บทความที่ได้รับความนิยม

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ขั้นที่ 4 แนวทางรับมือการโดนทวงหนี้โหดช่วง 1-2 เดือนแรก - ขอบเขตระหว่างลูกหนี้ & เจ้าหนี้

1. ต้องทำยังไงให้จิตใจเข้มแข็งไม่มีอะไร ยากหากเราคิดจะทำทลายกำแพงความกลัวในจิตใจลงเสียก่อนเอาง่ายๆ แค่คุณรู้ว่า ที่คนทวงหนี้โทรมาขู่คุณน่ะ จริงๆมันก็กลัวติดคุกเป็นเหมือนกัน และขอให้คุณแม่นในเรื่องของสิทธิของลูกหนี้และขอบเขตการทวงก็พอแล้ว เพราะส่วนใหญ่เป็นการขู่ เช่น จะส่งคนมาหาที่บ้าน จะทำอย่างนั้น อย่างนี้ เอาเข้าจริงๆ ส่วนใหญ่ไม่เห็นมีมา ถึงมาก็แค่มาแบบธรรมดา หรือเป็นคนส่งเอกสารเท่านั้น เป็นต้น

2. จำเอาไว้ให้ดีๆ บ้านหรือที่ทำงานของคุณเป็นพื้นที่ส่วนตัวที่ใครจะรุกล้ำเข้าไปมิได้หากคุณไม่อนุญาต

3. ใครบอกคุณว่าจะส่งคนไปหาที่บ้าน, ที่ทำงานก็ปล่อยให้ไปแต่ไม่ต้องให้พบ แต่ถ้าดึงดันเข้าไปจนได้
แจ้งตำรวจจับข้อหาบุกรุก

4. หรือคุณอนุญาตให้เข้าพบแต่ดันพูดจาสุนัขไม่รับประทานออกแนวข่มขู่, ปะนามหยามเหยียดคุณก้าวร้าว เสียดสี เยาะเย้ยถากถาง
แจ้งความข้อหาขู่กรรโชกทำให้ตกใจกลัวดูหมิ่นซึ่งหน้า

5. ใครโทรหาแจ้งว่าจะอายัดเงินเดือน จะยึดทรัพย์จะเอาตำรวจมาจับหรือจะมาจับเลย
แจ้งตำรวจข้อหาล่วงละเมิดอำนาจศาลแอบอ้างเป็นเจ้าพนักงานแล้วก็ข่มขู่ทำให้ตกใจกลัว

6. ใครโทรมาหาวันละหลายๆรอบ พูดไม่รู้เรื่อง โทรมาหาหลายๆๆคนในที่ทำงาน เพื่อประจานให้อับอาย
ทำหนังสือร้องเรียนถึงแบงค์ชาติ แบงค์เจ้าของบัตร จะมีจดหมายตอบกลับมาจากแบงค์ชาติภายใน 7 วัน และแบงค์ชาติจะไปไล่เบี้ยกับแบงค์ที่จ้างมาทวงหนี้ต่อไป

7. แจ้งความแล้วทำไงต่อ
ให้เอาสำเนาบันทึกประจำวันหรือใบแจ้งความที่ตำรวจให้คุณมาไปถ่ายเอกสาร แล้วทำหนังสือร้องเรียนขึ้น 1 ฉบับเล่าเรื่องราวที่คุณถูกกระทำ ถูกข่มขู่ให้ละเอียดจั่วหัวถึงสถาบันการเงินที่คุณเป็นหนี้อยู่ที่ไอ้หมาล่า เนื้อตัวนั้นมันบอกว่ามันทวงหนี้ให้แล้วลงท้ายจดหมายด้านล่างสุดว่าสำเนาส่ง
1.สำนักนายกรัฐมนตรี
2.ธนาคารแห่งประเทศไทย
3.สภาทนายความ
4.มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
แล้วส่งจดหมายร้องเรียนนั้นพร้อมสำเนาใบแจ้งความไปที่สถาบันการเงินที่คุณ เป็นหนี้อยู่สนง.กม.ที่หมาล่าเนื้อตัวนั้นสังกัดอยู่และสี่ที่ๆ ลงท้ายไว้ในจดหมายร้องเรียน
เพื่อป้องปรามไม่ให้เราถูกล้ำเส้นคุณมากไปกว่านี้

