้อมรับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดจากการตามหนี้

ที่มา http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=14748

เส้นทางสายหมดหนี้ : บันไดขั้นที่ 2 เมื่อชีวิตวิกฤตแล้ว

เมื่อ เราต้องจ่ายหนี้ในแต่ละเดือนมากจนหามาจ่ายไม่ไหว(รายจ่ายมากกว่ารายรับ) เราก็ต้องหยุดและก็หาวิธีการแก้ไขที่ถูกต้องแทนการหมุนจ่ายแบบเดิมๆที่ไม่ทำ ให้หนี้หมด แต่จะเลือกใช้วิธีไหนก็ต้องให้เหมาะกับชีวิตของตัวเอง

ถ้าคุณ

1. สามารถหาเงินก้อนใหญ่มากๆมาจ่ายหนี้ได้หมดทีเดียวทุกรายการก็ควรจะทำ เช่น มีญาติพี่น้องฐานะการเงินดีขอกู้เงินจากพวกเขารายเดียวเอามาจ่ายหนี้ให้หมด แล้วก็ผ่อนจ่ายกับญาติรายเดียวไปเลย / สามารถขายที่ดิน หรือบ้าน ได้เงินก้อนใหญ่มาจ่ายหนี้ได้หมดในครั้งเดียวก็ทำเถิด ฯลฯ แต่ถ้าหาเงิน(กู้)ได้เพียงเล็กน้อย ที่ได้มาก็ไม่พอใช้หนี้ได้หมดในคราวเดียวก็อย่าทำเป็นเด็ดขาด เพราะสมาชิกส่วนใหญ่ของชมรมหนี้เคยทำแบบนี้มาแล้วและผลก็คือหนี้เก่าไม่หมด และมีหนี้ใหม่เพิ่มมากขึ้น

2. มีหนี้2-3 บัญชี หนี้ไม่เยอะ ก็อาจจะใช้วิธีจ่ายขั้นต่ำแบบเดิมแต่เป็นการจ่ายให้มากกว่าขั้นต่ำสักเล็ก น้อยแล้วอย่ากดออกมาใช้อีก เอาบัตรออกจากกระเป๋าไปเลยไม่ต้องใช้มันอีก และอย่าไปสร้างหนี้เพิ่ม วิธีนี้หนี้ก็หมดเช่นกัน รักษาเครดิตได้ แต่ใช้เวลานานหน่อย แต่ขอย้ำจ่ายแล้วห้ามกดออกมาใช้อีกเป็นเด็ดขาด เพราะถ้าทำแบบนั้นหนี้ไม่หมดแน่นอน มีแต่จะเพิ่มมากขึ้น

3. มีหนี้2-3 บัญชี แต่หนี้เยอะ จ่ายไม่ไหว หรือ คุณทำธุรกิจส่วนตัวยังพึงพาทำธุรกรรมกับธนาคาร เพื่อการลงทุนในธุรกิจของคุณ คุณอาจเลือกวิธีการประนอมหนี้ก็ได้ เพื่อรักษาเครดิตของคุณไว้ แต่ขอบอกว่าขอให้จำเป็นจริงๆและจ่ายได้จริงๆ เพราะการประนอมหนี้เป็นการจ่ายน้อยลงแต่ผ่อนนานขึ้นยอดหนี้รวมจะมากกว่าหนี้ เดิมที่มีอยู่เยอะลูกหนี้จะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ และหากหากประนอมหนี้ไปแล้วจ่ายต่อไม่ไหวคราวนี้แหล่ะ ลูกหนี้เอ๋ย ตายกับตายและตายลูกเดียว ตามกระทู้นี้

http://www.consumerthai.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=383&Itemid=38
เพราะฉะนั้นถ้าไม่แน่ใจว่าจะจ่ายได้ตลอดจริงๆและไม่จำเป็นจริงๆ อย่าประนอมหนี้เด็ดขาด

3. หยุดจ่ายทุกบัญชีโดยเด็ดขาดเพื่อเก็บเงินรอการแฮร์คัท
4. หยุดจ่ายทุกบัญชี รอรับหมายศาล รอให้มีการพิพากษาแล้วค่อยจ่าย
***ถ้าเลือกใช้วิธีการหยุดจ่ายต้องหยุดจ่ายทุกรายการและหยุดตลอด อย่าหยุดบางแบงก์จ่ายบางแบงก์และอย่าหยุดบ้างจ่ายบ้าง หยุดเดือนนี้แล้วเดือนหน้าไปจ่ายต่อ หรือจ่ายหยอดทีละ 500 บ้าง 1000 บ้าง ทำแบบนั้นไม่มีประโยชน์เพราะจะเก็บเงินก้อนไม่ได้ นับอายุความไม่ได้ด้วย

จะเลือกใช้วิธีการไหนก็ตัดสินใจให้เด็ดขาด
ทำแล้วต้องทำเลย ห้ามหยุดกลางคันเด็ดขาด


ที่มา http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=14748

เส้นทางสายหมดหนี้: บันไดขั้นที่ 1 ชีวิตวิกฤตหรือยัง

ขั้นนี้ ถือว่าเป็นการพิจารณาตัวเองว่าฐานะการเงินของตนเองเป็นอย่างไร สาเหตุการเป็นหนี้ของแต่ละคนจะมาจากอะไรก็ตาม ช่างมัน มันผ่านมาแล้ว ปล่อยมันไป มันเปลี่ยนอะไรไม่ได้แล้ว แต่เราหยุดเพิ่มหนี้ได้

ตอนนี้ขอให้คิดว่าคุณจ่ายหนี้ของคุณอย่างไร คุณบอกตัวเองได้ไหมว่าแต่ละเดือนคุณจ่ายหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อผ่อนสินค้าเดือนละเท่าไหร่
-ถ้าคุณจ่ายมากกว่า 50 % ของรายได้ ก็ถือว่า เริ่มวิกฤตแล้ว และอนาคตคุณมีโอกาสเจอทางตัน(จ่ายต่อไม่ไหว)สูงมาก
-ถ้าคุณต้องจ่ายหนี้ต่างๆจนครอบครัวเดือดร้อน รายได้ไม่พอใช้จ่ายในครอบครัว นั่นก็วิกฤต
-ถ้าคุณยอม อด แล้วเอาเงินมาจ่ายหนี้ เพื่อรักษาหน้าตาและเครดิตของตัวเอง นั่นก็วิกฤตเช่นกัน
-ถ้าคุณมีบัญชีหนี้หลายบัญชี และจ่ายขั้นต่ำตลอดทุกบัญชี นั่นก็ถือว่า วิกฤต เช่นกัน และยิ่งคุณจ่ายขั้นต่ำเสร็จแล้วก็กดออกมาใช้ใหม่ นั่นถือว่ายิ่งวิกฤตมาก
-ถ้าแต่ละเดือนคุณต้องคอยคิดว่าคุณจะเอาเงินตรงไหนมาจ่ายหนี้ คุณต้องหาแหล่งเงิน(กู้) เพิ่ม เพราะหนี้ที่คุณต้องจ่ายในแต่ละเดือนมันมากกว่ารายรับที่มี หรือ จ่ายแล้วไม่มีใช้จ่ายระหว่างเดือน นั่นก็ถือว่าวิกฤตสุดๆๆๆ

ถ้าเป็นแบบนี้ก็ต้องรีบหยุดหมุนเงินจ่ายหนี้จะดีกว่า
เพราะยิ่งทำหนี้ของคุณจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆตามวันเวลาที่คุณพยายามหมุน
ถ้ารู้ตัวว่าคุณทำแบบนี้อยู่ต้องรีบหยุดและแก้ไขปัญหาหนี้โดยเร็วก่อนที่มัน จะสาหัสจนแก้ไม่ไหว ไม่ต้องไปแคร์สังคม ไม่ต้องแคร์เครดิต เอาวันนี้ให้รอดก่อน เครดิตในอนาคตอย่าเพิ่งไปคิดถึงมัน

