บทความที่ได้รับความนิยม

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ขั้นที่ 6 แนวทางปฏิบัติเมื่อคดีความที่เข้าสู่ศาลแพ่ง

1 มาจากการเจรจา hair cut ไม่ได้ / ไม่ทัน เนื่องจาก เราไม่มีเงินพอ หรือ แบงค์ต้องการเงินคืนเร็ว เลยฟ้องเร็ว อันนี้ไม่มีอะไรแน่นอน

2 ขั้นตอนนี้ก็ยังสามารถเจรจา hair cut ได้เรื่อยๆ จำไว้ว่าการ hair cut ทำได้ในทุกขั้นตอน ขอเพียงเรามีเงิน

3 วันไปขั้นศาล ควรไปทุกนัดจะดีมาก

3.1 ไปนัดแรก เป็น นัดไกล่เกลี่ย

ก) หากคู่ความ ตกลงกันได้ในต้นเงิน ดอกเบี้ย ระยะเวลา และค่าใช้จ่ายต่อกัน เช่น ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ ค่าทนายความโจทก์ 500-1,000 บาท

(ก.1) ก็จะลงนามใน บันทึกการไกล่เกลี่ย โดยคู่ความ โจทก์ ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ หรือทนายความโจทก์ และ จำเลย หรือทนายความจำเลยและ ผู้ไกล่เกลี่ย

(ก.2) เจ้าหน้าที่ศาล จะทำ คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมตามที่คู่ความตกลงกันไปให้ผู้พิพากษาลงนาม โดยท่านผู้พิพากษาจะให้คู่ความทั้งสองฝ่ายพร้อมกันต่อหน้า

(ก.3) ท่านผู้พิพากษาจะอ่านคำพิพากษาให้สองฝ่ายทราบ และแก้ไขข้อความให้ตรงกับที่คู่ความ ตกลง พึงพอใจสองฝ่ายเมื่อเป็นที่เข้าใจตรงกันแล้ว

(ก.4) ท่านจะมีคำพิพากษาและลงนามไปตามนั้น พร้อมให้คู่ความลงนาม และมอบคำพิพากษาให้คู่ความเก็บเป็นหลักฐานและปฏิบัติไปตามนั้น

(ก.5) ขั้นตอนเจรจาที่จบลงแบบนี้ คือ เงื่อนไขที่ลูกหนี้ร้องขอ เจ้าหนี้พอใจ แต่ถ้าไม่ยินยอมก็ไปข้อ (ข)

ข) หากคู่ความไม่ตกลงในนัดไกล่เกลี่ย

(ข.1) จะส่งเรื่องคืนเข้าสู่การนัดสืบพยานเรื่องราวที่ตกลงกันในการไกล่เกลี่ยถือเป็นโมฆะ ไม่นำกลับมาเป็นข้ออ้างในการพิจารณาของศาล

(ข.2) ขั้นตอนที่เจรจา ส่วนใหญ่จะลงเอยแบบนี้มากกว่าข้อ (ก) เพราะโจทก์ (แบงค์) มักไม่ยอมตามเงื่อนไขลูกหนี้ง่ายๆ ขั้นตอนมีคร่าวๆดังนี้ครับ

2.1 หลังมาศาลแล้วจะเจอทนายของแบงค์ (โจทก์) ที่ฟ้อง ให้เราเจรจาเงื่อนไขที่เราต้องการ ถ้าแบงค์ไม่ยอมอะไรเลย ก็ขอเลื่อนคดี (ยืดหนี้)ออกไปก่อน เช่น ใช้เทคนิคเรื่องโบนัสที่จะออกใน 3-4 เดือนข้างหน้า เป็นต้น

2.2 ดังนั้นเทคนิคยืดเวลา คือ การขอเลื่อนคดีออกไป อีก 2-4 เดือน (แต่ไม่ใช่การสู้คดีนะ) ลูกหนี้มีสิทธิ์ ถึงแม้ทนายโจทก์จะไม่อยากให้เลื่อนก็ตาม ลูกหนี้ทุกคนมีสิทธิ์ร้องขอ ควรทำความเข้าประเด็นนี้ให้มากๆ

2.3 หรืออีกเทคนิคคือ การยื่นคำให้การ แต่จะยุ่งยากกว่าข้อ 2.2 (อาจจะต้องจ้างทนาย) ลองประเมินตามความเหมาะสม


2.4 ระหว่างที่รอมาศาลในนัดต่อไป ก็เก็บเงินไปเรื่อยๆ ได้อีกหลายเดือน ระหว่างนี้ถ้าพร้อมก็เจรจา hair cut ได้เลย โจทก์ก็จะถอนฟ้องให้ หรือถ้าเงินยังเก็บได้ไม่พอ ก็ไม่ต้องกังวลใจ ค่อยไปต่อรองหน้าศาลในนัดต่อไปได้

3.2ไปนัดที่ 2 เป็น นัดสืบพยาน

ก) ท่านผู้พิพากษาจะสืบคู่ความทั้งสองฝ่าย และพยานที่กล่าวอ้าง ตามกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงแห่งหนี้
ข) และจะนัดให้คู่ความฟังคำพิพากษาในวันถัดไป

3.3ไปนัดสุดท้าย เป็น นัดฟังคำพิพากษา

ก) มาถึงศาลแล้ว จะเจอทนายโจทก์ก็สามารถเจรจาเงื่อนไขได้ ถ้าเจรจาไม่ได้ก็ลองไปเจรจาหน้าบัลลังค์อีกครั้ง

ข) ผู้พิพากษาจะอ่านคำพิพากษาให้คู่ความทั้งสองฝ่ายฟัง โดยคู่ความสามารถตกลงกันตอนนี้ได้ หรือจะให้เป็นไปตามที่มีคำพิพากษาเลยก็ได้

(ข.1) ส่วนใหญ่ถ้ามาศาลคนเดียว ลูกหนี้ (ตัวเรา) จะขอความเห็นใจจากศาลในขั้นตอนนี้ครับ เช่น เทคนิคขอผ่อนแบบขั้นบันได
ปีที่ 1 = 1,000, 1,500, 2,000
ปีที่ 2 = 1,500, 2,000, 2,500
ปีที่ 3 = 2,000, 2,500, 3,000
ปีที่ 4 ………………………..ก็แล้วแต่ยอดหนี้และความเหมาะสม แต่คงไม่เกิน 10 ปีตามอายุบังคับคดี

(ข.2) จากนั้นศาลท่านจะแค่บอกแนวทางสั้นๆ แก่โจทก์ ถ้ายอมก็ตามนั้น ถ้าโจทก์ไม่ยอมก็ตัดสินตามคำฟ้องของเจ้าหนี้

ค) เมื่อท่านมีคำพิพากษาแล้ว คู่ความจะต้องลงนามในคำพิพากษา และรับคำพิพากษาแต่ละฝ่ายกลับไปปฏิบัติตามนั้นถือว่าจบกระบวนการพิจารณาคดี

ง) ค่าใช้จ่ายถ้าไปศาลเองก็ยังไม่ต้องจ่ายอะไร เป็นเรื่องที่ทนายจะไปเรียกเก็บกับทางแบงค์ต้นสังกัดเอง

ที่มา: http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=10152

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น