บทความที่ได้รับความนิยม

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2559

เจ้าหนี้-ลูกหนี้ ควรรู้ไว้ ทวงหนี้อย่างไรไม่ผิดกฎหมาย

   เจ้าหนี้-ลูกหนี้ ควรรู้ไว้ ทวงหนี้อย่างไรไม่ผิดกฎหมาย ลูกหนี้ร้องเรียนได้หากพบถูกปฏิบัติไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ 2558

         เปิด ข้อกฎหมายน่ารู้ สรุปสาระสำคัญใน พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2558 กับรายละเอียดที่เจ้าหนี้-ลูกหนี้ควรทราบ ทวงหนี้อย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย ทวงหนี้แบบใดเข้าข่ายคุกคามหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของลูกหนี้ และลูกหนี้ควรปฏิบัติอย่างไร หากได้รับความไม่เป็นธรรมจากการทวงหนี้

เจ้าหนี้ควรรู้

         ลูกหนี้ เหนียวหนี้สุด ๆ แต่จะทวงหนี้ได้อย่างไรถึงจะไม่ผิดกฎหมาย และสามารถจ้างวางให้คนอื่นทำหน้าที่ทวงหนี้แทนได้หรือไม่ ใครเป็นเจ้าหนี้ควรเข้ามาดู รู้ไว้ก่อนทวงหนี้ ก่อนจะกลายเป็นฝ่ายเสียเงินค่าปรับแทนที่จะได้เงินคืน

         1. "ผู้ทวงถามหนี้" คือ เจ้าหนี้ ผู้ให้กู้เงิน ไม่ว่าจะโดยถูกกฎหมายหรือไม่ก็ตาม รวมถึงผู้ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ให้ทวงถามหนี้ อาทิ บริษัทรับทวงหนี้

         2. "ธุรกิจทวงถามหนี้" คือ ผู้ประกอบธุรกิจรับจ้างทวงหนี้ ซึ่งต้องได้รับการจดทะเบียนทวงถามหนี้ต่อนายทะเบียน กรณีผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้เป็นทนายความ ให้จดทะเบียนกับสภาทนายความ ผู้ฝ่าฝืนไม่ไปจดทะเบียนมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท

         3. กรณีผู้ที่ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้อยู่หน้านี้ ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภายใน 90 วันนับแต่วันที่ พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 มีผลบังคับใช้ (2 กันยายน) โดยระหว่างนี้ให้ยังประกอบธุรกิจได้อยู่

         4. ห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น ทหาร ตำรวจ ประกอบธุรกิจรับทวงหนี้ หรือไปช่วยคนอื่นทวงหนี้ที่ไม่ใช่หนี้ของตัวเอง เว้นแต่เป็นหนี้ของสามีภรรยา พ่อแม่ หรือลูก ให้สามารถทำได้ภายใต้กรอบของกฎหมาย ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

         5. ห้ามทวงหนี้กับคนที่ไม่ใช่ลูกหนี้ เว้นแต่เป็นบุคคลที่ลูกหนี้ระบุให้ไปทวงถาม โดยมีข้อปฏิบัติคือ

         - ผู้ทวงหนี้ต้องแสดงตัว แจ้งชื่อ-สกุล พร้อมแสดงเจตนาว่าต้องการถามหาข้อมูลเพื่อติดต่อลูกหนี้

         - ผู้ทวงหนี้ห้ามเผยข้อมูลการเป็นหนี้ของลูกหนี้ ยกเว้นผู้ที่ได้ติดต่อนั้นเป็นสามี ภรรยา พ่อ-แม่ หรือลูกของลูกหนี้ โดยให้บอกเล่าเท่าที่จำเป็น

         - ห้ามใช้ข้อความ เครื่องหมาย หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้บนซองจดหมาย

         - ห้ามหลอกลวงหรือทำให้บุคคลอื่นเข้าใจผิด เพื่อให้ได้ข้อมูลของลูกหนี้

         - ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท

         6. การทวงถามหนี้ ให้ปฏิบัติ ดังนี้

         - ติดต่อลูกหนี้ตามสถานที่ติดต่อที่ให้ไว้

         - ติดต่อในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00-20.00 น. และในวันหยุดราชการ เวลา 8.00-18.00 น. หากฝ่าฝืนจะถูกสั่งระงับการดำเนินการ และหากยังฝ่าฝืนซ้ำจะถูกโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท

         - ติดต่อตามจำนวนครั้งที่เหมาะสม

         - กรณีเป็นผู้รับมอบอำนาจให้ทวงหนี้ต้องแสดงหลักฐานด้วยว่าตนเองได้รับมอบหมายมา

ลูกหนี้ควรรู้

         ถูก เจ้าหนี้หน้าโหดตามมาทวงเงินถึงที่ หากถูกข่มขู่คุกคามจะทำอย่างไรดี แถมใช้ลูกไม้มาหลอกทวงหนี้กันแบบนี้ จะมีใครเข้ามาดูแลได้บ้างนะ และการถูกปฏิบัติแบบใดที่ถือว่าไม่เป็นธรรม จำข้อกฎหมายเหล่านี้เอาไว้ จะได้ไม่ถูกเจ้าหนี้เอาเปรียบ

         1. ข้อห้ามปฏิบัติของผู้ทวงหนี้

         - ข่มขู่ ใช้ความรุนแรง ทำให้เกิดความเสียหายต่อร่างกายหรือทรัพย์สิน ผู้ฝ่าฝืนจําคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

         - พูดจาไม่สุภาพ ดูหมิ่น ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท

         - เปิดเผยความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้คนอื่นได้รู้ ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท

         - ทวงหนี้ผ่านไปรษณีย์ หรือโทรสาร โดยมีข้อความแสดงการทวงหนี้ชัดเจน ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท

         - ห้ามระบุข้อความ เครื่องหมาย หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้บนซองจดหมาย ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท

         2. ห้ามทวงหนี้แบบหลอกให้เข้าใจผิด

         - ส่งเอกสารทำให้ลูกหนี้เข้าใจผิดว่าเป็นการกระทำของศาล เช่น ส่งเอกสารที่มีตราครุฑมาให้ลูกหนี้ ผู้ฝ่าฝืนจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

         - ทำให้เชื่อว่ามีการส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถาม (Notice) จากทนายความ ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

         - ใช้เอกสารที่ทำให้ลูกหนี้เข้าใจผิดว่าจะถูกดำเนินคดี หรือถูกยึดทรัพย์ ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

         - แอบอ้างว่าเป็นการทวงหนี้จากบริษัทข้อมูลเครดิตใด ๆ ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

         3. การทวงถามหนี้ไม่เป็นธรรม ห้ามปฏิบัติดังนี้

         - เรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการทวงถามหนี้ในอัตราเกินกว่าที่กำหนด

         - เสนอให้ลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คชำระหนี้ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าลูกหนี้ไม่มีเงินชำระหนี้ตามเช็ค ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