“ถ้าวันนี้คุณยังอยู่ไม่ได้ แล้วพรุ่งนี้มันจะมีได้อย่างไร”

ที่มา http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=14748

วิธีการค้นหาผู้ถูกฟ้องล้มฯ พิทักษ์ฯ และล้มฯแล้ว

ใน ส่วนของกรมบังคับคดีตรวจสอบได้เมื่อลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แล้ว แต่จะถูกฟ้องแล้วหรือไม่คงต้องขอตรวจสอบที่ศาลล้มละลายกลาง
กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม
เลขที่ 189/1 ถนนบางขุนนนท์ แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
http://www.led.go.th/th/default_th.asphttp://test.led.go.th/freelom/freemenu.asp
โทรศัพท์สอบถามที่กรมบังคับคดี 02-8814999
คุณสามารถลงทะเบียนเป็นสมาชิกตรวจล้มละลายได้ในเว็ปไซด์
http://test.led.go.th/http://test.led.go.th/faqn/faq.asp?nomod=g
ขั้นตอนการล้มละลาย
1.เมื่อโจทก์ฟ้องล้มละลาย ศาลจะสั่งให้ส่งสำเนาคำฟ้องพร้อมหมายเรียกให้ลูกหนี้ยื่นคำให้การ
2.คดีล้มละลาย เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว อำนาจการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตกอยู่กับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้ เดียว ยึดได้หมดไม่เหมือนคดีแพ่ง
ข้อมูลจาก ... กองบังคับคดีล้มละลาย 1

ที่มา:http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=598

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การนำส่งหมายศาลทำได้ 3 วิธี

การนำส่งหมายศาลทำได้ 3 วิธี
1.นำส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หากไม่มีผู้รับหมายนั้น
จะไปอยู่ที่ที่ทำการไปรษณีย์เพื่อรอผู้รับไปติดต่อขอรับหมายหากถึงระยะเวลาที่กำหนดแล้วไม่มีผู้มารับหมายนั้นอีก
ไปรษณีย์ลงทะเบียนที่บรรจุหมายศาลก็จะถูกตีกลับไปที่ศาล

2.นำส่งโดยเจ้าหน้าที่เดินหมาย คือการนำส่งโดยเจ้าหน้าที่ศาลไปที่ภูมิลำเนาของจำเลย หากไม่มีผู้รับหมาย
และผู้พิพากษาไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตให้ปิดหมาย
เจ้าหน้าที่เดินหมายก็จะบันทึกรายละเอียดการนำส่งหมายไม่ได้ในครั้งนั้นๆ และจึงนำหมายศาลกลับไปที่ศาล
เพื่อรอโจทก์แถลงความประสงค์ต่อไป

3.นำส่งด้วยการปิดหมาย คือกรณีที่ผู้พิพากษามีคำสั่งอนุญาต
ให้ปิดหมายหากไม่มีผู้รับโดยชอบ (ผู้รับโดยชอบ
คือจำเลยเป็นผู้รับเอง หรือผู้รับแทนที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์)

หากจำเลยไม่ได้รับหมายไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม
ซึ่งหมายศาลอาจสูญหายหรือถูกตีกลับไปที่ศาล
ถ้าทางฝ่ายโจทก์ขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งส่งหมายใหม่
และโจทก์แสดงเหตุผลเพียงพอว่าจำเลยไม่มีที่อยู่
เป็นหลักแหล่ง และโจทก์ไม่สามารถสืบหาที่อยู่อื่นอีกได้
โจทก์อาจขอศาลและศาลอาจมีคำสั่งให้ใช้วิธีไปลงประกาศ
ในหนังสือพิมพ์แทน ซึ่งการลงประกาศในหนังสือพิมพ์
ก็มักจะเป็นหนังสือพิมพ์ที่ไม่ค่อยจะมีคนอ่าน
หรือมีคนรู้จักเท่าใดนัก

หากอยากทราบว่ามีเจ้าหนี้รายใดฟ้องเราบ้าง
จำเลยสามารถไปเช็คการนำส่งหมายที่ศาลได้
และหากมีการนำส่งจริงแต่หมายถูกตีกลับมาที่ศาล
เพราะไม่มีผู้รับโดยชอบและหรือไม่ได้มีการปิดหมายไว้
ก็สามารถขอคัดหมายนั้นได้
โดยเสียค่าธรรมเนียมการขอคัดหมาย
การคอยตรวจเช็คว่ามีการเดินหมายส่งมาให้เราหรือไม่
เป็นสิ่งที่ควรกระทำโดยอาจจะไปเช็คที่ศาลเดือนละครั้ง
ว่ามีการฟ้องหรือไม่ หรือได้รับแจ้งจากเจ้าหนี้ว่าเขาฟ้องคุณแล้วแต่หมายศาลยังไม่มาที่บ้านคุณก็ไปขอคัดหมายที่ศาลได้
เพื่อจะได้ทราบรายละเอียดที่เขาฟ้องคุณ, วันเวลาที่ต้องไปศาลและหากจะยื่นคำให้การสู้คดีก็จะได้มีเวลาเตรียมตัวหาทนาย
เพื่อเขียนคำให้การสู้คดีต่อไป

ปิดหมายคือการแปะวางหรือขึงหมายศาลอย่างระวัง
ไว้ณ ภูมิลำเนาจำเลย บริเวณที่พบ สังเกตได้ง่า

ที่มา: http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=12672

หนี้ส่วนตัว/หนี้สมรส (1)

หนี้ส่วนตัว/หนี้สมรส (1)

หนี้ก่อนสมรส กรณีที่ชายหรือหญิงไปเป็นหนี้กับบุคคลภายนอก แต่ละฝ่ายก็ต้องรับผิดใช้ที่ตนเป็นผู้ก่อ ขึ้นมาเป็นการส่วนตัว
หนี้ในระหว่างสมรส โดยหลักแล้ว คู่สมรสฝ่ายใดเป็นผู้ก่อหนี้ขึ้น หนี้ที่เกิดขึ้นก็เป็นหนี้ส่วนตัวของฝ่ายนั้น แต่ละฝ่ายต้องรับผิดชอบกันเองเป็นการส่วนตัว เว้นแต่จะเป็นหนี้ร่วมกันหรือที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหนี้ร่วมกันแล้วจึงจะ รับผิดชอบร่วมกัน
สำหรับหนี้ที่กฎหมายบัญญัติให้ถือเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างสามีภริยานั้น จะมีผลทำให้ แม้จะมีชื่อคู่สมรส ฝ่ายใดเป็นลูกหนี้ฝ่ายเดียว แต่คู่สมรสทั้งสองฝ่ายต้องรับผิดร่วมกันมีอยู่ 4 กรณี คือ