8. การถูกทวงหนี้แบบโหด-เลว-ชั่วที่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 323 ผู้ใดล่วงรู้ความลับของผู้อื่น แล้วเปิดเผยความลับนั้น โดยน่าจะเกิดความเสียหายแก้ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องจำคุก ไม่เกิน 6 เดือน ปรับ 1 พันหรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยทำให้เสียชื่อเสีย ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ผู้นั้นผิดฐานหมิ่นประมาท จำคุก 1 ปี ปรับ 2หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 328 ถ้าหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา กระจายเสียงทุกชนิด บันทึกเป็นอักษร จำคุก 2 ปี ปรับ 2แสนบาท

มาตรา 337 บัญญัติว่า ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ ยอมให้ หรือ ยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่า จะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือ ของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำผิดฐานกรรโชก มีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ถ้าความผิดฐานกรรโชกได้กระทำโดย
1. ขู่ว่าจะฆ่า ขู่ว่าจะทำร้ายร่างกายให้ผู้ถูกข่มขืนใจ หรือผู้อื่น ให้ได้รับอันตรายสาหัส หรือขู่ว่าจะทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ของผู้ถูกข่มขืนใจหรือผู้อื่น หรือ
2. มีอาวุธติดตัวมาขู่เข็ญ
ผู้กระทำต้องมีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท ....www.kodmhai.com
9. จากหลักกฎหมายข้างต้น นักทวงหนี้ที่ใช้พฤติกรรมตัวอย่างเช่น เขียนจดหมายข่มขู่ด้วยวาจาหยาบคายหรือเป็นเท็จ ทำร้ายร่างกาย ด่าทอ กักขัง ทำการรบกวนชีวิตประจำวัน เป็นต้น

หากกระทำต่อลูกหนี้หรือสมาชิกในครอบครัว เพื่อน บรรดาผู้ถูกทวงหนี้มีอำนาจแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มคนเหล่านั้นได้ทันที ถ้ามีการทำร้ายบาดเจ็บหรือกักขังหน่วงเหนี่ยว พวกเขาต้องรับโทษอาญาฐานทำร้ายร่างกายหรือทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพอีกคดี หนึ่งด้วย

ส่วนการส่งคำเตือนเรื่องหนี้ด้วยวิธีก้าวร้าวหรือจงใจประจานทำให้เสื่อมเสีย ชื่อเสียงด้วยวิธีใดๆ อาจเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทก็ได้ กฎหมายคุ้มครองผู้สุจริตเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน

อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงด้วยคือ จิตสำนึกที่ดีของทั้งสองฝ่าย ยามเดือดร้อนขัดสนทางการเงิน ลูกหนี้ได้เงินมาผ่อนคลายปัญหาแล้ว จึงต้องมีความรับผิดชอบต่อหนี้ คือ พยายามผ่อนใช้หนี้เต็มที่และสุจริตใจ ส่วนเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิในการรับชำระหนี้คืน แต่ควรทำตามขั้นตอนของกฎหมาย มิใช่ทำละเมิดกฎหมายจนนำความเดือดร้อนมาสู่ตนเอง

เจ้าหนี้บางท่านคิดว่าให้นักทวงหนี้ไปจัดการแทนตนแล้วจักไม่มีโทษใดๆ อันเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะหากมีการสอบสวนเต็มที่แล้ว เจ้าหนี้อาจต้องรับโทษฐานเป็นตัวการหรือผู้ใช้จ้างวานก็ได้