         4. คณะกรรมการกํากับการทวงถามหนี้ มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลการทวงหนี้ของผู้ทวงถามหนี้ โดยหากลูกหนี้หรือคนอื่น ๆ ได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือไม่เป็นไปตามกฎหมายจากผู้ทวงถามหนี้ สามารถร้องเรียนต่อคณะกรรมการกํากับการทวงถามหนี้ประจำจังหวัด

         5. ให้ที่ทำการปกครอง หรือกองบัญชาการตำรวจนครบาล มีอำนาจรับร้องเรียนการทวงหนี้ผิดกฎหมาย ติดตามพฤติกรรมของผู้ทวงถามหนี้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
ราชกิจจานุเบกษา

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เครดิตบูโรเตรียมนิรโทษกรรมลูกหนี้ติดแบล็คลิสออกจากระบบ

เครดิตบูโรเตรียมนิรโทษกรรมลูกหนี้ติดแบล็คลิสออกจากระบบ ดีใจผุดๆ เลยงานนี้

  เมื่อได้รู้ข่าวว่า "เครดิตบูโรเตรียมนิรโทษกรรมลูกหนี้ติดแบล็คลิสออกจากระบบ" เครดิตบูโรบล็อก ก็ขออนุญาตมาแจ้งอภิมหาข่าวดีของลูกหนี้เลยก็ว่าได้ เมื่อเครดิตบูโร เตรียมปลดแบล็คลิสลูกหนี้กว่า 6 แสนราย ออกจากระบบ ต้องบอกว่า งานนี้ คสช. ได้ใจลูกหนี้ไปเต็มๆ โดยเฉพาะลูกหนี้ที่ติดแบล็คลิสกับ สถาบันการเงินต่างๆ  คสช. คืนความสุขให้คนไทยอีกครั้ง ด้วยการนิรโทษกรรมลูกหนี้ค้างชำระ ติดแบล็คลิส เกินกว่า 8 ปี  เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นว่ามันไม่ใช่แค่ข่าว ก็แจ้งที่มาเป็นการรับประกันว่า "ปลดแบล็คลิส" ได้จริงๆ แล้วครับ

     ข่าวนี้ ถูกเปิดเผยจาก นายรณดล  นุ่มนนท์  ผู้ช่วยผู้ว่าการ  ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สายกำกับสถาบันการเงิน   ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต และทำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต  เปิดเผยว่า คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต ได้เห็นชอบให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ระยะเวลาการส่งข้อมูลสมาชิกบริษัทข้อมูล เครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือเราเรียกกันว่า "เครดิตบูโร" (NCB) โดย กำหนดให้สมาชิกส่งข้อมูลลูกหนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน หรือลูกหนี้ที่เป็นเอ็นพีแอล เป็นระยะเวลา 5 ปี ให้แก่เครดิตบูโร โดยเครดิตบูโรเองก็จะแสดงข้อมูลลูกหนี้ต่อไปอีก 3 ปี รวมระยะเวลาที่ข้อมูลลูกหนี้ปรากฏในฐานะข้อมูลเครดิตบูโร รวม 8 ปี ข้อมูลหลังจากนี้จะลบออกจากระบบ แทนหลักเกณฑ์ปัจจุบันที่กำหนดให้สมาชิกส่งข้อมูลลูกหนี้จนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จนเสร็จ

   "เนื่องจากคณะกรรมการเครดิตบูโรเห็นว่าในช่วงที่ผ่านมามีลูกหนี้รายย่อย จำนวนหนึ่ง ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤติต้มยำกุ้ง ในปี 2541 ที่ผ่านมา จนกลายเป็นหนี้เอ็นพีแอล และจนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถชำระหนี้ได้ครบ ถึงแม้ว่าจะผ่านกระบวนการฟ้องร้องไปแล้ว และส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่มีมูลค่าไม่มาก แต่ตามเกณฑ์เดิม ประวัติว่าเป็นหนี้เสียจะโชว์อยู่ตลอดไปในข้อมูลเครดิตบูโร ทำให้ไม่สามารถที่จะกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินได้ และทำให้ส่วนหนึ่งจำเป็นต้องไปก่อหนี้นอกระบบ ซึ่งการลบข้อมูลประวัติการเป็นหนี้ส่วนนี้ จะช่วยให้ลูกหนี้เหล่านี้กลับมากู้หนี้ในระบบได้ จึงถือเป็นหนทางในการดูแลหนี้นอกระบบในทางอ้อมด้วย" 
    ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวต่อว่า การปรับหลักเกณฑ์ระยะเวลาการส่งและจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้เกิดความ เป็นธรรมและลดอุปสรรคในการเข้าถึงสินเชื่อของลูกหนี้ ในขณะเดียวกัน จะยังคงเป็นประโยชน์ให้สถาบันการเงินสมาชิกเครดิตบูโร มีข้อมูลและระยะเวลาเพียงพอสำหรับการพิจารณาพฤติกรรมการชำระหนี้ของลูกหนี้ ซึ่งจะทำให้ข้อมูลของลูกหนี้ โดยหลังจากประกาศดังกล่าวลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จะมีลูกหนี้ที่ได้รับการลบประวัติการเป็นหนี้เสียทันทีในประเทศ 6 แสนราย

   สำหรับปฏิกริยาของสถาบันการเงิน ซึ่งถือเป็นเจ้าหนี้ 6 แสนราย มาดูกันซักเล็กน้อยครับว่า มีความคิดเห็นอย่างไร สำหรับ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) โดยนางสาวอรอนงค์ อุดมก้านตรง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผลิตภัณฑ์สินเชื่อรายย่อย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) (บมจ.) เปิดเผยว่า การปรับหรือเปลี่ยนหลักเกณฑ์ดังกล่าวนั้น ในแง่ผู้บริโภคหรือลูกหนี้รายย่อยๆ ที่มีหนี้วงเงินไม่มาก จะได้รับประโยชน์ เพราะถือว่าเป็นการช่วยเหลือให้ลูกค้ากลุ่มนี้สามารถเข้าสู่ระบบสถาบันการ เงินได้ใหม่อีกครั้ง เพราะไม่มีรายชื่ออยู่ในระบบเครดิตบูโร ก็สามารถขอสินเชื่อได้ แต่อีกนัยหนึ่งก็เหมือนการผลักให้คนก่อหนี้เพิ่ม
    ในแง่ของสถาบันการเงิน หรือผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้อง จะทำงานได้ยากมากขึ้น เนื่องจากจะไม่สามารถเช็กประวัติการชำระหนี้ของลูกค้าได้ภายหลังจาก 8 ปี ทำให้การพิจารณาสินเชื่อค่อนข้างยาก จึงเป็นความเสี่ยงต่อการปล่อยสินเชื่อ ดังนั้น ในอนาคตจะเห็นต้นทุนทางเครดิตเพิ่ม เช่น ลูกค้าบางรายยังถูกบันทึกประวัติหนี้อยู่ และวันหนึ่งหายไป ซึ่งจะมีผลให้ธนาคารจะแข่งขันในเรื่องของราคาของความเสี่ยงมากขึ้น และลูกค้าจะต้องแบกรับต้นทุนความเสี่ยงดังกล่าว ขณะเดียวกันจะเห็นแนวโน้มการบังคับคดี หรือการผ่อนผันลูกค้าทำในขั้นตอนกระบวนการที่เร็วขึ้น เพื่อให้ทันต่อการถูกลบประวัติทิ้ง
    "ก่อนหน้านี้ก็มีการพูดคุยบ้างเรื่องการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งปัจจุบันข้อสรุป 8 ปี ในแง่ลูกค้ารายย่อยและระบบ ถือเป็นเรื่องดี เพราะลูกค้าเป็นหนี้เอ็นพีแอลก็สามารถเคลียร์ประวัติและตั้งต้นใหม่ได้ แต่ควรแยกประเภทธุรกิจ ในส่วนของการมีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน และควรทำควบคู่กับกฎหมายอื่นๆ เพราะหากทำแบบเหมารวม จะทำให้คนประวัติดีและถูกบันทึกปะปนกันหมด แบงก์ก็แยกไม่ออกสุดท้ายก็จะมาลงที่ความเสี่ยงเครดิตได้"