1. หนี้ที่เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือน จัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะ เลี้ยงดู การรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัว และการศึกษาของบุตร ตามสมควรแก่อัตภาพ
หนี้เหล่านี้จะต้องมีจำนวนพอสมควรแก่อัตภาพของครอบครัว เพราะหากเกินสมควรแล้ว ส่วนที่เกิน ย่อมไม่ถือว่าเป็นหนี้ร่วม แต่กลายเป็นหนี้ส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายนั้นได้ เช่น หนี้ที่สามีไปค้ำประกัน การทำงานให้กับญาติพี่น้อง หรือเพื่อน หรือผู้ใดเป็นส่วนตัว ภริยาย่อมไม่ต้องรับผิดชอบ ในหนี้ค้ำ ประกันที่ถูกฟ้องในเวลาต่อมา เป็นต้น
หนี้ตามข้อนี้หากสมควรแก่อัตภาพแม้จะเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่สามี ภริยาแยกกันอยู่ แต่ตราบใดที่ยังไม่ได้มีการจดทะเบียนหย่าก็ถือว่าเป็นหนี้ร่วมทั้งสองฝ่าย เช่นกัน

2. หนี้ที่เกี่ยวข้องกับการสมรส เช่น กู้ยืมเงินมาซ่อมแซมบ้านที่เป็นสินสมรส

3. หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
เช่น เปิดร้านขายของ ภริยาเป็นคนขาย สามีซื้อเชื่อของเข้าร้านหนี้ค่าซื้อเชื่อเป็นหนี้ร่วม, สามีทำธุรกิจจัดสรรที่ดิน ภริยาก็ต้องรับผิดชอบในสัญญาที่สามีลงลายมือชื่อในสัญญาจะขาย ที่ดินจัดสรร ไว้คนเดียว ร่วมกับสามีด้วย,
สามีกู้หนี้ยืมสินมาลงทุนเปิดห้างให้ภริยาดูแล สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่สามีทำกับธนาคาร โดยมีเงื่อนไข ให้ภริยาเบิกจ่ายเงินจากบัญชีดังกล่าวได้

4. หนี้ที่สามีก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่งให้สัตยาบัน
หนี้ประเภทนี้เดิมจะผูกพันแต่เฉพาะสามีภริยาฝ่ายที่ไปก่อหนี้ขึ้น แต่ถ้าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งไปให้สัตยาบัน ยอมรับหนี้ที่คู่สมรสของตนได้ก่อขึ้น การให้สัตยาบันจะมีผลให้หนี้ดังกล่าวนี้ที่เกิดขึ้นระหว่างสมรส กลายเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา การให้สัตยาบันไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าจะต้องทำอย่างไร ดังนั้น อาจจะให้สัตยาบันด้วยปากเปล่าไว้ หรือลงรายมือชื่อในหนังสือให้ความยินยอมคู่สมรส ให้คู่สมรสของตน กู้ยืมเงิน หรือจะลงรายมือชื่อในฐานะพยานในสัญญากู้ยืมเงินของสามี
แต่ถ้าเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนสมรสแล้ว แม้ต่อมาภายหลังคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจะให้สัตยาบัน ก็ยังเป็นหนี้ส่วนตัวของคู่สมรสผู้ที่ก่อหนี้ การให้สัตยาบันหนี้ก่อนสมรสไม่ทำให้หนี้นั้นกลายเป็นหนี้ร่วม ระหว่างสามีภริยาไปได้
เหตุที่ต้องแยกเป็นหนี้ส่วนตัวหรือหนี้ร่วมเพราะถ้าเป็นหนี้ส่วนตัว ไม่ว่าจะก่อขึ้นก่อนหรือระหว่างสมรส เจ้าหนี้จะต้องบังคับหนี้เอากับสินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายที่ก่อหนี้ก่อน ถ้าไม่พอถึงจะไปบังคับหนี้ เอากับทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสของคู่สมรสฝ่ายที่ก่อหนี้ได้ ซึ่งหากมีการบังคับคดีหนี้สินส่วนตัวเอาจาก สินสมรสแล้วจะทำให้คู่สมรสที่ไม่ได้ก่อหนี้ก็มีสิทธิร้องขอกันส่วนของตนจาก ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส ในส่วนของตนครึ่งหนึ่งออกมาได้
แต่ถ้าเป็นหนี้ร่วม เจ้าหน้าที่ตามคำพิพากษาที่ชนะคดี จะยึดสินส่วนตัวก่อนหรือสินสมรสก่อนก็ได้ และการยึดสินส่วนตัวจะยึดสินส่วนตัวของฝ่ายใดก็ได้ เพียงแต่ในการยึดสินส่วนตัวของฝ่ายใด เจ้าหน้าที่จะต้องฟ้องคู่สมรสทั้งสองฝ่ายเข้ามาด้วยกัน เพราะถ้าไม่ฟ้องเข้ามาด้วยกันก็จะไปยึดสินส่วนตัว ของฝ่ายที่ยังไม่ถูกฟ้องไม่ได้ เนื่องจากคำพิพากษาให้ชำระหนี้ดังกล่าวไม่ผูกพันคู่สมรสที่ไม่ได้ถูกฟ้องคดี
และกรณีที่ชายและหญิงเป็นหนี้กันเอง อันเป็นหนี้ส่วนตัวนั้น แม้ต่อมาชายหญิงคู่นี้ได้จดทะเบียนสมรส เป็นสามีภริยากัน หรืออาจเป็นหนี้ส่วนตัวขึ้นมาในระหว่างสมรส การที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แม้จะฟ้องคดีจนชนะคดีแล้ว แต่ก็ไม่สามารถไปยึดหรืออายัดทรัพย์สินของอีกฝ่ายหนึ่งได้ สามีภริยาจะยึดหรืออายัดทรัพย์กันเองได้เฉพาะกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่น เป็นหนี้อุปการะเลี้ยงดู 

ที่มา: http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=12672

ข้อแตกต่างระหว่างการขายผ่อนชำระ และการให้เช่าซื้อมีดังนี้

ข้อแตกต่างระหว่างการขายผ่อนชำระ และการให้เช่าซื้อมีดังนี้

1.กรรมสิทธิ์ในตัวสินค้า
- การขายผ่อนชำระ เป็นสัญญาซึ่งผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์ทันทีให้แก่ผู้ซื้อและผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย
- การเช่าซื้อ เป็นสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่า และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ ผู้เช่าโดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านึ้คราว

2.หนังสือสัญญา
- ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดให้การขายแบบเช่าซื้อต้องทำสัญญาเป็น หนังสือมิฉะนั้นจะถือเป็นโมฆะ แต่สำหรับการขายโดยผ่อนชำระกฏหมายไม่ได้บังคับว่าต้องทำสัญญาเป็นหนังสือ ซึ่งจะทำหรือไม่ทำก็ได้ เว้นแต่การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ จะต้องทำเป็นหนังสือ

3.การยกเลิกสัญญาและการยึดสินค้า
- การขายโดยผ่อนชำระกรรมสิทธิ์ได้ตกเป็นของผู้ซื้อแล้ว การฟ้องร้องจะบังคับให้ลูกหนี้ชำระเงินที่ยังขาดอยู่เท่านั้น ผู้ขายไม่มีสิทธิในตัวสินค้าเลย เว้นแต่ว่าได้มีข้อตกลงทำเป็นหนังสือสัญญาเอาไว้
- การขายโดยเช่าซื้อกฎหมายกำหนดไว้ว่า ในกรณีผิดนัดไม่ชำเงินสองคราวติดๆกัน หรือกระทำผิดสัญญาในข้อที่เป็นส่วนสำคัญ เจ้าของทรัพย์สินจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ 

