ระหว่างที่ลูกหนี้เก็บเงินรอแฮร์คัท ถ้ามี รายไหนส่งฟ้องศาลก็ไม่ต้องตกใจ ขอให้ลองศึกษาข้อมูลเหล่านี้ดู
ขั้นที่ 6 แนวทางปฏิบัติเมื่อคดีความที่เข้าสู่ศาลแพ่ง
1 มาจากการเจรจา hair cut ไม่ได้ / ไม่ทัน เนื่องจาก เราไม่มีเงินพอ หรือ แบงค์ต้องการเงินคืนเร็ว เลยฟ้องเร็ว อันนี้ไม่มีอะไรแน่นอน
2 ขั้นตอนนี้ก็ยังสามารถเจรจา hair cut ได้เรื่อยๆ จำไว้ว่าการ hair cut ทำได้ในทุกขั้นตอน ขอเพียงเรามีเงิน
3 วันไปขั้นศาล ควรไปทุกนัดจะดีมาก
3.1 ไปนัดแรก เป็น นัดไกล่เกลี่ย
ก) หากคู่ความ ตกลงกันได้ในต้นเงิน ดอกเบี้ย ระยะเวลา และค่าใช้จ่ายต่อกัน เช่น ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ ค่าทนายความโจทก์ 500-1,000 บาท
(ก.1) ก็จะลงนามใน บันทึกการไกล่เกลี่ย โดยคู่ความ โจทก์ ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ หรือทนายความโจทก์ และ จำเลย หรือทนายความจำเลยและ ผู้ไกล่เกลี่ย
(ก.2) เจ้าหน้าที่ศาล จะทำ คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมตามที่คู่ความตกลงกันไปให้ผู้พิพากษาลงนาม โดยท่านผู้พิพากษาจะให้คู่ความทั้งสองฝ่ายพร้อมกันต่อหน้า
(ก.3) ท่านผู้พิพากษาจะอ่านคำพิพากษาให้สองฝ่ายทราบ และแก้ไขข้อความให้ตรงกับที่คู่ความ ตกลง พึงพอใจสองฝ่ายเมื่อเป็นที่เข้าใจตรงกันแล้ว
(ก.4) ท่านจะมีคำพิพากษาและลงนามไปตามนั้น พร้อมให้คู่ความลงนาม และมอบคำพิพากษาให้คู่ความเก็บเป็นหลักฐานและปฏิบัติไปตามนั้น
(ก.5) ขั้นตอนเจรจาที่จบลงแบบนี้ คือ เงื่อนไขที่ลูกหนี้ร้องขอ เจ้าหนี้พอใจ แต่ถ้าไม่ยินยอมก็ไปข้อ (ข)
ข) หากคู่ความไม่ตกลงในนัดไกล่เกลี่ย
(ข.1) จะส่งเรื่องคืนเข้าสู่การนัดสืบพยานเรื่องราวที่ตกลงกันในการไกล่เกลี่ยถือเป็นโมฆะ ไม่นำกลับมาเป็นข้ออ้างในการพิจารณาของศาล
(ข.2) ขั้นตอนที่เจรจา ส่วนใหญ่จะลงเอยแบบนี้มากกว่าข้อ (ก) เพราะโจทก์ (แบงค์) มักไม่ยอมตามเงื่อนไขลูกหนี้ง่ายๆ ขั้นตอนมีคร่าวๆดังนี้ครับ
2.1 หลังมาศาลแล้วจะเจอทนายของแบงค์ (โจทก์) ที่ฟ้อง ให้เราเจรจาเงื่อนไขที่เราต้องการ ถ้าแบงค์ไม่ยอมอะไรเลย ก็ขอเลื่อนคดี (ยืดหนี้)ออกไปก่อน เช่น ใช้เทคนิคเรื่องโบนัสที่จะออกใน 3-4 เดือนข้างหน้า เป็นต้น
2.2 ดังนั้นเทคนิคยืดเวลา คือ การขอเลื่อนคดีออกไป อีก 2-4 เดือน (แต่ไม่ใช่การสู้คดีนะ) ลูกหนี้มีสิทธิ์ ถึงแม้ทนายโจทก์จะไม่อยากให้เลื่อนก็ตาม ลูกหนี้ทุกคนมีสิทธิ์ร้องขอ ควรทำความเข้าประเด็นนี้ให้มากๆ