     นอกจากเรื่องที่ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต ได้เห็นชอบให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ระยะเวลาการส่งข้อมูลให้กับเครดิตบูโร จากเดิม ส่งข้อมูลลูกหนี้จนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จนเสร็จ เป็น รวมระยะเวลาที่ข้อมูลลูกหนี้ปรากฏในฐานะข้อมูลเครดิตบูโร รวม 8 ปี ก็ยังมีประกาศกำหนดให้สหกรณ์ และชุมนุมสหกรณ์ทุกประเภทเป็นสถาบันการเงิน ตามมาตรา 3 (9) แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 เพื่อให้สหกรณ์ และชุมนุมสหกรณ์ทุกประเภทมีคุณสมบัติในการเข้าเป็นสมาชิกบริษัทข้อมูลเครดิต แห่งชาติ (เครดิตบูโร) ได้  แต่ในเบื้องต้นยังเป็นระบบสมัครใจก่อน โดย ธปท.และเครดิตบูโร จะไปชี้แจงทำความเข้าใจกับสหกรณ์แต่ละรายถึงผลดี ผลเสียและการส่งข้อมูลอีกครั้ง

  คำถาม  จะรู้ได้อย่างไร คุณคือ 1 ใน 6 แสนราย
  คำตอบ  ลูกหนี้ที่มี ประวัติการค้างชำระหนี้เกิน 90 วันอยู่ในฐานข้อมูลของเครดิตบูโรครบ 8 ปี จะถูกลบประวัติการค้างหนี้ออกจากระบบ ...แต่...ยอดหนี้ยังคงเดิม ไม่มีการลบทิ้งหรือล้างข้อมูลออกไปแต่อย่างใด ....ชัดเจนนะครับ ลบประวัติ แต่ไม่ลบหนี้

  คำถาม  แล้วลูกหนี้นอกจาก 6 แสนราย จะได้สิทธิอะไรเพิ่มเติมหรือไม่
  คำตอบ  สำหรับลูกหนี้เอ็นพี แอลอื่นๆ หรือลูกหนี้ค้างชำระหนี้เกิน 90 วัน (มีข้อมูลในระบบยังไม่ครบ 8 ปี) ยังไม่ได้ชำระหนี้สินต่อธนาคารสมาชิก ต่อจากนี้ขอให้ส่งข้อมูลต่อเนื่อง มาให้เครดิตบูโรเป็นระยะเวลา 5 ปี และหลังจากนั้นเครดิตบูโรจะแสดงข้อมูลลูกหนี้ที่เป็นหนี้เอ็นพีแอลต่อไปอีก 3 ปี ทำให้รวมระยะเวลาที่ข้อมูลลูกหนี้ ปรากฏในฐานข้อมูลของเครดิตบูโรรวมทั้งสิ้น 8 ปี หลังจากนั้นจะลบประวัติออกไปตามหลักเกณฑ์ใหม่ต่อไป  อ่านมาถึงตรงนี้ สำหรับท่านที่ค้างชำระ ....ผมว่าท่านคงพอคิดออกนะครับ ว่าจะทำยังไงต่อไป
   ==>> แต่อย่างไรก็ตาม ธปท. หรือเครดิตบูโรบล็อกเอง ไม่ได้สนับสนุนให้เกิดการเบี้ยวหนี้ ไม่ชำระหนี้ หนีหนี้ แต่อย่างใดนะครับ 
   ส่วนกรณีลูกหนี้ที่เคยเป็นหนี้เอ็นพีแอล แต่ได้ชำระจนครบจำนวนแล้ว แต่ยังต้องมีการแสดงข้อมูลเคยเป็นหนี้ต่อไปอีก 3 ปี ซึ่งมีผลต่อการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์นั้น ในขณะนี้คณะกรรมการเครดิตบูโร กำลังพิจารณาว่าควรปรับลดเวลาลงหรือไม่ หรือจะยังไงต่อไป ถ้ามีรายละเอียดเพิ่มเติม เครดิตบูโรบล็อกจะแจ้งข่าวให้ทราบกันต่อไปครับ

  คำถาม  จะมีผลเมื่อใด
  คำตอบ  หลังจากลงในราชกิจจานุเบกษา

   นอกจากนั้น คณะกรรมการเครดิตบูโร ยังได้ออกประกาศกำหนดให้สหกรณ์และชุมนุมสหกรณ์ทุกประเภท เป็นสถาบันการเงินตามมาตรา 3 (9) แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 เพื่อให้สหกรณ์และชุมนุมสหกรณ์ทุกประเภท ซึ่งมีอยู่ด้วยกันในขณะนี้ 8,000 แห่ง ซึ่งมีลูกหนี้ทั้งสิ้นกว่า 11 ล้านราย สามารถเข้าเป็น สมาชิกข้อมูลเครดิตได้ แต่ในเบื้องต้นยังเป็นระบบสมัครใจก่อน โดย ธปท.และเครดิตบูโร จะไปชี้แจงทำความเข้าใจกับสหกรณ์แต่ละรายถึงผลดี ผลเสียและการส่งข้อมูลมาในระบบ  ขอบคุณสำหรับการติดตาม...เครดิตบูโรบล็อก
 http://clearbl-creditbureaus.blogspot.com/

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2559

แนะนำรวมหนี้ ที่บริษัท รีโซลูชั่น เวย์ จำกัด

ทางออกของคนเป็นหนี้แล้วไม่รู้จะหาแหล่งรวมหนี้ได้ที่ไหนที่นี่เลยคับ


บริษัท รีโซลูชั่น เวย์ จำกัด ให้บริการสินเชื่อสำหรับผู้ที่ประสบปัญหาทางการเงินจากภาระหนี้สิน

บริษัทฯจะช่วยบริหารจัดการหนี้สินของลูกค้า ให้สามารถชำระหนี้อย่างสบายใจและหมดภาระหนี้สิน