 ที่มา: http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=12672

คดีหยุมหยิมหรือคดีมโนสาเร่

*คดีหยุมหยิมหรือคดีมโนสาเร่

โดย อณัญลักษณ์ ชัชวาลย์
คดีหยุมหยิมหรือคดีมโนสาเร่ ฟ้องเองได้นะ
สวัสดีท่านพ่อแม่พี่น้องทั้งหลายที่มีปัญหาด้านกฎหมายหรือไม่มีก็ตาม แต่อยากมีความรู้ด้านกฎหมาย ไว้ประดับความรู้ หรือเอาไว้พูดคุยกัน “ในสภากาแฟ ” ล้อมวงกันเข้ามาเร็วๆ วันนี้มีคำว่า "หยุมหยิม” “หรือ คำว่า“ มโนสาเร่ ” มานำเสนอ ที่จริงผู้เขียนนำเอาประสบการณ์จริงมาเล่า ต่างหาก เพราะเห็นว่ามีคนมาขอปรึกษามากอีกเรื่องหนึ่ง ก่อนอื่นต้องมาทราบความหมายของคำว่า “ หยุมหยิม” ก่อนว่าแปลว่าอะไร เพราะคำนี้ไม่มีในตัวบทกฎหมายแต่ประการใด ผู้เขียนนำมาจากไหน เพื่อไม่ให้เสียเวลาเข้าเรื่องเลยนะ พวกท่านทั้งหลายเคยได้ยินคำว่า “ มโนสาเร่ ” หรือไม่ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายไว้ว่า “ มโนสาเร่ ” หมายถึง น. เรื่องเบ็ดเตล็ดหยุมหยิม ( คำโบราณ ) เรียกคดีเล็กน้อยว่า “ คดีมโนสาเร่ ”

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง บัญญัติ เรื่อง “ คดีมโนสาเร่ ” ไว้ในมาตรา 189 ถึงมาตรา 196

แต่เราๆท่านๆ มารู้เกี่ยวกับคดีนี้โดยสังเขปกันดีกว่า “ คดีมโนสาเร่ ” ที่แก้ไขครั้งล่าสุดปี พ.ศ.2546 มาตรา 189 บัญญัติว่า

(1) คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ไม่เกินสามแสนบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

(2) คดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกิน เดือนละสามหมื่นบาท หรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

บางคนยังสงสัยว่า “ คดีมโนสาเร่” คือคดีประเภทไหนเอย ขออธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้ (1) คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่เกินสามแสน บาท ก็คือ คดีใดๆก็ได้ที่มีทุนทรัพย์ที่ยื่นฟ้องต่อศาลไม่เกิน 300,000 บาท ( สามแสนบาท) เช่นในคดี กู้ยืมเงินซึ่งผู้ให้กู้ฟ้องผู้กู้ให้คืนเงินที่กู้ไป เพราะทวงถามอย่างไรก็ไม่ยอมใช้คืนเพราะว่าไม่มี หรืออาจจะเบี้ยวเพราะว่าต้องนำเงินไปให้ภรรยาน้อยก่อนก็ว่ากันไป ซึ่งถ้าจำนวนเงินที่กู้ยืมกันไปรวมดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องเบ็ดเสร็จแล้วไม่ เกินสามแสนบาทก็เป็น “ คดีมโนสาเร่ “ หรือผิดสัญญาบัตรเครดิต หรือผิดสัญญาเช่าซื้อ, เช่าทรัพย์ , ละเมิด, เรียกค่าเสียหาย หรือการฟ้องเรียกสังหาริมทรัพย์ (ทรัพย์ที่สามารถเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่งได้) เช่น โทรทัศน์, วิทยุ, รถยนต์ ฯลฯ ฟ้องขอให้จำเลยส่งมอบทรัพย์ดังกล่าว ราคา ไม่เกินสามแสนบาท ให้แก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขาย ถือว่าเป็น” คดีมโนสาเร่ “ หรือทรัพย์ที่เรียกร้องอาจจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ (ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้) เช่นฟ้องขอบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินเนื้อที่เท่าไรก็ ว่ากันไป แต่ราคาไม่เกิน สามแสนบาท ถือว่าเป็นคดี “ คดีมโนสาเร่ ” เช่นกัน

(2) คดีที่ฟ้องขับไล่บุคคลใดๆออกจากอสังหาริมทรัพย์ อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสามหมื่นบาท หรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ที่ดิน, โรงเรือนพักอาศัย, อาคารสำนักงาน, อาคารเก็บสินค้า, ฯลฯ แต่มีเรื่องน่า แปลกแต่จริง คนบางเช่าบ้าน, เช่าที่ดินเขาแล้ว แต่พอถึงกำหนดชำระค่าเช่า กลับไม่ชำระค่าเช่าดังกล่าว ซะอย่างงั้น ทำให้เจ้าของผู้ให้เช่า ต้องฟ้องขับไล่กันให้วุ่ยวาย แถมฟ้องไปแล้วก็อาจได้แต่คำพิพากษาไปนอนกอดแทนก็เป็นไปได้ เพราะจำเลยไม่มีเงินชดใช้ให้ หรือไม่ก็ต้องรอไปบังคับคดีภายใน 10 ปีนับแต่คำพิพากษาถึงทึ่สุด ถ้าเกิน 10 ปีแล้ว จำเลยไม่มีทรัพย์สินอะไรที่จะพอบังคับได้ ก็ถือว่า เวรกรรมของโจทก์ก็แล้วกันนะ! อย่าคิดมาก เดี๋ยวไม่สบาย ? ผู้เขียนอยากจะบอกผู้อ่านอีกอย่างหนึ่งว่าการฟ้องคดี มิใช่ว่าฝ่ายชนะคดีแล้ว จะได้รับการชดใช้ฯ เสมอไป เพราะบางที่จำเลยก็ไม่มีทรัพย์สินอะไรจะให้ยึดหรือบังคับคดีได้นะจะบอกให้ ( ฉะนั้น ควรฟ้องจำเลยที่มีฐานะ จะได้มีเงินจ่ายโจทก์ อุ๊ย! มายช่ายอย่างนั้น ล้อเล่น ) ว่าแต่จำเลยประเภทนี้ แถวบ้านผู้เขียน เรียกพวกนี้ว่า “ พวกดื้อแพ่ง ” ทำให้โจทก์หรือผู้ให้เช่าได้รับเสียหาย แต่ทำให้ทนายความมีงานทำ มีเงินใช้ได้ทุกวัน (หรือเปล่า) ในปัจจุบันคดีจำพวกนี้ ถ้าคิดค่าเช่ากันไม่เกินเดือนละสามหมื่นบาท ก็เป็น “ คดีมโนสาเร่ ” เช่นเดียวกัน

เมื่อทราบความหมายและลักษณะของคดีแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็ต้องมาทราบว่า “ คดีมโนสาเร่ ” ต้องฟ้องที่ศาลไหน เพื่อไม่ให้เสียเวลามาเข้าเรื่องเลยดีกว่า “คดีมโนสาเร่ ” เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงฯ หรือศาลจังหวัดในกรณีที่จังหวัดนั้นไม่มีศาลแขวงฯ แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าจะฟ้องศาลแขวงฯที่ไหน ก็ต้องมาดูว่า ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4 กล่าวไว้ว่า

(1) คำฟ้องต้องเสนอต่อศาลที่จำเลย มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราช อาณาจักรหรือไม่ ” และ มาตรา 4 ทวิ ที่บัญญัติว่า “คำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิอันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ ให้เสนอต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาล ไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ หรือต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล ”