ดังนั้น เจ้าหนี้และนักทวงหนี้ทั้งหลายต้องใช้สติก่อนทำงานและตระหนักใจด้วยว่า การมีหนี้ต้องชดใช้ แต่ต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย จึงได้รับความคุ้มครองเต็มที่ ส่วนลูกหนี้ต้องชดใช้หนี้สินที่ก่อขึ้น แต่ก็มีสิทธิปกป้องตัวเองในระดับหนึ่งซึ่งเจ้าหนี้ไม่มีอำนาจล่วงละเมิด สิทธิซึ่งกฎหมายคุ้มครองร่างกายและจิตใจของคนไทยทุกคนไว้โดยไม่จำกัดสถานะ ว่าเป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้

เมื่อลูกหนี้ไม่ยอมชดใช้หนี้เจ้าหนี้ ย่อมต้องรับโทษตามคำพิพากษาของศาลทางแพ่ง เท่านั้น

กฎหมายจักดูแลและคุ้มครองเจ้าหนี้ผู้สุจริตเต็มที่ การรู้จักความพอเพียงและเคารพกฎหมาย ย่อมทำให้เป็นเจ้าหนี้ที่น่าสรรเสริญและเป็นที่นับถือแก่คนรอบกาย อันถือเป็นการสร้างบารมีอย่างหนึ่งให้ตัวเองด้วย ดังนั้น เมื่อทราบสิทธิของลูกหนี้และเจ้าหนี้แล้ว จึงหวังว่าท่านจักกระทำทุกอย่างภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย
10. การทวงหนี้มีหลายรูปแบบ
- เจ้าหนี้ทวงหนี้เอง โดย สถาบันการเงิน
- จ้างบุคคลภายนอก/ สนง.กฎหมาย(ทนายความ)/สนง.ติดตามหนี้อย่างเดียว
- การข่มขู่จะฟ้อง
- นักเลง
- การใช้คำพูดหยาบคาย
- การเป็นหนี้ ผิดนัด 1-2 งวด จะให้พนักงานเป็นคนทวง โดยการโทรเข้ามือถือ, บ้าน, ที่ทำงาน การพูดจะสุภาพ ไม่ค่อยข่มขู่ แต่จะผลักดันให้ใช้หนี้ เช่น ถามว่าจะจ่ายเมื่อไหร่ ถ้าไม่จ่ายจะถูกตัดวงเงิน และยกเลิกบัตร เพื่อให้ลูกหนี้เป็นห่วงเรื่องการยกเลิกบัตร ก็จะรีบพยายามหาเงินมาชำระหนี้

