ลูกหนี้ควรมีความรู้เรื่อง อายุความ” ด้วย อย่างน้อยมันก็อาจจะเป็นประโยชน์กับการเจรจาต่อรองเรื่องแฮร์คัทได้
*********
อายุความในการฟ้องสำหรับ "หนี้" ที่ผิดนัดชำระ...ให้นับจาก
วันที่ผิดนัดชำระครั้งสุดท้าย...จนถึงวันที่ฟ้องคดี
ที่ผ่านมาส่วนใหญ่...เรามักจะเข้าใจกันว่า
ให้นับจากวันที่จ่ายค่างวดเป็นครั้งสุดท้าย...จนถึงวันที่ฟ้อง
ซึ่งเป็นการเข้าใจที่ ผิด ครับ
อย่าลืมนะครับ ภาษาของกฏหมายเขียนเอาไว้ว่า
นับจากวันที่ผิดนัดชำระครั้งสุดท้าย จนถึงวันที่ฟ้อง
ทีนี้เรามาตีความกันสักหน่อยนะครับ
คำว่า วันที่ผิดนัดชำระครั้งสุดท้าย ไม่ได้หมายถึงวันที่จ่ายชำระเงินเป็นครั้งสุดท้ายนะครับ
เพราะการที่เราจ่ายเงินไปในครั้งสุดท้ายนั้น...เรายังไม่ได้ผิดสัญญา ดังนั้น อายุความก็จะยังไม่เริ่มนับ
ความหมายของคำว่า “ผิดนัดชำระสัญญา” ก็คือ...เมื่อถึงวันที่เราจะต้องจ่ายคืนเงินกู้ตามสัญญาที่ได้ระบุไว้ แต่เรากลับมิได้จ่ายตามวันที่ได้กำหนดไว้สัญญา...นั่นแหละ...จึงจะถือได้ว่า “เริ่มผิดนัดชำระตามสัญญา”
ขออนุญาตสมมุติตัวอย่างให้ดูสักกรณีหนึ่งนะครับ จะได้เข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
นาย ก. ได้ไปทำการกู้เงินจาก ธนาคาร A มาเป็นจำนวนเงิน XX,XXX บาท ซึ่งกำหนดให้ผ่อนจ่ายคืนทั้งหมด 24 งวดๆละ 1,000.-บาท โดยต้องผ่อนจ่ายคืนไม่เกินวันที่ 8 ของทุกๆเดือน
นาย ก. ได้รับเงินกู้มาแล้ว ในวันที่ 9/ก.ค./ 2550...ซึ่งหลังจากนั้น นาย ก. ได้ผ่อนจ่ายชำระคืนไปแล้ว เป็นบางงวด ดังนี้
งวดที่1_____จ่าย 1,000.-บาท_____วันที่จ่าย 8/ส.ค./2550
งวดที่2_____จ่าย 1,000.-บาท_____วันที่จ่าย 7/ก.ย./2550
งวดที่3_____จ่าย 1,000.-บาท_____วันที่จ่าย 6/ต.ค./2550
งวดที่4_____จ่าย 1,000.-บาท_____วันที่จ่าย 7/พ.ย./2550
งวดที่5_____ซึ่ง นาย ก. ควรจะต้องจ่ายค่าผ่อนชำระ 1,000.-บาท ไม่เกินวันที่ 8/ธ.ค./2550 ตามสัญญา แต่ นาย ก. เริ่มประสพปัญหาเรื่องเงินหมุน (ไม่มีเงินจ่าย) จึงเริ่มหยุดจ่าย...นับตั้งแต่วันที่ 8/ธ.ค./2550 เป็นต้นมา...จนถึงปัจจุบัน
วันที่ 8/ธ.ค./2550 นี่แหละครับ ที่ถือว่า นาย ก. ได้เริ่มผิดนัดชำระตามสัญญา
ส่วนจะไปอ้างว่า วันที่ 7/พ.ย./2550 เป็นวันที่ นาย ก. ได้เริ่ม “ผิดนัดชำระตามสัญญา” เพราะว่าเป็น “การจ่ายชำระเงินเป็นครั้งสุดท้าย” มิได้...เพราะถือได้ว่า นาย ก. ยังมีการจ่ายชำระเงินในวันที่ 7/พ.ย./2550 ตามสัญญาอยู่ จึงไม่ได้เป็นการผิดนัดตามสัญญาแต่อย่างใด จนกว่าจะถึงรอบบิลในการชำระเงินครั้งต่อไป
ที่ผมหยิบยกเอาประเด็นนี้ขึ้นมาเสริม เพราะเกรงว่าอาจส่งผลต่อการสู้ต่อคดีของลูกหนี้บางท่าน ที่ยังไม่เข้าใจในการตีความของกฏหมาย
เช่น...ถ้าลูกหนี้ถูกฟ้องเรื่อง”หนี้บัตรเครดิต”...ซึ่งได้หยุดจ่ายมาเป็น เวลา 24 เดือน (2 ปี) พอดี โดยที่ตัวลูกหนี้เอง ใช้วิธีคำนวนระยะเวลา จากวันที่เริ่มหยุดจ่ายจนถึงวันที่ฟ้อง และได้อ้างข้อมูลดังกล่าวนี้ต่อศาลว่า “คดีขาดอายุความ” เพื่อที่จะให้ศาล “ยกฟ้อง” ให้
แต่ถ้าทนายฝ่ายโจทก์กล่าวแย้งว่า “ยังไม่ขาดอายุความ” ตามเหตุผลที่ผมได้ยกตัวอย่างในเรื่อง นาย ก. ให้ศาลพิจารณา...จะทำให้คดีที่ถูกฟ้องร้องนี้ มีระยะเวลาในการ”ผิดนัดชำระสัญญา” เพียงแค่ 23 เดือน (1 ปี กับอีก 11 เดือน) เท่านั้น...ดังนั้น คดีนี้จึงไม่ขาดอายุความ และอาจส่งผลให้ลูกหนี้ถูกตัดสิน “แพ้คดี” เนื่องจากการสู้ความ "ผิดประเด็น" ก็เป็นได้