กล่าวโดยสรุปก็คือ คำฟ้องคดีมโนสาเร่ ต้องฟ้องศาลแขวงฯ ที่จำเลยมีภูมิลำเนาตามบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลย ตั้งอยู่ ส่วนศาลแขวงฯที่มูลคดีเกิด หมายถึงภูมิลำเนาที่ทำสัญญากัน ขอยกตัวอย่าง เช่น จำเลยซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ มาทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ที่กรุงเทพฯ โดยมีทุนทรัพย์ที่กู้ยืมกัน ไม่เกิน 300,000 บาท จะเห็นว่าจังหวัดเชียงใหม่เป็นภูมิลำเนาของจำเลย ส่วนกรุงเทพฯ เป็นที่ที่มูลคดีเกิดหรือสัญญากู้ยืมเกิดขึ้น ดังนั้น ถ้าจำเลยผิดสัญญากู้ยืมดังกล่าว โจทก์สามารถจะนำคดีมาฟ้องได้ที่จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลย หรือที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นที่ซึ่งมูลคดีเกิดหรือที่ทำสัญญากันก็ได้

เมื่อทราบว่าจะนำคดีไปฟ้องที่ไหนแล้ว ท่านทั้งหลายก็คงสงสัยว่าจะฟ้องอย่างไรเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร การฟ้องก็ฟ้องได้ 2 แบบ คือ จ้างให้ทนายดำเนินการฟ้องให้เลย หรืออีกแบบไปฟ้องด้วยวาจาด้วยตนเองที่ศาลแขวงฯ ทั้งนี้ต้องนำพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ไปประกอบการฟ้องด้วย โดยไปแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของศาลแขวงฯ นั้น ว่าต้องการฟ้องคดีส่วนแพ่งหรือคดีมโนสาเร่ ซึ่งมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท ไม่มีเงินจ้างทนายความ ( แต่ไม่ใช่อยากจนนะ! ) เจ้าหน้าที่ศาลโดยนิติกรประจำศาลจะดำเนินการให้ ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ก็มี ดังนี้ค่าธรรมเนียมศาลเรื่องละ 200 บาท และค่านำหมายให้แก่จำเลยหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกต่างหาก แต่คงไม่เกิน 1,000 บาท(หนึ่งพันบาท) ต่อเรื่อง ส่วนการดำเนินคดีในชั้นพิจารณาก็เป็นไปโดยรวดเร็ว เช่นกัน กล่าวคือ

เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องแล้ว ศาลต้องนัดพิจารณาเพื่อไกล่เกลี่ยให้คู่ความตกลงหรือประนีประนอมยอมความกัน เป็นอันดับแรกตามมาตรา 193 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง บัญญัติว่า “ ในคดีมโนสาเร่ ให้ศาลกำหนดวันนัดพิจารณาโดนเร็วและออกหมายเรียกไปยังจำเลย ในหมายนั้นให้จดแจ้งประเด็นแห่งคดีและจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาที่เรียกร้อง และข้อความว่าให้จำเลยมาศาลเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยานในวันเดียวกัน และให้ศาลสั่งให้โจทก์มาศาลในวันนัดพิจารณานั้นด้วย

ในวันพิจารณา เมื่อโจทก์และจำเลยมาพร้อมกันแล้ว ให้ศาลไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในข้อที่ พิพาทนั้นก่อน

ถ้าคู่ความไม่อาจตกลงกันหรือไม่อาจประนีประนอมยอมความกันได้ และจำเลยยังไม่ได้ยื่นคำให้การ ให้ศาลสอบถามคำให้การของจำเลย โดยจำเลยจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือ หรือจะให้การด้วยวาจาก็ได้ ในกรณียื่นคำให้การเป็นหนังสือ ให้นำมาตรา 191 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีให้การด้วยวาจาให้ศาลบันทึกคำให้การรวมทั้งเหตุแห่งการนั้นไว้ อ่านให้จำเลยฟังแล้วให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ

ถ้าจำเลยไม่ให้การตามวรรคสาม ให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจมีคำสั่งไม่ยอมเลื่อนเวลาให้จำเลยยื่นคำให้การ และดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป โดยถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ”

ฉะนั้น เมื่อเป็น “ คดีหยุมหยิม” หรือ “ คดีมโนสาเร่” ดังนั้นแล้ว ท่านทั้งหลายที่มีคดีหรือมีญาติพี่น้องที่มีคดีประเภทที่กล่าวไว้ข้างต้น หรือทุนทรัพย์ที่ฟ้องไม่เกินสามแสนบาท ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็น “ คดีมโนสาเร่” ซึ่งท่านทั้งหลายฯ ก็สามารถไปฟ้องคดีเองโดยใช้บริการจากศาลแขวงฯ ได้ ทั้งนี้เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาและที่สำคัญประหยัดค่าใช้จ่าย และที่สำคัญที่สุดของที่สุดคือประหยัดเงินในกระเป๋าของท่านทั้งหลายด้วยนะสิ เขียนมาตั้งนาน หวังว่าท่านทั้งหลายคงเข้าใจ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ไม่มากก็น้อย นะจ๊ะ พบกันใหม่ฉบับ

ที่มา:http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=12672
นางอณัญลักษณ์ ชัชวาลย์
ทนายประจำศูนย์นิติศาสตร์

"นิยาม" ของคำว่า Hair-cut คืออะไร?

"นิยาม" ของคำว่า Hair-cut คือ

การจ่ายชำระมูลหนี้ ที่เรามีค้างจ่ายไว้กับเจ้าหนี้ โดยมีข้อตกลงเจรจา เป็นการนำเสนอที่จะลดมูลหนี้ที่คงค้างกันอยู่ ว่าจะมีการลดหนี้ให้เท่าไหร่?
โดยคิดจากมูลหนี้ที่คงค้าง จากยอด ณ.ปัจจุบัน
ซึ่งส่วนมากทางเจ้าหนี้ควรจะเป็นผู้เสนอ ว่าจากมูลหนี้ที่คงค้างอยู่ ณ.ปัจจุบัน จะลดหนี้ให้เท่าไหร่? โดยการแจ้งเป็นตัวเลข ว่าจะลดให้กี่บาท หรือกี่เปอร์เซนต์ (ซึ่งส่วนมากจะเสนอตัวเลขเป็นเปอร์เซนต์)
ยกตัวอย่างเช่น มีหนี้คงค้างอยู่ ณ.ปัจจุบันเป็นจำนวนเงิน 100,000.-บาท (หนึ่งแสนบาท) ทางเจ้าหนี้เสนอมาว่า จะลดหนี้ให้เป็นจำนวน 30% ก็หมายถึง ทางเจ้าหนี้พึงพอใจที่จะเรียกเก็บเงินคืนเพียงแค่ 70,000.-บาท (70%) เท่านั้น...ส่วนอีก 30,000.-บาท (30%) นั้น...ทางเจ้าหนี้ลดหนี้ให้ ด้วยเหตุผลต่างๆดังนี้