หลังจากครบ 3 เดือนยังไม่ชำระหนี้ ก็จะส่งฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายหนี้เสีย และส่วนใหญ่จะใช้คนข้างใน และข้างนอก
สนง.ทวงหนี้ข้างนอกยังไม่ได้ค่าใช้จ่ายในการทวงหนี้ แต่ะจะมีการตกลงระหว่าง bank เช่น ขาดส่ง 3-6 เดือน, 1-2 ปี , ขาดอายุความ, คำพิพากษา การทวงหนี้จะแตกต่างกัน ถ้าเกิน 6 เดือนจะพูดกันแบบหนัก แบบถ่อย ๆ และเถื่อน
- การเขียนจดหมายข่มขู่ อนุมัติฟ้องภายใน 24 ชม. ภายใน 48 ชม. มันเป็นไปไม่ได้ในความเป็นจริง และในทางปฏิบัติและมีการประทับตราสีแดง อนุมัติฟ้อง และเขียนชื่อลูกหนี้ การกระทำแบบนี้ 1. เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ประจาน และอับอาย สวนมากใช้ไปรษณียบัตร, พับกระดาษต่อเนื่อง มีชื่อ สนง. ชัดเจน มีตราอนุมัติฟ้อง
ข้อความ เพื่อกดดันลูกหนี้
ติดต่อไม่ได้ ทำให้อับอายเพื่อนฝูง เช่น คนทำงานรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการ
2. หากไม่จ่ายภายใน 3 วัน จะพาเจ้าหน้าที่เข้าจับกุมดำเนินคดี เป็นการข่มขู่ ตามกฎหมายไม่ได้เปิดโอกาส การข่มขู่แบบนี้ บัตรเครดิตเป็นคดีทางแพ่ง ไม่ใช่คดีอาญา
3. จะนำชื่อของท่านเข้า black list (บัญชีดำ) ต่อไปท่านไม่สามารถติดต่อกับสถาบันการเงินได้ ฟ้องล้มละลาย และไม่สามารถเดินทางออกต่างประเทศได้ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
4. จดหมายจาก สนง.กฎหมาย(ทนายความ) และ สนง.ทวงหนี้ เช่น หากคุณไม่ชำระ จะเข้ายึดทรัพย์ และยึดทรัพย์เจ้าของบ้าน ทวงหนี้แบบผิดกฎหมาย การจะยึดทรัพย์ได้ จะต้องมีการดำเนินคดี ทางศาลแพ่ง ก่อนและส่งเรื่องให้ลูกหนี้ทราบภายใน 15 วัน
- การที่จะนำเจ้าหน้าที่มาบังคับคดี มายึดทรัพย์ทำไม่ได้ การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จะมายึดทรัพย์ของลูกหนี้ได้ แต่จะมายึดทรัพย์ ของเจ้าของบ้าน ญาติ ภรรยา ทำไม่ได้ไม่ต้องกลัว การทวงแบบนี้เป็นการบีบบังคับลูกหนี้
5. หากมีการยักย้ายทรัพย์ ทรัพย์สมบัติ จนทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ จะถูกจำคุก 2 ปี (จะต้องมีการพิสูจน์) ยกเว้นเนื่องจากมีหนี้สินมากมายก็เลยต้องขายทรัพย์สินให้คนอื่นหมดแล้ว เพื่อเอาเงินมาชำระหนี้ อันนี้เป็นเจตนาดี แต่ถ้ามีเจตนาจะโกงเช่น มีบ้านหลายหลังและมีทรัพย์สินอื่นๆ มากมาย
6. การเขียนไปรษณียบัตร ส่งตามบ้านญาติ พี่น้อง เพื่อนฝูง เช่นเนื่องจากนาย ก.ปิดโทรศัพท์ แล้วติดต่อไม่ได้ก็ไปตรวจสอบตามข้อมูลที่ลูกหนี้เคยให้ไว้ ว่ามีญาติ พี่น้อง ที่ไหน ก็จะส่งไปรษณียบัตรไปให้ตามบ้านญาติ พี่น้อง เพื่อนฝูง ว่า "นาย ก. มีปัญหาเรื่องหนี้ และเขียนข้อความประจานไปตามบ้านญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง เพื่อทำให้ นาย ก. เป็นที่รังเกียจ ถ้าเจอเหตุการณ์แบบนี้ สามารถแจ้งความดำเนินคดีได้ภายใน 3 เดือน

7. การโทรหา ภรรยา ผู้บังคับบัญชา เพื่อน ๆ พูดทวงหนี้ เช่น นาย ก. เป็นคนที่ไม่ยอมใช้หนี้ เป็นการโทรไปหาบุคคลภายนอก ซึ่งไม่เกี่ยวข้องและโทรกวน ผู้บังคับบัญชา
ผิดข้อหาหมิ่นประมาท การกระทำเช่นนี้ผิดกฎหมาย

8. การส่ง fax เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

9. การส่งเจ้าหน้าที่มาเฝ้าหน้าที่สำนักงานของลูกหนี้ หรือการเข้ามาหาในที่ทำงาน เรียกตำรวจจับได้ หรือนัดเลยว่ามากี่โมง ก็เรียกตำรวจจับได้เลย

ที่มา : http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=10152

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น