ในระยะเวลาที่แน่นอนด้วยแผนการชำระหนี้สินใหม่ พร้อมลดต้นลดดอก

สนใจติดต่อเราทันที โทร. 02-575-1949  Fax. 02-575-1951

Email : contact@rway.co.th


คุณสมบัติของผู้สมัคร/ผู้ค้ำ/ผู้กู้ร่วม    

- มีหนี้มากกว่า 1 สัญญาและเป็นหนี้ที่ผิดสัญญา หรือถูกยกเลิกสัญญาแล้ว

- สามารถหาบุคคลค้ำประกันได้ กรณีวงเงินกู้สูง
* ทางบริษัทรีโซลูชั่น เวย์ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาหนี้ปกติ

เอกสารประกอบการพิจารณา    

- สำเนาใบแจ้งหนี้ หรือ สำเนาหนังสือทวงหนี้

- สำเนาคำฟ้อง หรือสำเนาหมายศาล หรือเอกสารการเป็นหนี้อย่างอื่น

- สำเนาบัตรประชาชน/สำเนาทะเบียนบ้าน

- สำเนาบัญชีธนาคารนับจากปัจจุบัน ย้อนหลัง 1-3 เดือน

- เอกสารประกอบแหล่งที่มาของรายได้ (เป็นเอกสารแบบใดก็ได้)

ที่มา http://www.rway.co.th/

การเอาตัวรอดจากการเป็นหนี้ส่วนบุคคลและบัตรเครดิต

ประเมินสถานการณ์ทางการเงินของคุณ
1) ตรวจสอบทรัพย์สินของคุณ
ขั้นตอนแรกในการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเงินเพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนของสถานการณ์ทางการเงินของคุณทั้งหมด เริ่มต้นด้วยการมองหาที่สินทรัพย์ของคุณซึ่งสามารถกำหนดเป็นเพียงสิ่งที่คุณเป็นเจ้าของ สินทรัพย์ที่เป็นที่มาของความแข็งแกร่งทางการเงิน พวกเขามักจะมีค่าใด ๆ ที่คุณมีในบ้านของคุณเงินสดในการตรวจสอบหรือบัญชีออมทรัพย์มูลค่าใด ๆ ที่คุณมีในรถและเงินใด ๆ ในการเกษียณอายุหรือการลงทุนบัญชี

    สินทรัพย์ยังสามารถรวมของมีค่าอื่น ๆ ที่อาจจะเป็นเงินที่คุ้มค่าเช่นเครื่องประดับ, ของสะสม พิจารณาทรัพย์สินที่มีค่าของคุณเพื่อให้ผู้ประเมินราคาหรือการวิจัยพวกเขาออนไลน์เพื่อให้คุณสามารถรู้ว่าทรัพย์สินของคุณมีความคุ้มค่าจริงๆ วิธีการที่ถ้าคุณตัดสินใจที่จะขายพวกเขาคุณจะรู้ว่าถ้าคุณได้รับการจัดการที่ดี
    สร้างคอลัมน์บนแผ่นกระดาษที่แสดงรายการสินทรัพย์เหล่านี้และค่านิยมของพวกเขา ที่ด้านล่างรวมถึงค่าที่จะตรวจสอบสิ่งที่มูลค่ารวมของสินทรัพย์ของคุณคือ
    สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่วิธีการที่จะทำให้รายการของสินทรัพย์ส่วนบุคคล

2)ตรวจสอบหนี้สินของคุณ
หนี้สินหมายถึงหนี้ของคุณหรืออื่น ๆ อีกมากมายเพียงแค่ "สิ่งที่คุณเป็นหนี้" พวกเขาอยู่ตรงข้ามของสินทรัพย์ หนี้สินรวมหนี้บัตรเครดิตวงเงินสินเชื่อ, จำนอง, ค่าใช้จ่ายที่ค้างชำระเงินกู้ยืมของนักเรียนและสินเชื่อรถยนต์ของคุณ

    โดยใช้ชิ้นเดียวกันของกระดาษที่คุณใช้สำหรับรายชื่อของสินทรัพย์ที่สร้างคอลัมน์ที่แสดงรายการหนี้สินทั้งหมดของคุณและค่าของพวกเขา ที่ด้านล่างของคอลัมน์รวมผลรวมของหนี้สินรวมของคุณ

3)การคำนวณมูลค่าสุทธิของคุณ 
มูลค่าสุทธิของคุณเป็นเพียงสินทรัพย์รวมของคุณหักด้วยหนี้สินของคุณ นี่คือตัวเลขที่แสดงถึงวิธีการที่เหลือถ้าคุณมีการขายสินทรัพย์ทั้งหมดของคุณที่จะชำระหนี้ของคุณและเป็นตัวเลขที่ดีที่จะอธิบายถึงสถานการณ์ทางการเงินในปัจจุบันของคุณ

    ตัวอย่างเช่นถ้าคุณมี  10,000 ในสินทรัพย์ (อาจจะในส่วนของบนรถของคุณ) และ  50,000 ในรูปแบบต่างๆของหนี้ถ้าคุณจะขายรถของคุณและใช้เงินเพื่อการชำระหนี้ลดลงของคุณคุณจะมี  40,000 ในตราสารหนี้ ดังนั้นมูลค่าสุทธิของคุณจะเป็น -  40,000
    รู้มูลค่าสุทธิของคุณจะช่วยให้คุณเข้าใจตัวเลือก ยกตัวอย่างเช่นมันอาจจำเป็นต้องขายสินทรัพย์เพื่อตอบสนองความเจ้าหนี้ถ้าคุณอยู่ในตราสารหนี้หรือเงินฝากออมทรัพย์ที่จะใช้สะสมเพื่อจุดประสงค์เดียวกัน โดยปกติแล้วสินทรัพย์ใด ๆ ที่ไม่แน่นอนเป็นหลักอาจจะขายเพื่อตอบสนองความจำเป็นหนี้ ยกตัวอย่างเช่นการขายรถเพื่อชำระบัตรเครดิตสามารถปรับปรุงการจัดอันดับเครดิตของคุณลดการชำระหนี้ของคุณทุกเดือนและได้รับเจ้าหนี้ปิดหลังของคุณ
    แม้ในระหว่างการดำเนินการล้มละลายเจ้าหนี้และศาลอาจเรียกร้องให้คุณขายสินทรัพย์ที่ไม่จำเป็นบางอย่างก่อนที่หนี้สินของคุณสามารถตัดสิน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ดีที่สุดที่จะขายออกสินทรัพย์เหล่านี้ก่อน.