- ขี้เกียจทวงแล้วโว้ย...ทวงเท่าไหร่ก็ไม่ยอมจ่ายสักที
- ทางเจ้าหนี้ตัดเป็น NPL (หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้) หรือตัดเป็นหนี้"ศูนย์"ไปแล้ว
- ไม่อยากตั้งทุนสำรองหนี้"ศูนย์" ตามข้อตกลงของ MOU และตามคำสั่งของ ธปท. เพราะต้องตั้งเงินสำรองเอาไว้ 100,000.-บาท (เป็นการตั้งสำรองหนี้"ศูนย์"ในอัตรา 100% ของมูลหนี้ที่เสีย) ด้วยเหตุผลที่ว่า สู้เอาเงินที่ตั้งสำรองจำนวนนี้ ไปปล่อยกู้ใหม่ให้กับลูกหนี้รายอื่นๆ ยังได้กำไรจากการขูดรีดอัตราดอกเบี้ยกับลูกหนี้รายใหม่อื่นๆ มากกว่าการเอาเงินมาตั้งสำรองหนี้"ศูนย์"แบบนี้โดยไม่ได้อะไรขึ้นมา แถมยังได้เงินสดคืนมาจากเราอีก 70,000.-บาท เพื่อนำไปปล่อยกู้ให้กับลูกค้ารายอื่นๆอีกด้วย
- ทางเจ้าหนี้ "กลัว" แพ้คดี ถ้าถึงขั้นการฟ้องร้องต่อศาล เพราะตัวเองมีการหมกเม็ด และโกงอัตราดอกเบี้ยของลูกหนี้ไว้เพียบ...ดังนั้น ถ้าวันนี้ ได้เงินคืนกลับมาบ้างบางส่วน ก็ยังดีกว่าที่ได้คืนมาน้อย หรือไม่ได้เลยในชั้นศาล ถ้าตัวเองฟ้องแล้วแพ้คดี (ตามสุภาษิตที่ว่า...กำขี้...ดีกว่ากำตด)
- ทางเจ้าหนี้กลัวว่าลูกหนี้จะเป็นอะไรไป...เนื่องจากการคิดสั้นของลูกหนี้... เหตุจากมีหนี้สินเยอะ เพราะถ้าลูกหนี้เป็นอะไรไป (หมายถึง ล้มหายตายจากไป) หนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้ศูนย์ทันที และจะไปฟ้องร้องกับใครก็ไม่ได้ เนื่องจากเป็นหนี้สินส่วนบุคคล ไม่เกี่ยวกับบุคคลอื่น ดังนั้น ถ้าอยากจะฟ้องต่อ ต้องตายตามลูกหนี้ เพื่อไปฟ้องต่อจากท่านยมบาลเอาเอง (แล้วใครมันยอมจะฆ่าตัวตายเพื่อไปตามทวงหนี้ต่อล่ะ)
- เจ้าหนี้ได้รับเงินคืนตามที่ตัวเองพึงพอใจแล้ว โดยคิดจากส่วนต่างที่หักจากค่าคอมมิชชั่นในการทวงหนี้ออกไป...ตัวอย่างเช่น ...เจ้าหนี้มีการตั้งค่าหัวในการทวงหนี้เราไว้ที่ 30% หากสำนักงานทวงหนี้ใดๆสามารถทวงหนี้เราได้...แบบว่า...ถ้าสมมุติว่า สำนักงานทวงหนี้ "ชั่ว"คอลเลคชั่น สามารถทวงหนี้เราได้ที่ 100,000.-บาท ดังนั้น สำนักงาน"ชั่ว"คอลเลคชั่น...รับเอาค่าคอมมิชชั่นไปเลย 30,000.-บาท เพื่อเป็นค่าแรงในการทวงหนี้ ส่วนทางเจ้าหนี้พอใจที่จะเอาเงินคืนเพียงแค่ 70,000.-บาทเท่านั้นก็พอ ถ้าเป็นเช่นนั้น สู้เราไปจ่ายชำระหนี้ให้กับทางเจ้าหนี้โดยตรง ไม่ดีกว่าเหรอ? (โดยไม่จ่ายผ่านสำนักงานทวงหนี้) ทางเจ้าหนี้ก็พอใจในการรับเงินคืนเหมือนกัน เพราะถึงอย่างไรทางเจ้าหนี้ก็มีความต้องการที่จะได้รับเงินคืนเพียงแค่ 70,000.-บาทอยู่แล้วนี่ โดยไม่สนใจว่าจะได้เงินคืนมาจากใครหรือด้วยวิธีใดก็ตาม
- ทางเจ้าหนี้มีการขายหนี้ของเรา ให้กับสำนักงานทวงหนี้ข้างนอก ในราคาถูกๆไปแล้ว เนื่องจากขี้เกียจตั้งทุนสำรองหนี้"ศูนย์" (อาจขายหนี้ไปประมาณสัก 2-3 หมื่นบาท) เพื่อให้สำนักงานข้างนอกไปทวงต่อเอาเองแล้วแต่จะได้ ดังนั้น ถ้าสำนักงานทวงหนี้เสนอราคาให้เรา 70,000.-บาทในการทำ Hair-cut...มันเองก็ยังได้กำไรจากส่วนต่างนี้ตั้ง 4-5 หมื่นบาท)
- เจ้าหนี้รีบลดราคาในการทำ Hair-cut ให้...ด้วยราคาที่งามมาก เนื่องจากคดีขาดอายุความในการฟ้องร้องไปแล้ว

ด้วยเหตุผลต่างๆ ตามที่กล่าวมานี้ จึงเกิดกระบวนการที่เรียกกันว่า Hair-cut เกิดขึ้น

แต่กระบวนการ Hair-cut นี้ มิได้เกิดขึ้นได้โดยง่าย
ต้องผ่านการบ่มระยะเวลามายาวนานพอสมควร โดยมีสูตรดังนี้
ยิ่งหยุดจ่ายนานเท่าไหร่...หนี้ก็ยิ่งเน่ามากขึ้นเท่านั้น หนี้ยิ่งเน่ามากเท่าไหร่...ก็ยิ่งได้ส่วนลดมากขึ้นเท่านั้น

หลายๆคนชอบเข้ามาตั้งคำถามที่ว่า
หยุดจ่ายมาได้ 3 เดือนแล้วครับ...จะได้ส่วนลดแล้วหรือยังครับ และถ้าได้ลด จะได้ส่วนลดกี่เปอร์เซนต์ครับ
คำตอบที่ชัดเจนคือ
ยัง!...และไม่มีทางที่จะเป็นไปได้เลย
เพราะการหยุดจ่ายเพียงแค่ 2-3 เดือน มันเป็นเพียงแค่บันไดก้าวแรกไปสู่กระบวนการ Hair-cut เท่านั้นเอง
การ Hair-cut ที่แท้จริง มันต้องหยุดจ่ายนาน 8-10 เดือนขึ้นไปเป็นอย่างน้อย หรือบางทีอาจต้องรอจนถึงขั้นได้รับหมายศาลแล้วนั่นแหละ
จึงมีคำถามต่อมาอีกว่า...
แล้วถ้าเช่นนั้น ต้องหยุดจ่ายนานเท่าไหร่? ถึงจะได้รับหมายศาลล่ะ?
คำตอบก็คือ
โดยทั่วไปแล้ว ประมาณ 1 ปีครับ
แต่บางราย...ก็นานเกินกว่า 1 ปีนะครับ
ยกเว้น "ซิตี้แบงค์" เพียงรายเดียวที่ฟ้องเร็วที่สุด (เฉพาะรายนี้เพียงรายเดียวเท่านั้น ที่ฟ้องเร็วมาก) โดยหยุดจ่ายประมาณ 4-6 เดือนก็ฟ้องแล้ว...ขอย้ำว่า...เป็นรายเดียวที่ฟ้องเร็วที่สุด...แต่รายนี้ ถ้าเราได้รับหมายศาลแล้ว...ก็จะได้รับข้อเสนอราคา Hair-cut ที่งามสุดๆเหมือนกัน

