บทความที่ได้รับความนิยม

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การนำส่งหมายศาลทำได้ 3 วิธี

การนำส่งหมายศาลทำได้ 3 วิธี
1.นำส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หากไม่มีผู้รับหมายนั้น
จะไปอยู่ที่ที่ทำการไปรษณีย์เพื่อรอผู้รับไปติดต่อขอรับหมายหากถึงระยะเวลาที่กำหนดแล้วไม่มีผู้มารับหมายนั้นอีก
ไปรษณีย์ลงทะเบียนที่บรรจุหมายศาลก็จะถูกตีกลับไปที่ศาล

2.นำส่งโดยเจ้าหน้าที่เดินหมาย คือการนำส่งโดยเจ้าหน้าที่ศาลไปที่ภูมิลำเนาของจำเลย หากไม่มีผู้รับหมาย
และผู้พิพากษาไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตให้ปิดหมาย
เจ้าหน้าที่เดินหมายก็จะบันทึกรายละเอียดการนำส่งหมายไม่ได้ในครั้งนั้นๆ และจึงนำหมายศาลกลับไปที่ศาล
เพื่อรอโจทก์แถลงความประสงค์ต่อไป

3.นำส่งด้วยการปิดหมาย คือกรณีที่ผู้พิพากษามีคำสั่งอนุญาต
ให้ปิดหมายหากไม่มีผู้รับโดยชอบ (ผู้รับโดยชอบ
คือจำเลยเป็นผู้รับเอง หรือผู้รับแทนที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์)

หากจำเลยไม่ได้รับหมายไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม
ซึ่งหมายศาลอาจสูญหายหรือถูกตีกลับไปที่ศาล
ถ้าทางฝ่ายโจทก์ขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งส่งหมายใหม่
และโจทก์แสดงเหตุผลเพียงพอว่าจำเลยไม่มีที่อยู่
เป็นหลักแหล่ง และโจทก์ไม่สามารถสืบหาที่อยู่อื่นอีกได้
โจทก์อาจขอศาลและศาลอาจมีคำสั่งให้ใช้วิธีไปลงประกาศ
ในหนังสือพิมพ์แทน ซึ่งการลงประกาศในหนังสือพิมพ์
ก็มักจะเป็นหนังสือพิมพ์ที่ไม่ค่อยจะมีคนอ่าน
หรือมีคนรู้จักเท่าใดนัก

หากอยากทราบว่ามีเจ้าหนี้รายใดฟ้องเราบ้าง
จำเลยสามารถไปเช็คการนำส่งหมายที่ศาลได้
และหากมีการนำส่งจริงแต่หมายถูกตีกลับมาที่ศาล
เพราะไม่มีผู้รับโดยชอบและหรือไม่ได้มีการปิดหมายไว้
ก็สามารถขอคัดหมายนั้นได้
โดยเสียค่าธรรมเนียมการขอคัดหมาย
การคอยตรวจเช็คว่ามีการเดินหมายส่งมาให้เราหรือไม่
เป็นสิ่งที่ควรกระทำโดยอาจจะไปเช็คที่ศาลเดือนละครั้ง
ว่ามีการฟ้องหรือไม่ หรือได้รับแจ้งจากเจ้าหนี้ว่าเขาฟ้องคุณแล้วแต่หมายศาลยังไม่มาที่บ้านคุณก็ไปขอคัดหมายที่ศาลได้
เพื่อจะได้ทราบรายละเอียดที่เขาฟ้องคุณ, วันเวลาที่ต้องไปศาลและหากจะยื่นคำให้การสู้คดีก็จะได้มีเวลาเตรียมตัวหาทนาย
เพื่อเขียนคำให้การสู้คดีต่อไป

ปิดหมายคือการแปะวางหรือขึงหมายศาลอย่างระวัง
ไว้ณ ภูมิลำเนาจำเลย บริเวณที่พบ สังเกตได้ง่า

ที่มา: http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=12672

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น