4)ตรวจสอบรายได้ของคุณ 
เมื่อคุณรู้ว่ามูลค่าสุทธิของคุณก็คือตอนนี้จำเป็นที่จะต้องมองไปที่รายได้และค่าใช้จ่ายของคุณ รู้ว่าสิ่งเหล่านี้จะสามารถช่วยคุณตรวจสอบหรือไม่ว่ามูลค่าสุทธิของคุณมีการหดตัวหรือการเจริญเติบโตและมีผลกระทบต่อเส้นทางของการกู้คืน รายได้ค่อนข้างง่ายในการคำนวณโดยเพิ่มด้วยกันแหล่งที่มาของรายได้ใด ๆ และทั้งหมด สำหรับคนส่วนใหญ่นี้จะเป็นค่าจ้างของพวกเขาจากการทำงานและการชำระเงินใด ๆ ของรัฐบาลตามปกติ (เช่นการรักษาความปลอดภัยทางสังคมหรือรูปแบบอื่น ๆ ของความช่วยเหลือ)

    อย่าลืมใส่หักเงินอัตโนมัติที่จำเป็นเพื่อให้ตัวเลขรายได้ของคุณแสดงให้เห็นถึงวิธีการที่เงินสดมากคุณจริงต้องพร้อมที่จะใช้ การหักภาษีใด ๆ รวมถึงการประกันหรือเงินถือไว้จาก paycheck ของคุณ

5)ตรวจสอบค่าใช้จ่ายของคุณ
 เพื่อที่จะบรรเทาวิกฤตทางการเงินของคุณคุณจะต้องมีความคิดที่ดีเกี่ยวกับการที่และวิธีการที่คุณจะใช้จ่ายเงินของคุณ วิธีที่ดีที่สุดในการกำหนดเท่าใดเงินที่คุณมีการใช้จ่ายคือการทบทวนงบบัญชีธนาคารของคุณจากสองเดือนที่ผ่านมา ทำให้รายการของเท่าใดเงินที่คุณใช้จ่ายเกี่ยวกับสาธารณูปโภค, อาหาร, ที่อยู่อาศัย, แก๊ส, เครื่องแต่งกายและความบันเทิง เมื่อคุณรู้ว่าเงินของคุณไปคุณสามารถทำการปรับเปลี่ยนมุ่งสู่การลดลงของจำนวนเงินที่คุณใช้จ่ายเพื่อที่คุณจะได้รับกลับมาที่เท้าของคุณ.

6)ตรวจสอบรายได้สุทธิรายเดือนของคุณ 
หากคุณลบค่าใช้จ่ายจากรายได้ของคุณจำนวนเกิดเป็นรายได้สุทธิของคุณ นี้แสดงให้เห็นว่าคุณได้ที่เหลือในตอนท้ายของเดือน ถ้าจำนวนนี้เป็นลบก็เป็นสัญญาณว่าการลดค่าใช้จ่ายของคุณจะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญของแผนโดยรวมของคุณเพื่อเรียกคืนทางการเงินของคุณเป็นอยู่ที่ดี

    แต่ถ้ารายได้สุทธิรายเดือนของคุณเป็นลบเพราะคุณจะได้รับจำนวนเงินที่มีขนาดเล็กมากของรายได้ในแต่ละเดือนก็จำเป็นมากขึ้นในการเพิ่มรายได้ของคุณมากกว่าที่ตัดค่าใช้จ่ายของคุณ

7)การประเมินผลกระทบของสถานการณ์ของคุณ
เพื่อที่จะกระตุ้นให้ตัวเองจะได้รับจากวิกฤตการณ์ทางการเงินนี้คุณจะต้องเตือนตัวเองว่าทำไมคุณต้องการที่จะปรับปรุงสถานการณ์ของคุณ ในคำอื่น ๆ สิ่งที่คุณจะไม่สามารถที่จะทำเพราะสถานการณ์ในปัจจุบันของคุณหรือไม่ เป็นจริงเกี่ยวกับเป้าหมายในชีวิตของคุณและคำนวณค่าใช้จ่ายในการบรรลุเป้าหมายเหล่านั้น คิดเกี่ยวกับวิธีเพียงแค่นั่งอยู่หลังและทรุดตัวลงนั่งสถานการณ์ทางการเงินใหม่ของคุณจะทำร้ายคุณและคนรอบข้างคุณในระยะยาว

    ตัวอย่างเช่นถ้าคุณมีเด็กและต้องการที่จะวันหนึ่งให้พวกเขามีโอกาสที่จะไปเรียนที่วิทยาลัยคิดเกี่ยวกับวิธีการที่คุณจะไม่สามารถทำเช่นนั้นจนกว่าคุณจะหันไปรอบ ๆ สถานการณ์ปัจจุบันของคุณ

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

บทสรุปการแก้ปัญหาหนี้

วิธีแก้ไขปัญหาหนี้
หลักการเบื้องต้นคือ

"จะต้องหยุดหมุนเงิน หยุดหาหนี้ใหม่มาจ่ายหนี้เก่าโดยเด็ดขาด"และ
"จะต้องอยู่ให้ได้ด้วยเงินเดือนตัวเอง"

เงินเดือนเท่าไหร่ ก็ใช้จ่ายให้พอตลอดทั้งเดือน
ถ้ามีรายได้พิเศษก็ให้เก็บเป็นเงินสำรอง อย่าเอามารวมกับเงินเดือน
เพราะมันได้ไม่แน่ไม่นอน ถ้าเงินพิเศษ/โอที หายไป คราวนี้จะอยู่ไม่ได้กันจริงๆ

ปัญหาการเงิน ที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน
ส่วนใหญ่จะมาจากรายได้ลดลง แต่รายจ่ายเท่าเดิม
ทำให้ต้องพยายามหมุนเงิน หาเงิน(กู้)จากที่อื่น เพื่อให้พอกับรายจ่าย
ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง
เพราะมันยิ่งทำให้ระบบการเงินแย่ลง และจะกลายเป็นคนที่มีหนี้สินมากขึ้น มากขึ้นเรื่อยๆ
สิ่งที่ต้องทำมี 3 ข้อ คือ

1) จัดสรรรายได้
ทำตารางรายรับรายจ่ายของตนเองตลอดเดือน
ว่าเงินเดือนพอใช้หรือไม่ ตลอดเดือนต้องใช้อะไรบ้าง
เช่น มีค่าใช้จ่ายในครอบครัว ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าผ่อนชำระหนี้สินต่างๆ
เมื่อทำเสร็จแล้วก็ดูว่าทั้งเดือนใช้เท่าไหร่ เหลือเก็บออมหรือไม่ ติดลบหรือไม่
ถ้าไม่ทำตารางรายรับรายจ่ายก่อน
จะไม่รู้เลยว่าการเงินของเราเป็นอย่างไร
และควรจะเลือกวิธีใดในการแก้ปัญหาหนี้สิน

2.สำรวจดูภาระหนี้สินของตนเอง
ว่ามีอะไรบ้าง ทำตารางแบ่งแยกประเภทหนี้-จำนวนหนี้
แยกประเภทหนี้เป็นกลุ่มธนาคาร นอนแบงก์ หนี้นอกระบบ
จดรายละเอียดเกี่ยวกับหนี้ให้ครบ เรียงลำดับหนี้จากน้อยไปหามาก
เอาไว้ดูเวลาจะชำระหนี้สิน