แต่ทั้งนี้...ไม่ว่าจะเป็นรายไหนๆ เงื่อนไขของการ Hair-cut ก็เหมือนๆกันหมดทั้งนั้น คือ
การเสนอส่วนลดให้ โดยต้องจ่ายชำระคืนเพียงงวดเดียวเท่านั้น
ไม่มีการผ่อนโดยเด็ดขาด
สำหรับส่วนลดที่ทางเจ้าหนี้เสนอมาให้ ก็มีตั้งแต่ 30% , 40% , 50% , 60% , 70% แล้วแต่เงื่อนไขการเจรจา , เทคนิคการต่อรอง และระยะเวลา
เพียงแต่อยากให้มองว่า เงื่อนไขที่ทางเจ้าหนี้เสนอมานั้น เราจ่ายไหวไหม? น่าสนใจและรับได้หรือเปล่า? อย่าไปมองเพียงแค่ต้องการให้ได้ส่วนลดเยอะๆเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ให้พิจารณาว่าถ้าเราจ่ายไปแล้ว เราลดเจ้าหนี้ไปอีกหนึ่งราย(ได้ลดศัตรูในการทวงหนี้ไปแล้วอีกหนึ่งที่) ที่เหลือก็ค่อยๆมาปลดหนี้ทีละรายต่อไป ตามกำลังและความสามารถ (แต่ต้องจ่ายไหวจริงๆนะ ห้ามไปกู้หนี้ยืมสินที่ต้องเสียดอกเบี้ยจากที่อื่นมาปิด Hair cut อีก มิฉะนั้น มันจะไม่มีวันจบสิ้น) ถ้าสามารถทำได้เช่นนี้ ก็จะสามารถปลดหนี้ได้โดยเร็ววัน

และสุดท้ายแล้ว สำหรับคำว่า Hair-cut
Hair-cut สามารถทำได้ตลอด ทุกช่วงเวลาหลังจากที่"หนี้"ของเรา"เน่า"แล้ว...ไม่ว่าจะเป็น
- ก่อนได้รับหมายฟ้อง (แต่ต้องหยุดจ่ายนานๆ หลายๆเดือนซะก่อนนะ)
- ได้รับหมายฟ้องแล้ว แต่ยังไม่ถึงวันที่ต้องไปขึ้นศาล
- ขึ้นศาลแล้ว แต่ยังอยู่ในระยะเวลาระหว่างการต่อสู้คดี โดยรอขึ้นศาลอีกครั้งในนัดหน้านัด หรือนัดต่อไป (แต่ยังไม่ได้พิพากษา)
- พิพากษาแล้ว รอการจ่ายชำระเงินคืนตามคำพิพากษา
- พิพากษาแล้ว และอยู่ในระหว่างการถูกอายัติเงินเดือน หรืออายัติทรัพย์สิน
เห็นไหมล่ะครับ ว่า Hair-cut สามารถทำได้ตลอดชีพจริงๆ
แต่การ Hair-cut ที่ได้ราคางามที่สุด (หรือที่เรียกว่า "นาทีทอง") นั้น...มักจะอยู่ในช่วงของเวลาดังต่อไปนี้
- หยุดจ่ายนานเกิน 10 เดือนขึ้นไป
- ได้รับหมายฟ้องแล้ว แต่ยังไม่ถึงวันที่ต้องไปขึ้นศาลในนัดแรก
- ขึ้นศาลแล้ว แต่ยังอยู่ในระยะเวลาระหว่างการต่อสู้คดี อีกหลายนัด (ยังไม่ได้พิพากษา)
ถ้่าพ้นกำหนดช่วงเวลาดังกล่าวนี้ไปแล้ว โปรโมชั่น "นาทีทอง" อาจหมดไป แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะ Hair-cut ไม่ได้...เพียงแต่ว่า อาจไม่ได้ราคางามๆตามโปรโมชั่นของ "นาทีทอง" ก็เท่านั้นเอง
และที่สำคัญ การทำ Hair-cut จะต้องให้ทางเจ้าหนี้ทำเอกสารยืนยัน การปลดหนี้ หรือหมดซึ่งภาระหนี้ ซึ่งกันและกัน ด้วยทุกครั้ง โดยเราต้องได้รับหนังสือยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางเจ้าหนี้ ก่อนที่จะทำการจ่ายชำระ Hair-cut ใดๆ
ถ้ายังไม่ได้รับหนังสือยืนยันนี้ก่อน
ห้ามจ่ายโดยเด็ดขาด...!
ถูกหลอกให้จ่ายเงินเข้าไปก่อน โดยโกหกว่าจะยอมเสนอ Hair-cut ให้
ด้วยคำพูด หรือรับปากทางโทรศัพท์ แต่แล้วก็ไม่ยอมทำ Hair-cut ให้จริงๆ
โดนหลอกมาหลายรายแล้วนะครับ...ขอเตือน...
ที่มา:โดยนกกระจอกเทศ http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=12672

อายุความในการฟ้องสำหรับ "หนี้" ที่ผิดนัดชำระ

อายุความ
อายุความในการฟ้องสำหรับ "หนี้" ที่ผิดนัดชำระ...ให้นับจาก
วันที่ผิดนัดชำระครั้งสุดท้าย...จนถึงวันที่ฟ้องคดี

ที่ผ่านมาส่วนใหญ่...เรามักจะเข้าใจกันว่า
ให้นับจากวันที่จ่ายค่างวดเป็นครั้งสุดท้าย...จนถึงวันที่ฟ้อง
ซึ่งเป็นการเข้าใจที่ ผิด ครับ

อย่าลืมนะครับ ภาษาของกฏหมายเขียนเอาไว้ว่า
นับจากวันที่ผิดนัดชำระครั้งสุดท้าย จนถึงวันที่ฟ้อง

ทีนี้เรามาตีความกันสักหน่อยนะครับ
คำว่า วันที่ผิดนัดชำระหนี้ครั้งสุดท้าย ไม่ได้หมายถึงวันที่จ่ายชำระเงินเป็นครั้งสุดท้ายนะครับ
เพราะการที่เราจ่ายเงินไปในครั้งสุดท้ายนั้น...เรายังไม่ได้ผิดสัญญา ดังนั้น อายุความก็จะยังไม่เริ่มนับ

ความหมายของคำว่า “ผิดนัดชำระสัญญา” ก็คือ...เมื่อถึงวันที่เราจะต้องจ่ายคืนเงินกู้ตามสัญญาที่ได้ระบุไว้ แต่เรากลับมิได้จ่ายตามวันที่ได้กำหนดไว้สัญญา...นั่นแหละ...จึงจะถือได้ว่า “เริ่มผิดนัดชำระตามสัญญา”

