บทความที่ได้รับความนิยม

วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เส้นทางสายหมดหนี้ : บันไดขั้นที่ 8 การอายัดเงินเดือน

ลำดับการอายัดเงินเดือน, อายัดทรัพย์
1.มี เจ้าหนี้หลายที่ ถูกฟ้องไล่เลี่ยกัน และมีคำพิพากษาออกมาแล้ว ลูกหนี้ไม่มีการชำระหนี้ เจ้าหนี้จะต้องยื่นเรื่องกับกรมบังคับคดี เพื่ออายัดเงินเดือน,อายัดทรัพย์ ประมาณว่าใครทำเรื่องก่อนได้เงินก่อนใช่หรือไม่ หรือว่าต้องให้สิทธิกับเจ้าหนี้ที่ฟ้องก่อน หรือมีคำพิพากษาออกมาก่อนทำเรื่องบังคับคดีได้เป็นรายแรก
- เจ้าหนี้รายไหนไปร้องขอบังคับคดีก่อนก็ได้บังคับคดีก่อน โดยไม่สนใจว่าจะฟ้องก่อนฟ้องหลัง หรือมีคำพิพากษาก่อนมีคำพิพากษาหลัง.... สมมุติเจ้าหนี้รายแรกฟ้องแล้วมีคำพิพากษาออกมาแล้วก่อน แต่ยังชะล่าใจไม่รีบไปดำเนินการร้องต่อศาลขอบังคับคดี ต่อมาเจ้าหนี้รายที่ 2 ฟ้องแล้วมีคำพิพากษาออกมาแล้วไปดำเนินการร้องต่อศาลขอบังคับคดีก่อน เจ้าหนี้รายที่ 2 ก็จะได้บังคับคดีก่อน

2.เมื่อมีคำพิพากษาออกมาแล้ว ให้ลูกหนี้แบ่งชำระหนี้เป็นงวด ๆ เนื่องจากไม่มีเงินก้อน โดยถูกฟ้องหลายคดี ถ้าจะจ่ายได้ก็คงจ่ายไม่ครบทุกที่ คงต้องยอมให้อายัดเงินเดือน 30 % จะดีกว่ามั๊ย จะได้หมดหนี้เป็นราย ๆ ไป (เงินเดือนถูกหักหนี้บ้าน ธอส., และหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ ก็แทบแย่แล้ว)
- คำพิพากษาไม่ระบุว่าจะต้องชำระอย่างไร ขึ้นอยู่กับลูกหนี้และเจ้าหนี้จะไปตกลงกันเอง.... ถูกต้องครับ หากมีเจ้าหนี้เค้าฟ้องหลายๆรายพร้อมๆกัน และเมื่อคำนวณดูแล้วไม่สามารถผ่อนจ่ายเจ้าหนี้ทุกรายได้พร้อมกัน ควรที่จะปล่อยให้เข้าสู่ขั้นตอนอายัดเงินเดือน (กรณีที่ไม่มีทรัพย์สินอะไรนะครับ) เพราะถ้าผ่อนจ่ายเจ้าหนี้ทุกรายไม่ได้ เจ้าหนี้รายที่คุณไม่ผ่อนจ่ายเค้า เค้าก็ไปร้องต่อศาลขอบังคับคดีอยู่ดี...

ที่มา  http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=19638







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น