3. ศึกษาวิธีแก้ไขปัญหาหนี้ให้เข้าใจ แล้วก็เลือกใช้วิธีที่เหมาะกับตนเอง
วิธีแก้ไขปัญหาหนี้สินมี 3 วิธี
3.1
firstway out
การจ่ายขั้นต่ำเพื่อรักษาบัญชีและเครดิต
3.2 secondway out
การหยุดจ่ายทุกบัญชี เก็บเงินรอแฮร์คัต เจรจาชำระหนี้ครั้งเดียวเพื่อปิดบัญชีหนี้
3.3 thirdway out
การรวมหนี้หลายที่ไว้ที่เดียวกัน แล้วชำระที่เดียว
(3.3เป็นวิธีที่ไม่อยากให้ใช้ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ เพราะมันเป็นวิธีที่ทำให้หนี้กลายเป็นหนี้ก้อนใหญ่ซึ่งมีหลักทรัพย์ค้ำประกันและใช้เวลาในการชำระหนี้นานขึ้น)

เวลาเลือกวิธีแก้ปัญหาหนี้อาจใช้หลายวิธีได้รวมกันก็ได้

วิธีที่ 1 FIRSTWAY OUT

การจ่ายขั้นต่ำ(อาจจะมากกว่าขั้นต่ำ)ตามปกติ
ถ้าคุณ มีหนี้2-3 บัญชี หนี้ไม่เยอะ
ก็อาจจะใช้วิธีจ่ายขั้นต่ำตามใบเรียกเก็บเงิน
หรือจ่ายให้มากกว่าขั้นต่ำสักเล็กน้อย
แล้วอย่าใช้บัตรนั้นไปรูดซื้อสินค้าหรือกดเงินสดออกมาใช้อีก
เอาบัตรออกจากกระเป๋าไปเลยไม่ต้องใช้มันอีก
วิธีนี้หนี้ก็หมดเช่นกัน รักษาเครดิตได้ แต่ใช้เวลานานหน่อย
แต่ขอย้ำจ่ายแล้วห้ามกดออกมาใช้อีกเป็นเด็ดขาด
เพราะถ้าทำแบบนั้นหนี้ไม่หมดแน่นอน มีแต่จะเพิ่มมากขึ้น

หากใครทำบัญชีรายรับรายจ่ายแล้วไม่ติดลบก็สามารถใช้วิธีนี้ได้

เช่น
เงินเดือน 8000
จ่ายค่าเช่าบ้าน 2500+ค่าอาหาร 2500+
ค่าใช้จ่ายจิปาถะ 1000+ค่าบัตรเครดิต 1500
รวมรายจ่ายทั้งหมด 7500
(8000-7500 เหลือเก็บออม 500)

*เหมาะจะใช้วิธีที่ 1 จ่ายขั้นต่ำไปตามปกติ
เงินพิเศษ/โอทีถ้ามี ก็ฝากออมทรัพย์ไว้เผื่อฉุกเฉิน อย่าเอามาคิดรวมกับเงินเดือน
วิธีที่ 2 SECONDWAY OUT

การหยุดจ่ายทุกบัญชี เก็บเงินรอแฮร์คัต เจรจาชำระหนี้ครั้งเดียวเพื่อปิดบัญชีหนี้
เป็นการหยุดจ่ายชั่วคราว
ไม่ใช่ให้หยุดตลอดหรือหนีหนี้ไปเลย หากต้องการหนีหนี้ก็หนีไปเลยแล้วกัน 20 ปี

แต่ถ้าคุณเลือกใช้วิธีที่ถูกต้อง 3-5 ปี หนี้ก็หมดแล้ว
ลูกหนี้ต้องมีความรับผิดชอบในการชำระหนี้ที่ตัวเองก่อไว้ด้วย

--------------------------------------

การใช้วิธีนี้เป็นการหยุดจ่ายทุกบัญชี
(ยกเว้นรายการที่เป็นหนี้แบงก์ที่ใช้จ่ายเงินเดือนให้ กับ หนี้กองทุน ก.ย.ศ)
เพื่อตั้งหลักให้ตนเองจัดสรรรายรับรายจ่ายให้บัญชีเงินเดือนไม่ติดลบเก็บเงินได้
และพร้อมเมื่อใดก็ติดต่อไปยังเจ้าหนี้เพื่อเจรจาเรื่องยอดหนี้ที่ต้องชำระ
วิธีนี้เหมาะกับคนที่มีหนี้เยอะมากๆ เรียกได้ว่าหมุนจ่ายจนหนี้ท่วมตัว
ยอดการจ่ายหนี้ในแต่ละเดือนเกินรายได้ที่มีหรือสูงเป็นเท่าตัวของรายได้ที่มีอยู่
เช่น
เงินเดือน 8000 จ่ายค่าเช่าบ้าน 2500 ค่าอาหาร 2500 ค่าจิปาถะ 1500
จ่ายบัตรเครดิต 1000 จ่ายสินเชื่อ 1500 ผ่อนรถ 8000
รวมค่าใช้จ่าย 17000 (8000-17000 ติดลบ 9000 บาท ต่อเดือน)
ควรใช้ SECONDWAY OUT


----------------------------------

ใครเลือกใช้วิธีที่ 2
ก็ต้องเตรียมตัวเองให้พร้อมรับกับทุกเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น ดังนี้


1.หยุดจ่ายหนี้ต้องหยุดทุกรายการและหยุดตลอด อย่าหยุดบางแบงก์จ่ายบางแบงก์
(ยกเว้นรายการที่เป็นหนี้แบงก์ที่ใช้จ่ายเงินเดือนให้ กับ หนี้กองทุน ก.ย.ศ)
และอย่าหยุดบ้างจ่ายบ้าง เพราะจะเก็บเงินก้อนไม่ได้ ไม่มีประโยชน์เลย และนับอายุความไม่ได้ด้วย

2.ต้องบอกครอบครัวให้รู้ จะได้ไม่ตกใจ รู้ว่าเรากำลังจะทำอะไร ผลจะเป็นอย่างไร และเป็นการระวังไม่ให้มีใครไปหลอกเอาเงินจากทางครอบครัวของลูกหนี้ได้ด้วย

3.ต้องบอกที่ทำงาน( หัวหน้างาน ฝ่ายบุคคล คนที่ทำงานเกี่ยวข้องประสานงาน เพื่อน คนที่อาจถูกรบกวนจากการตามทวงหนี้ที่ไม่มีมารยาท คนที่อ้างชื่อไว้ในสมัคร) ให้รับรู้ไว้ บอกให้รู้ว่าเราจะทำอะไร และจะเกิดอะไรบ้างระหว่างที่เราหยุดรอจ่ายปิดหนี้ที่ละบัญชี ห้ามอาย/ไม่อยากให้คนรู้เรื่อง เพราะยังไงๆ ที่ทำงานต้องรู้เรื่องแน่ ให้รู้จากเราไปเลยว่าเราจะทำอะไร อย่าให้เขารู้แต่ว่าเราถูกทวงหนี้ ให้เขารู้ว่าเราจะจ่ายทีเดียวปิดบัญชีหนี้ไปเลย ไม่จ่ายทีละนิดแล้วหนี้ไม่หมดสักที ให้ที่ทำงานรู้ว่าเราจะทำอะไรและผลจะเป็นอย่างไรเลยดีกว่า แล้วก็ต้องรู้จักขอโทษและขอบคุณเพื่อนร่วมงานตามความเหมาะสม