ขออนุญาตสมมุติตัวอย่างให้ดูสักกรณีหนึ่งนะครับ จะได้เข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
นาย ก. ได้ไปทำการกู้เงินจาก ธนาคาร A มาเป็นจำนวนเงิน XX,XXX บาท ซึ่งกำหนดให้ผ่อนจ่ายคืนทั้งหมด 24 งวดๆละ 1,000.-บาท โดยต้องผ่อนจ่ายคืนไม่เกินวันที่ 8 ของทุกๆเดือน
นาย ก. ได้รับเงินกู้มาแล้ว ในวันที่ 9/ก.ค./ 2550...ซึ่งหลังจากนั้น นาย ก. ได้ผ่อนจ่ายชำระคืนไปแล้ว เป็นบางงวด ดังนี้
งวดที่1_____จ่าย 1,000.-บาท_____วันที่จ่าย 8/ส.ค./2550
งวดที่2_____จ่าย 1,000.-บาท_____วันที่จ่าย 7/ก.ย./2550
งวดที่3_____จ่าย 1,000.-บาท_____วันที่จ่าย 6/ต.ค./2550
งวดที่4_____จ่าย 1,000.-บาท_____วันที่จ่าย 7/พ.ย./2550
งวดที่5_____ซึ่ง นาย ก. ควรจะต้องจ่ายค่าผ่อนชำระ 1,000.-บาท ไม่เกินวันที่ 8/ธ.ค./2550 ตามสัญญา แต่ นาย ก. เริ่มประสพปัญหาเรื่องเงินหมุน (ไม่มีเงินจ่าย) จึงเริ่มหยุดจ่าย...นับตั้งแต่วันที่ 8/ธ.ค./2550 เป็นต้นมา...จนถึงปัจจุบัน
วันที่ 8/ธ.ค./2550 นี่แหละครับ ที่ถือว่า นาย ก. ได้เริ่มผิดนัดชำระตามสัญญา
ส่วนจะไปอ้างว่า วันที่ 7/พ.ย./2550 เป็นวันที่ นาย ก. ได้เริ่ม “ผิดนัดชำระตามสัญญา” เพราะว่าเป็น “การจ่ายชำระเงินเป็นครั้งสุดท้าย” มิได้...เพราะถือได้ว่า นาย ก. ยังมีการจ่ายชำระเงินในวันที่ 7/พ.ย./2550 ตามสัญญาอยู่ จึงไม่ได้เป็นการผิดนัดตามสัญญาแต่อย่างใด จนกว่าจะถึงรอบบิลในการชำระเงินครั้งต่อไป
ที่ผมหยิบยกเอาประเด็นนี้ขึ้นมาเสริม เพราะเกรงว่าอาจส่งผลต่อการสู้ต่อคดีของลูกหนี้บางท่าน ที่ยังไม่เข้าใจในการตีความของกฏหมาย
เช่น...ถ้าลูกหนี้ถูกฟ้องเรื่อง”หนี้บัตรเครดิต”...ซึ่งได้หยุดจ่ายมาเป็น เวลา 24 เดือน (2 ปี) พอดี โดยที่ตัวลูกหนี้เอง ใช้วิธีคำนวนระยะเวลา จากวันที่เริ่มหยุดจ่ายจนถึงวันที่ฟ้อง และได้อ้างข้อมูลดังกล่าวนี้ต่อศาลว่า “คดีขาดอายุความ” เพื่อที่จะให้ศาล “ยกฟ้อง” ให้
แต่ถ้าทนายฝ่ายโจทก์กล่าวแย้งว่า “ยังไม่ขาดอายุความ” ตามเหตุผลที่ผมได้ยกตัวอย่างในเรื่อง นาย ก. ให้ศาลพิจารณา...จะทำให้คดีที่ถูกฟ้องร้องนี้ มีระยะเวลาในการ”ผิดนัดชำระสัญญา” เพียงแค่ 23 เดือน (1 ปี กับอีก 11 เดือน) เท่านั้น...ดังนั้น คดีนี้จึงไม่ขาดอายุความ และอาจส่งผลให้ลูกหนี้ถูกตัดสิน “แพ้คดี” เนื่องจากการสู้ความ "ผิดประเด็น" ก็เป็นได้
ดังนั้น สำหรับเพื่อนสมาชิกที่จะใช้ “เงื่อนไขของ การผิดนัดชำระตามสัญญา” สำหรับต่อสู้คดีในเรื่อง “ขาดอายุความ” ให้พิจารณาถึงส่วนนี้ด้วยนะครับ

สำหรับอายุความของหนี้สินประเภทต่างๆ...เท่าที่ผมได้เคยสอบถามกับผู้รู้กฏหมาย...ได้ความมาตามนี้ครับ
หนี้บัตรเครดิต...อายุความในการฟ้อง หลังจากมีการผิดนัดชำระตามสัญญา = 2 ปี
หนี้เงินกู้ หรือสินเชื่อ...อายุความในการฟ้อง หลังจากมีการผิดนัดชำระตามสัญญา = 5 ปี
สัญญาเช่าซื้อ...อายุความในการฟ้อง หลังจากมีการผิดนัดชำระตามสัญญา = 3 ปี

คำว่า คดีขาดอายุความ มีความหมายว่า "ไม่สามารถเอาผิดได้ตามกฏหมายที่บัญญัติไว้"...แต่ไม่ได้หมายความว่า ฟ้องไม่ได้ หรือห้ามฟ้อง นะครับ...กล่าวคือถ้าอยากจะฟ้องก็ฟ้องไป แต่ฟ้องแล้วก็ไม่สามารถเอาผิดกับจำเลยได้
ดังนั้น ถ้ามันรู้ว่า...คุณเองก็พอมีความรู้ในเรื่อง "คดีขาดอายุความ"...มันจึงไม่ฟ้องดีกว่า...เสียเงินและเสียเวลาในการฟ้องไป เปล่าๆ...แต่มันจะใช้วิธีในการทวงหนี้แบบนี้ไปเรื่อยๆแทน เพราะกฏหมายไม่ได้ระบุไว้นี่ครับว่า ถ้าไม่ฟ้องแล้วห้ามทวงหนี้โดยเด็ดขาด

ที่มา: โดยคุณนกกระจอกเทศ  http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=12672

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเครดิตบูโร

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเครดิตบูโร
จาก web บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ

ข้อมูลที่เก็บเครดิตบูโรจะเก็บรวบรวมเฉพาะข้อมูลของการ
ชำระสินเชื่อหรือบัตร

เครดิต ซึ่งข้อมูลนี้จะประกอบไปด้วย ข้อมูลส่วนที่บ่งชี้ตัวบุคคล เช่น ชื่อ ทีอยู่ เลขประจำตัวประชาชน และอีกส่วนหนึ่ง
เป็นประวัติการชำระ

สินเชื่อ และการชำระบัตรเครดิต รวมเรียกว่า "รายงานข้อมูลเครดิต"

รายงานข้อมูลเครดิตจะมีการบันทึกและจัดเก็บวงเงินยอดหนี้
คงค้าง

รวมถึงประวัติการผิดนัดชำระในแต่ละสิ้นเดือนย้อนหลังไม่เกิน 36 เดือน

ข้อมูลเครดิตในฐานข้อมูลมิใช่เป็นแบล็กลิสแต่อย่างใด
จะเป็นการรายงานประวัติการผ่อนชำระตามความเป็นจริง
และในกรณีที่มีการประนอมหนี้และผ่อนชำระ โดยไม่เคย
ค้างชำระ ธนาคารก็จะรายงานเป็นปกติ เพราะสามารถชำระหนี้
ได้ตามเงื่อนไขใหม่ ในกรณีที่ถูกฟ้องศาลหรือขายทอดตลาด
สถาบันการเงินส่วนใหญ่จะส่งข้อเท็จจริงดังกล่าวมาบันทึกใน
ระบบฐานข้อมูลของบริษัทด้วย

ข้อมูลเครดิตในฐานข้อมูลมิใช่เป็นแบล็กลิสแต่อย่างใด
จะเป็นการรายงานประวัติการผ่อนชำระตามความเป็นจริง และใน
กรณีที่มีการประนอมหนี้และผ่อนชำระ โดยไม่เคย
ค้างชำระ ธนาคารก็จะรายงานเป็นปกติ เพราะสามารถชำระหนี้
ได้ตามเงื่อนไขใหม่ ในกรณีที่ถูกฟ้องศาลหรือขายทอดตลาด
สถาบันการเงินส่วนใหญ่จะส่งข้อเท็จจริงดังกล่าวมาบันทึกใน
ระบบฐานข้อมูลของบริษัทด้วย

ปัจจุบันนี้ประวัติการชำระค่าโทรศัพท์มือถือยังไม่ถูกนำส่งมาที่
บริษัทข้อมูลเครดิต จึงไม่มีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อ
ปัจจุบันยังไม่มีการนำส่งข้อมูลจากกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาเข้ามาในระบบข้อมูลเครดิต
สามารถตรวจสอบข้อมูลเครดิตได้ด้วยตัวท่านเอง ผ่าน ธนาคารนครหลวงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศได้
ที่มา:โดยคุณเพื่อนกัน http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=12672