2.3 หรืออีกเทคนิคคือ การยื่นคำให้การ แต่จะยุ่งยากกว่าข้อ 2.2 (อาจจะต้องจ้างทนาย) ลองประเมินตามความเหมาะสม
2.4 ระหว่างที่รอมาศาลในนัดต่อไป ก็เก็บเงินไปเรื่อยๆ ได้อีกหลายเดือน ระหว่างนี้ถ้าพร้อมก็เจรจา hair cut ได้เลย โจทก์ก็จะถอนฟ้องให้ หรือถ้าเงินยังเก็บได้ไม่พอ ก็ไม่ต้องกังวลใจ ค่อยไปต่อรองหน้าศาลในนัดต่อไปได้
ตัวอย่างกระทู้ - ไปศาลนัดแรก
กระทู้การขอเลื่อนคดี 2-4 เดือน (แบบธรรมดา )>>>>>>>>>>>>>http://www.consumerthai.org/compliant_board1/view.php?id=9982
กระทู้การได้เลื่อนคดี 6-7 เดือน เพราะจะจ่ายด้วยโบนัส >>>>>>>>>>>http://www.consumerthai.org/compliant_board1/view.php?id=9105
กระทู้เสี่ยง (มาศาลแต่ไม่ยอมพบผู้พิพากษา) เพราะเชื่อทนายโจทก์มากไป >http://www.consumerthai.org/compliant_board1/view.php?id=9806
กระทู้ไกล่เกลี่ยลงตัว เซ็นต์ยอมความและให้ศาลตัดสินเลย >>>>>>>>http://www.consumerthai.org/compliant_board1/view.php?id=9784
กระทู้ต้องการสู้คดี >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>http://www.consumerthai.org/compliant_board1/view.php?id=9375
กระทู้ต่อสู้เรื่อง หมดอายุความ แล้วโดน Bank หยอดเงิน>>>>>>>http://www.consumerthai.org /compliant_board1/view.php?id=9904
กระทู้ การยื่นคำให้การเรื่องคดีหมดอายุความ แบบไม่ต้องจ้างทนาย>>>>http://www.consumerthai.org /compliant_board1/view.php?id=10011
กระทู้ คดีหมดอายุความ แต่เจ้าหนี้หลอกให้ลูกหนี้จ่ายเงินเข้าและมั่วนิ่มฟ้องให้จ่ายหนี้ก่อนหมดอายุความด้วย
http://www.consumerthai.org/compliant_board1/view.php?id=9949
3.2ไปนัดที่ 2 เป็น นัดสืบพยาน
ก) ท่านผู้พิพากษาจะสืบคู่ความทั้งสองฝ่าย และพยานที่กล่าวอ้าง ตามกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงแห่งหนี้
ข) และจะนัดให้คู่ความฟังคำพิพากษาในวันถัดไป
3.3ไปนัดสุดท้าย เป็น นัดฟังคำพิพากษา
ก) มาถึงศาลแล้ว จะเจอทนายโจทก์ก็สามารถเจรจาเงื่อนไขได้ ถ้าเจรจาไม่ได้ก็ลองไปเจรจาหน้าบัลลังค์อีกครั้ง
ข) ผู้พิพากษาจะอ่านคำพิพากษาให้คู่ความทั้งสองฝ่ายฟัง โดยคู่ความสามารถตกลงกันตอนนี้ได้ หรือจะให้เป็นไปตามที่มีคำพิพากษาเลยก็ได้
(ข.1) ส่วนใหญ่ถ้ามาศาลคนเดียว ลูกหนี้ (ตัวเรา) จะขอความเห็นใจจากศาลในขั้นตอนนี้ครับ เช่น เทคนิคขอผ่อนแบบขั้นบันได
ปีที่ 1 = 1,000, 1,500, 2,000
