บทความที่ได้รับความนิยม

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

หนี้ส่วนตัว/หนี้สมรส (1)

หนี้ส่วนตัว/หนี้สมรส (1)

หนี้ก่อนสมรส กรณีที่ชายหรือหญิงไปเป็นหนี้กับบุคคลภายนอก แต่ละฝ่ายก็ต้องรับผิดใช้ที่ตนเป็นผู้ก่อ ขึ้นมาเป็นการส่วนตัว
หนี้ในระหว่างสมรส โดยหลักแล้ว คู่สมรสฝ่ายใดเป็นผู้ก่อหนี้ขึ้น หนี้ที่เกิดขึ้นก็เป็นหนี้ส่วนตัวของฝ่ายนั้น แต่ละฝ่ายต้องรับผิดชอบกันเองเป็นการส่วนตัว เว้นแต่จะเป็นหนี้ร่วมกันหรือที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหนี้ร่วมกันแล้วจึงจะ รับผิดชอบร่วมกัน
สำหรับหนี้ที่กฎหมายบัญญัติให้ถือเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างสามีภริยานั้น จะมีผลทำให้ แม้จะมีชื่อคู่สมรส ฝ่ายใดเป็นลูกหนี้ฝ่ายเดียว แต่คู่สมรสทั้งสองฝ่ายต้องรับผิดร่วมกันมีอยู่ 4 กรณี คือ

1. หนี้ที่เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือน จัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะ เลี้ยงดู การรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัว และการศึกษาของบุตร ตามสมควรแก่อัตภาพ
หนี้เหล่านี้จะต้องมีจำนวนพอสมควรแก่อัตภาพของครอบครัว เพราะหากเกินสมควรแล้ว ส่วนที่เกิน ย่อมไม่ถือว่าเป็นหนี้ร่วม แต่กลายเป็นหนี้ส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายนั้นได้ เช่น หนี้ที่สามีไปค้ำประกัน การทำงานให้กับญาติพี่น้อง หรือเพื่อน หรือผู้ใดเป็นส่วนตัว ภริยาย่อมไม่ต้องรับผิดชอบ ในหนี้ค้ำ ประกันที่ถูกฟ้องในเวลาต่อมา เป็นต้น
หนี้ตามข้อนี้หากสมควรแก่อัตภาพแม้จะเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่สามี ภริยาแยกกันอยู่ แต่ตราบใดที่ยังไม่ได้มีการจดทะเบียนหย่าก็ถือว่าเป็นหนี้ร่วมทั้งสองฝ่าย เช่นกัน

2. หนี้ที่เกี่ยวข้องกับการสมรส เช่น กู้ยืมเงินมาซ่อมแซมบ้านที่เป็นสินสมรส

3. หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
เช่น เปิดร้านขายของ ภริยาเป็นคนขาย สามีซื้อเชื่อของเข้าร้านหนี้ค่าซื้อเชื่อเป็นหนี้ร่วม, สามีทำธุรกิจจัดสรรที่ดิน ภริยาก็ต้องรับผิดชอบในสัญญาที่สามีลงลายมือชื่อในสัญญาจะขาย ที่ดินจัดสรร ไว้คนเดียว ร่วมกับสามีด้วย,
สามีกู้หนี้ยืมสินมาลงทุนเปิดห้างให้ภริยาดูแล สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่สามีทำกับธนาคาร โดยมีเงื่อนไข ให้ภริยาเบิกจ่ายเงินจากบัญชีดังกล่าวได้

4. หนี้ที่สามีก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่งให้สัตยาบัน
หนี้ประเภทนี้เดิมจะผูกพันแต่เฉพาะสามีภริยาฝ่ายที่ไปก่อหนี้ขึ้น แต่ถ้าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งไปให้สัตยาบัน ยอมรับหนี้ที่คู่สมรสของตนได้ก่อขึ้น การให้สัตยาบันจะมีผลให้หนี้ดังกล่าวนี้ที่เกิดขึ้นระหว่างสมรส กลายเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา การให้สัตยาบันไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าจะต้องทำอย่างไร ดังนั้น อาจจะให้สัตยาบันด้วยปากเปล่าไว้ หรือลงรายมือชื่อในหนังสือให้ความยินยอมคู่สมรส ให้คู่สมรสของตน กู้ยืมเงิน หรือจะลงรายมือชื่อในฐานะพยานในสัญญากู้ยืมเงินของสามี
แต่ถ้าเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนสมรสแล้ว แม้ต่อมาภายหลังคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจะให้สัตยาบัน ก็ยังเป็นหนี้ส่วนตัวของคู่สมรสผู้ที่ก่อหนี้ การให้สัตยาบันหนี้ก่อนสมรสไม่ทำให้หนี้นั้นกลายเป็นหนี้ร่วม ระหว่างสามีภริยาไปได้
เหตุที่ต้องแยกเป็นหนี้ส่วนตัวหรือหนี้ร่วมเพราะถ้าเป็นหนี้ส่วนตัว ไม่ว่าจะก่อขึ้นก่อนหรือระหว่างสมรส เจ้าหนี้จะต้องบังคับหนี้เอากับสินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายที่ก่อหนี้ก่อน ถ้าไม่พอถึงจะไปบังคับหนี้ เอากับทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสของคู่สมรสฝ่ายที่ก่อหนี้ได้ ซึ่งหากมีการบังคับคดีหนี้สินส่วนตัวเอาจาก สินสมรสแล้วจะทำให้คู่สมรสที่ไม่ได้ก่อหนี้ก็มีสิทธิร้องขอกันส่วนของตนจาก ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส ในส่วนของตนครึ่งหนึ่งออกมาได้
แต่ถ้าเป็นหนี้ร่วม เจ้าหน้าที่ตามคำพิพากษาที่ชนะคดี จะยึดสินส่วนตัวก่อนหรือสินสมรสก่อนก็ได้ และการยึดสินส่วนตัวจะยึดสินส่วนตัวของฝ่ายใดก็ได้ เพียงแต่ในการยึดสินส่วนตัวของฝ่ายใด เจ้าหน้าที่จะต้องฟ้องคู่สมรสทั้งสองฝ่ายเข้ามาด้วยกัน เพราะถ้าไม่ฟ้องเข้ามาด้วยกันก็จะไปยึดสินส่วนตัว ของฝ่ายที่ยังไม่ถูกฟ้องไม่ได้ เนื่องจากคำพิพากษาให้ชำระหนี้ดังกล่าวไม่ผูกพันคู่สมรสที่ไม่ได้ถูกฟ้องคดี
และกรณีที่ชายและหญิงเป็นหนี้กันเอง อันเป็นหนี้ส่วนตัวนั้น แม้ต่อมาชายหญิงคู่นี้ได้จดทะเบียนสมรส เป็นสามีภริยากัน หรืออาจเป็นหนี้ส่วนตัวขึ้นมาในระหว่างสมรส การที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แม้จะฟ้องคดีจนชนะคดีแล้ว แต่ก็ไม่สามารถไปยึดหรืออายัดทรัพย์สินของอีกฝ่ายหนึ่งได้ สามีภริยาจะยึดหรืออายัดทรัพย์กันเองได้เฉพาะกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่น เป็นหนี้อุปการะเลี้ยงดู 

ที่มา: http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=12672

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น