4.จัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายใหม่เพื่อดูว่าเมื่อเราหยุดจ่ายหนี้ทุกอย่างแล้ว เราเหลือเงินเท่าไหร่ เก็บออมไว้ ห้ามใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เช่น เงินเดือน 15000 บาท ใช้จ่ายตลอดเดือน 10000 เหลือ 5000 ก็แยกเก็บไว้สัก สองบัญชี บัญชีจ่ายหนี้ 3500 และบัญชีสำรองเผื่อฉุกเฉิน 1500 อันนี้เป็นแค่ตัวอย่างเท่านั้นแต่ละคนจะเก็บได้มากได้น้อยแล้วภาระครอบครัว สำหรับบัญชีจ่ายหนี้พอเก็บได้เป็นเงินก้อนใหญ่ก็ลองเจรจาแฮร์คัทดู ส่วนบัญชีสำรองเก็บไว้เผื่อกรณีฉุกเฉินในครอบครัว พยายามหารายได้พิเศษเพิ่ม

5. หาความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้ต่างๆ ศึกษาให้เข้าใจจริงๆ นำไปใช้ให้ได้ และ เมื่อรู้แล้วจะได้ไม่ต้องกลัวรูปแบบการทวงหนี้และการข่มขู่ต่างๆ ที่มีสารพัดรูปแบบ

---------------------------------------------
สิ่งที่ต้องเจอแน่ๆเมื่อเลือกใช้วิธีนี้คือการโดนทวงหนี้ กับการเสียเครดิต
----------------------------------

ถ้าโดนทวงหนี้ก็รับมือไปตามเหตุการณ์
จะใช้วิธีการนิ่งๆเฉยๆ หรือโต้กลับแบบแรงๆก็แล้วแต่
ขอให้ตั้งสติไว้ว่า เราจะจ่ายเมื่อเราพร้อม เราจะไม่จ่ายให้คนที่ด่าหรือประจานเราเด็ดขาด
สามารถศึกษาวิธีรับมือพวกทวงหนี้ได้จากกระทู้นี้


------------------------------------------------

ส่วนการเสียเครดิตก็ไม่ต้องไปสนใจมันมาก
ถึงคุณจ่ายขั้นต่ำตามปกติ แต่ถ้าคุณมีหนี้หลายบัญชีก็เป็นการติดแบล็คลิสต์เหมือนกัน
คุณหยุดจ่ายวันนี้ วันใดที่คุณชำระหนี้หมดแล้วเก็บเงินรอเวลาสักนิด
เมื่อข้อมูลหายไปจากเครดิตบูโรเมื่อใด
คุณก็ทำธุรกรรมกับแบงก์(ที่คุณไม่เคยมีหนี้ค้างชำระ)ได้ตามเดิม
ถ้าวันนี้ยังไม่ดีไม่มีกินแล้วอนาคตมันจะดีได้ยังไง
คุณต้องทำวันนี้ให้ดีให้หมดหนี้ก่อนแล้วสิ่งดีๆในอนาคตมันจะมาเอง

-----------------------------------------------

การเจรจาขอชำระหนี้เพื่อปิดบัญชีหนี้ก็ทำได้ทุกระยะเมื่อคุณพร้อม/มีเงินพอ
(ส่วนใหญ่ต้องรอให้หนี้เน่าสัก 6 เดือนก่อน ถึงจะเจรจาขอลดยอดหนี้ได้)
ระหว่างที่หยุดอาจถูกชวนทำประนอมหนี้หรือปรับโครงสร้างหนี้ไม่ต้องไปทำเก็บเงินไว้กับตัวดีกว่า
รอเจรจาแล้วจ่ายครั้งเดียวหมดหนี้ดีกว่า


-----------------------------------------------

เมื่อเลือกใช้วิธีนี้แล้วต้องพยายามเก็บเงินให้ได้มากที่สุดจะได้หมดหนี้เร็วๆ
หากหยุดแล้วยังเก็บเงินไม่ได้อีกแสดงว่าคุณยังมีรายจ่ายฟุ่มเฟือยต้องลดมันให้ได้
(ทำบัญชีรายรับรายจ่ายแล้วถึงจะเห็นรายจ่ายที่เกินความจำเป็น)

หากเลือกใช้วิธีนี้แล้วยังไม่ประหยัดเก็บออมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงินอีก
- คราวนี้ก็ไม่มีใครช่วยคุณได้


ถ้าเก็บเงินไม่ได้จริงๆ
ลองดูวิธีลดค่าใช้จ่าย เผื่อจะเป็นแรงบันดาลใจช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายและเก็บเงินได้บ้าง



-----------------------------------------------

การเจรจาแฮร์คัต - การขอส่วนลด
ไม่จำเป็นต้องได้ส่วนลดเท่ากันทุกคน ขึ้นอยู่กับว่าคุณต่อรองได้มากน้อยแค่ไหน
ถ้าคุณพอใจก็ตกลงไปเถอะจะได้หมดหนี้เป็นรายๆไป
แต่คุณไม่ควรจ่ายมากกว่ายอดหนี้ที่คุณเริ่มหยุดจ่ายเด็ดขาด
และระหว่างเจรจาไม่ต้องส่งเอกสารให้ฝ่ายเจ้าหนี้ ห้ามจ่ายเงินเข้าไปก่อนเด็ดขาด
รอจนได้เอกสารยืนยันว่าจ่ายเท่านี้ภายในวันที่เท่านี้แล้วเป็นอันว่าหมดภาระหนี้สิน
มีลายเซ็นผู้รับมอบอำนาจครบถ้วน ค่อยจ่ายเงินเข้าบัญชีหนี้ของเราไป ห้ามจ่ายเข้าบัญชีอื่นเด็ดขาด

----------------------------------

สามารถเลือกใช้วิธีนี้คู่กับ FIRSTWAY OUT ก็ได้
โดยชำระขั้นต่ำหนี้ที่มีกับแบงก์ที่ใช้จ่ายเงินเดือน และ หนี้ กองทุน กยศ.
ส่วนหนี้ที่เหลือก็ใช้วิธี SECONDWAY OUT
วิธีที่ 3 THIRDWAY OUT

วิธีการนี้คือการรวมหนี้หลายแห่งให้เป็นหนี้ที่เดียว
เช่นมีหนี้บัตรเครดิต 10 รายการ จ่ายไม่ไหว
ก็เอาที่ไปจำนองแล้วเอาเอาเงินที่ได้มาไปจ่ายหนี้เก่าที่มีอยู่ทั้งหมด
แล้วตั้งหน้าตั้งตาจ่ายหนี้ที่จำนองที่ไว้ที่เดียว