ปีที่ 2 = 1,500, 2,000, 2,500
ปีที่ 3 = 2,000, 2,500, 3,000
ปีที่ 4 ………………………..ก็แล้วแต่ยอดหนี้และความเหมาะสม แต่คงไม่เกิน 10 ปีตามอายุบังคับคดี
(ข.2) จากนั้นศาลท่านจะแค่บอกแนวทางสั้นๆ แก่โจทก์ ถ้ายอมก็ตามนั้น ถ้าโจทก์ไม่ยอมก็ตัดสินตามคำฟ้องของเจ้าหนี้
ค) เมื่อท่านมีคำพิพากษาแล้ว คู่ความจะต้องลงนามในคำพิพากษา และรับคำพิพากษาแต่ละฝ่ายกลับไปปฏิบัติตามนั้นถือว่าจบกระบวนการพิจารณาคดี
ง) ค่าใช้จ่ายถ้าไปศาลเองก็ยังไม่ต้องจ่ายอะไร เป็นเรื่องที่ทนายจะไปเรียกเก็บกับทางแบงค์ต้นสังกัดเอง
ข้อมูลนี้เอามาจาก http://www.consumerthai.org/compliant_board1/view.php?id=10152
****คำถามที่มักจะถามกันคือ***
-แต่ละแบงก์จะฟ้องเมื่อไหร่ อันนี้ก็บอกกำหนดแน่นอนไม่ได้ว่าหยุดจ่ายแล้วกี่เดือนจึงจะส่งฟ้องขึ้นอยู่ กับนโยบายของแบงก์ มูลค่าหนี้ แต่เมื่อหยุดจ่ายไปแล้ว 5 เดือนก็ควรระวังเรื่องการส่งฟ้องศาลได้
-ถ้าแต่ละแบงก์ฟ้องพร้อมกันจะทำยังไง ขอบอกว่าปกติแล้วจะไม่ฟ้องพร้อมกันหรอก ลูกหนี้จะมีเวลา 3-4 เดือน หรืออาจจะมากกว่านั้น ในการเตรียมตัวรับมือการฟ้องของเจ้าหนี้รายต่อไป แต่กว่าจะฟ้องจริงๆ บางทีลูกหนี้แฮร์คัทไปหมดแล้วก็มี
ที่มา http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=14748
แหล่งข้อมูลการแก้ปัญหาหนี้ สินเชื่อบุคคลและบัตรเครดิต
บทความที่ได้รับความนิยม
-
ทางออกของคนเป็นหนี้แล้วไม่รู้จะหาแหล่งรวมหนี้ได้ที่ไหนที่นี่เลยคับ บริษัท รีโซลูชั่น เวย์ จำกัด ให้บริการสินเชื่อสำหรับผู้ที่ประสบปัญหา...
-
การเจรจาต่อรองปิดบัญชีขอส่วนลด( Hair Cut ) สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือความแน่นอนในยอดเงินในการชำระหนี้ การโชว์เสต็ปครั้งนี้ผมมีภาพประกอบและเร...
-
เจ้าหนี้-ลูกหนี้ ควรรู้ไว้ ทวงหนี้อย่างไรไม่ผิดกฎหมาย ลูกหนี้ร้องเรียนได้หากพบถูกปฏิบัติไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ 2558 ...
-
ประเมินสถานการณ์ทางการเงินของคุณ 1) ตรวจสอบทรัพย์สินของคุณ ขั้นตอนแรกในการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเงินเพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนของสถานการณ์ท...
-
"นิยาม" ของคำว่า Hair-cut คือ การจ่ายชำระมูลหนี้ ที่เรามีค้างจ่ายไว้กับเจ้าหนี้ โดยมีข้อตกลงเจรจา เป็นการนำเสนอที่จะลดมูลหนี้ที...
วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น