ดังนั้น สำหรับเพื่อนสมาชิกที่จะใช้ “เงื่อนไขของ การผิดนัดชำระตามสัญญา” สำหรับต่อสู้คดีในเรื่อง “ขาดอายุความ” ให้พิจารณาถึงส่วนนี้ด้วยนะครับ
สำหรับอายุความของหนี้สินประเภทต่างๆ...เท่าที่ผมได้เคยสอบถามกับผู้รู้กฏหมาย...ได้ความมาตามนี้ครับ
หนี้บัตรเครดิต...อายุความในการฟ้อง หลังจากมีการผิดนัดชำระตามสัญญา = 2 ปี
หนี้เงินกู้ หรือสินเชื่อ...อายุความในการฟ้อง หลังจากมีการผิดนัดชำระตามสัญญา = 5 ปี
สัญญาเช่าซื้อ...อายุความในการฟ้อง หลังจากมีการผิดนัดชำระตามสัญญา = 3 ปี
คำว่า คดีขาดอายุความ มีความหมายว่า "ไม่สามารถเอาผิดได้ตามกฏหมายที่บัญญัติไว้"...แต่ไม่ได้หมายความว่า ฟ้องไม่ได้ หรือห้ามฟ้อง นะครับ...กล่าวคือถ้าอยากจะฟ้องก็ฟ้องไป แต่ฟ้องแล้วก็ไม่สามารถเอาผิดกับจำเลยได้
ดังนั้น ถ้ามันรู้ว่า...คุณเองก็พอมีความรู้ในเรื่อง "คดีขาดอายุความ"...มันจึงไม่ฟ้องดีกว่า...เสียเงินและเสียเวลาในการฟ้องไป เปล่าๆ...แต่มันจะใช้วิธีในการทวงหนี้แบบนี้ไปเรื่อยๆแทน เพราะกฏหมายไม่ได้ระบุไว้นี่ครับว่า ถ้าไม่ฟ้องแล้วห้ามทวงหนี้โดยเด็ดขาด
เข้าใจไหมครับ? จาก คุณนกกระจอกเทศ (http://www.consumerthai.org/compliant_board1/view.php?id=14588 )
และ
บัตรเครดิต................................อายุความ 2 ปี
บัตรเงินสด................................อายุความ 2 ปี
หนี้วงเงินเบิกเกินบัญชี..................อายุความ10 ปี( วงเงินโอดี)
หนี้เงินกู้...................................อายุความ 10 ปี (สัญญากู้ยืมที่กำหนดชำระเงินต้นคืนทั้งหมดในครั้งเดียว)
หนี้เงินกู้สินเชื่อบุคคล...................อายุความ 5 ปี (สัญญากู้ยืมที่มีการผ่อนต้นคืนพร้อมดอกเบี้ยเป็นงวดๆ)
จากคุณ Greeny (http://www.consumerthai.org/compliant_board1/view.php?id=14588 )
หรือ จากTITAN http://www.consumerthai.org/compliant_board1/view.php?id=14523
ที่มา http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=14748
แหล่งข้อมูลการแก้ปัญหาหนี้ สินเชื่อบุคคลและบัตรเครดิต
บทความที่ได้รับความนิยม
-
ทางออกของคนเป็นหนี้แล้วไม่รู้จะหาแหล่งรวมหนี้ได้ที่ไหนที่นี่เลยคับ บริษัท รีโซลูชั่น เวย์ จำกัด ให้บริการสินเชื่อสำหรับผู้ที่ประสบปัญหา...
-
การเจรจาต่อรองปิดบัญชีขอส่วนลด( Hair Cut ) สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือความแน่นอนในยอดเงินในการชำระหนี้ การโชว์เสต็ปครั้งนี้ผมมีภาพประกอบและเร...
-
เจ้าหนี้-ลูกหนี้ ควรรู้ไว้ ทวงหนี้อย่างไรไม่ผิดกฎหมาย ลูกหนี้ร้องเรียนได้หากพบถูกปฏิบัติไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ 2558 ...
-
ประเมินสถานการณ์ทางการเงินของคุณ 1) ตรวจสอบทรัพย์สินของคุณ ขั้นตอนแรกในการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเงินเพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนของสถานการณ์ท...
-
"นิยาม" ของคำว่า Hair-cut คือ การจ่ายชำระมูลหนี้ ที่เรามีค้างจ่ายไว้กับเจ้าหนี้ โดยมีข้อตกลงเจรจา เป็นการนำเสนอที่จะลดมูลหนี้ที...
วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น