เป็นวิธีที่ไม่อยากให้ใช้ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ
เพราะมันเป็นแค่การย้ายเจ้าหนี้
และเสี่ยงกับการเสียทรัพย์สินที่มีอยู่มากๆ
ควรจะยึดหลักที่ว่า
อย่าหาหนี้ใหม่มาจ่ายหนี้เก่า
ให้ใช้รายได้จริงๆของตนเองในการสะสางปัญหาหนี้สินจะดีกว่า หมดหนี้แน่นอน


วิธีการนี้มีทั้งข้อดี และ ข้อเสีย(ซึ่งมากกว่าข้อดี)
ข้อดี คือ คุณไม่เสียเครดิต ไม่ต้องเครียดกับการทวงหนี้
แต่ข้อเสีย คือ คุณมีหนี้เพิ่มขึ้น
หนี้ 10 ที่ซึ่งมีดอกเบี้ยค่าธรรมเนียมค่าปรับที่ลูกหนี้ควรได้ส่วนลด
รวมเป็นหนี้ที่เดียวแล้วคิดดอกเบี้ยอีกที จ่ายนานมากกว่าจะหมดหนี้

การใช้วิธีนี้ให้ได้ผลดีที่สุดคือใช้ควบคู่กับ secondway out
คือหยุดจ่ายรอเจรจาขอลดยอดหนี้ก่อน
แล้วค่อยเอาเงินที่ได้มาจากการจำนองไปจ่ายหนี้

(จริงๆแล้ว หยุดเก็บตังค์ได้เองโดยที่ไม่ต้องไปจำนองหนี้ด้วยซ้ำ)


การไปกู้เงินที่ใหม่หากได้เงินมาไม่พอจ่าย หนี้เก่าให้หมดภายในครั้งเดียวแล้ว "ก็ไม่ควรทำ" เพราะจะกลายเป็นว่าหนี้เก่าไม่หมด แล้วยังมีหนี้ใหม่เพิ่มมาอีก 1 รายการ

การไปกู้เงินเป็นกลุ่มแล้วค้ำประกันให้กันก็ไม่ควรทำเพราะเท่ากับว่าเราต้อง รับผิดชอบทั้งหนี้ในส่วนของเราและหนี้ของคนอื่นด้วย(เหมือนเอาเชือกมาผูกคอ ตัวเองไว้ จะถูกรัดคอตายวันไหนก็ไม่รู้)


สิ่งที่ไม่ควรทำมากที่สุดคือได้เงินก้อนมา แล้วเอาไปจ่ายขั้นต่ำบัญชีหนี้เดิมทุกบัญชีเพื่อรักษาเครดิต การทำแบบนี้จะหมุนเงินได้ไม่นานนัก แล้วก็จะกลายเป็นว่าหนี้เก่าไม่หมดแล้วยังมีหนี้ใหม่เพิ่มมาอีก 1 รายการ แถมเป็นหนี้ก้อนใหญ่ด้วย
การแฮร์คัท

ขยายความเรื่องการแฮร์คัต
การ hair cut สามารถทำได้ตลอดเวลาเมื่อลูกหนี้พร้อม
เมื่อมีเงินมากพอจะจ่ายหนี้
เราสามารถโทรไปเจรจาขอจ่ายหนี้แบบก้อนเดียวปิดบัญชีได้
เราไม่จำเป็นต้องบอกว่าเรามีเงินอยู่เท่าไหร่
แต่เราถามได้ว่าถ้าจะจะจ่ายทีเดียวเพื่อปิดบัญชีหนี้จะให้จ่ายเท่าไหร่
จะลดให้เท่าไหร่ พยายามต่อรองให้ลดได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
หากไม่ยอมลดเลย ก็ปล่อย ไปจ่ายรายที่ลดให้สูงสุดก่อน

--------------------------------------

มีคำถามถามเสมอว่าจะขอแฮร์คัทได้มากที่สุดเท่าไหร่

อันนี้ก็ขอบอกว่าขึ้นอยู่กับการเจรจาของแต่ละคน ระยะเวลาในการหยุด และอายุความ ฯลฯ
ไม่มีกฎเกณฑ์อะไรตายตัว ไม่มีมาตรฐาน
ว่าจะได้ลด 30% 20% 50% 40% มันขึ้นอยู่ที่มูลหนี้ อยู่ที่เทคนิคการพูด
อยู่ที่ความใจดีของแบงค์แต่ละแห่ง..ซึ่งไม่เท่ากัน

หากคุณคิดว่าคุณพอใจกับส่วนลดนั้นแล้วก็ตกลงไปเถอะ
อย่าไปเปรียบกับคนอื่นว่าได้มากหรือน้อยกว่าคุณเลย
แค่คุณจ่ายไม่เกินยอดหนี้ที่คุณจ่ายครั้งสุดท้ายก็พอแล้ว
เช่นตอนหยุดจ่าย หนี้ 10,000 บาท หยุดไป 1 ปี หนี้เพิ่มเป็น 15,000
คุณก็ตั้งต้นเจรจาขอส่วนลดจากยอด 10,000
พยายามขอส่วนลดให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะต่อรองได้
และคุณจะต้องไม่จ่ายเกิน 10,000 บาท

--------------------------------------

การ hair cut มีทั้งจ่ายครั้งเดียว หรือ จ่าย 2 งวด 3 งวด อยู่ที่การเจรจาทั้งหมด
ทุกอย่างอยู่ที่ความพอใจ ทั้ง 2 ฝ่าย
ก่อนจ่ายเงินปิดบัญชีต้องขอหนังสือยืนยันทุกครั้ง
โดยถ้ามาจากสำนักกฎหมายต้องมีหนังสือมอบอำนาจ
หรือ แสดงว่า แบงค์เจ้าของบัตรรับทราบเงื่อนไขแล้ว

--------------------------------------

ขอย้ำว่าที่สำคัญคือเมื่อเจรจาขอลดยอดหนี้ได้แล้ว
ลูกหนี้จะต้องได้เอกสารยืนยันการลดยอดหนี้จากสำนักงานกฎหมายที่เราคุยด้วยก่อน
ในเอกสารจะต้องมีข้อความบอกว่าเมื่อจ่ายแล้วเป็นว่าหมดหนี้
เมื่อได้รับเอกสารแล้วจะต้องมีการโทรสอบถามข้อมูลจากธนาคารก่อนว่าลดหนี้ให้จริง
จากนั้นค่อยจ่ายเงินไป และเมื่อจ่ายแล้วให้เก็บเอกสารการลดยอดหนี้ใบจ่ายเงินไว้
จนเราจะได้เอกสารยืนยันจากแบงก์ว่าหมดหนี้แล้วจริงๆ

-----------------------------------------

*** และหากมีการบอกให้จ่ายก่อน 500 บ้าง 1000 บ้าง แล้วจะดำเนินการให้
ก็อย่าได้ทำเป็นเด็ดขาด เพราะอาจเป็นหลอกให้จ่ายทั้งๆที่ไม่มีการลดหนี้ให้จริงๆ
รอไปจ่ายทีเดียวตอนได้รับเอกสารเลยดีกว่า


*** และตอนเจรจาไม่จำเป็นต้องแฟกซ์หรือส่งอะไรไปให้เจ้าหนี้ทั้งนั้น