บทความที่ได้รับความนิยม

วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เส้นทางสายหมดหนี้ : บันไดขั้นที่ 7 จะจ่ายหนี้เมื่อไหร่และอย่างไรดี

1.จ่ายเมื่อเจรจาขอแฮร์คัทได้ และได้เอกสารยืนยันแน่นอนและได้รับคำยืนยันจากแบงก์แล้ว
2.เมื่อได้รับหมายศาล สามารถเจรจาขอจ่ายหนี้ได้เลย
3.ไปเจรจาตามวันที่ศาลนัด และจ่ายตามที่ตกลงกัน
4.หลังจากที่ศาลตัดสินแล้วก็สามารถเจรจาขอจ่ายได้ จะเป็นก้อนเดียวจบ จะเป็นงวดแบบขั้นบันได จะเป็นการแฮร์คัท ก็แล้วแต่จะตกลงกัน

ลองศึกษาข้อมูลนี้ดูนะคะ

แนวทางปฏิบัติหลังศาลตัดสินแล้ว ว่าคุณเหมาะสมกับแบบไหนระหว่าง การจ่ายหลังคำพิพากษา &รอให้อายัดเงินเดือน


1) การจ่ายเงินหลังคำพิพากษา จะเหมาะกับ คนที่มีบ้าน จำนองบ้าน +โดนฟ้อง 1-3 ราย + เงินเดือนสูง

- กรณีเงินเดือนสูง 30,000 – 50,000 ถ้าปล่อยไปถึงอายัดเงินเดือนมากตาม เดือนละ 9,000 – 15,000

- การโดนฟ้องศาลไม่มาก 1- 3 ราย ถ้าโดนฟ้องติดๆกัน รวมทั้งหมด 3 ราย และแต่ละรายจะต้องผ่อนจ่ายหลังคำพิพากษารายละ 2,000 บาท ในช่วงปีที่ 1 (แบบขั้นบันได) อาจจะจ่ายน้อยบ้าง ครบบ้าง ตามความเหมาะสม ดังนั้นคุณเสียเงินเพื่อผ่อนจ่ายตามคำพิพากษาเฉลี่ย 1,000 - 2,000 * 3 ราย = 3,000 - 6,000 บาท/เดือน ส่วนต่างที่เหลือเมื่อเทียบกับการปล่อยให้อายัดเงินเดือน = 6,000-12,000 บาท/เดือน ก็จะเป็นทั้งการป้องกันเรื่องการโดนบังคับคดี ยึดบ้าน หรือ เพื่อเก็บเงินต่อเดือนมากขึ้น เพื่อเก็บไว้รอ hair cut นั่นเองนะครับ

- คนที่มีบ้าน/บ้านจำนอง และโดนฟ้องหลายราย การผ่อนจ่ายจะมากตาม จนไม่สามารถเก็บเงินได้ วิธีนี้อาจจะไม่ใช่ทางออกที่ดีนั่นเอง


2) การให้ไปจบที่อายัดเงินเดือน จะเหมาะกับ คนที่ไม่มีบ้าน จำนองบ้าน +โดนฟ้องมากกว่า 3 ราย

- เราสามารถเจรจา hair cut ได้ตลอดเหมือนแบบที่ 1


3) แนวทางการ hair cut จะทำตอนไหนระหว่าง (จ่ายตามคำพิพากษา) หรือ (อายัดเงินเดือน) โดยรูปแบบการ hair cut ตั้งแต่ขั้นตอนนี้จะแตกต่างกันแล้วแต่กรณี รายละเอียดตามนี้

3.1 ถ้าไม่มีบ้าน จำนองบ้าน เงินเดือน +/- 10,000
case แบบนี้ หลังศาลตัดสินลูกหนี้จะได้เปรียบเพราะเจ้าหนี้ไม่มีช่องทางจะเอาเงินคุณได้ เลย แต่ถ้าคุณไม่จ่าย หนี้ก็จะติดตัวคุณไปตลอด!!!
ค่อยๆเก็บเงินไปไม่กี่เดือนก็จะ hair cut ได้
3.2 ถ้ามีบ้าน/บ้านติดจำนอง ทรัพย์สิน เงินเดือน +/- 10,000
case นี้การนิ่งเฉยไม่ทำอะไรเลย ถึงแม้จะอายัดเงินเดือนไม่ได้ แต่จะเสียงกับการโดนสืบทรัพย์ได้ ทั้งบ้านที่ไม่ติดจำนอง หรือ บ้านที่ติดจำนองแต่ผ่อนมานาน จนมูลหนี้เหลือน้อยมาก จะเกิดส่วนต่างระหว่างหนี้ กับ ราคาประเมินมาก เจ้าหนี้อาจจะฟ้องบังคับคดีขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินส่วนต่างตรงนี้นั่นเอง
การ hair cut ทำได้เหมือนข้อ 1 แต่จะเสี่ยงมากกว่า ทางออกคือต้องประเมินเรื่องบ้านก่อน และ เจรจากับเจ้าหนี้อย่างต่อเนื่อง ห้ามหายตัวเด็ดขาด

3.3 ถ้าไม่มีบ้าน/ไม่มีบ้านติดจำนอง เงินเดือน > 10,000 - 20,000 case นี้การนิ่งเฉยหลังศาลตัดสิน เจ้าหนี้จะฟ้องบังคับอายัดเงินเดือนได้อย่างเดียว การ hair cut ทำได้ตั้งแต่ศาลตัดสิน จนถึงระหว่างอายัดเงินเดือน ระหว่างอายัดเงินเดือนก็สามารถเจรจา hair cut ได้ขอเพียงมีเงินพร้อม และเจรจาจนพอใจทั้ง 2 ฝ่าย


3.4 ถ้ามีบ้าน/มีบ้านติดจำนอง เงินเดือน >10,000 -20,000
case นี้การนิ่งเฉย หรือคิดว่าจะปล่อยให้อายัดเงินเดือนต้องระวัง เพราะเจ้าหนี้จะทำการสืบทรัพย์และบังคับยึดบ้าน ก่อนถึงขั้นตอนอายัดเงินเดือนได้ จึงควรต้องเจรจากับเจ้าหนี้ให้ได้ว่าจะให้เราผ่อนจ่ายเท่าไหร่ ห้ามหายหน้าเด็ดขาด เงื่อนไขเจรจาที่ได้ผลดีคือขอจ่ายแบบขั้นบันได เริ่มปีที่1 น้อย แล้วค่อยๆเพิ่มไป ตามความเหมาะสม) หลังจากได้เงื่อนไขแล้วก็ชำระหนี้ไปอย่างสม่ำเสมอ จ่ายพอดีบ้าง น้อยบ้าง แบบสมเหตุสมผล เพื่อไม่ให้เจ้าหนี้ฟ้องบังคับคดีเราได้ หรือถ้าแก้ไขเรื่องบ้านได้แล้ว จะให้ไปจบที่อายัดเงินเดือนก็ย่อมทำได้

การ hair cut จะต้องพิจารณามากกว่าข้อ 3.3 เนื่องจาก มีบ้าน/จำนองบ้าน การปล่อยให้ไปถึงขั้นตอนอายัดเงินเดือน บ้าน/บ้านจำนอง อาจจะได้รับผลกระทบด้วย

3.5 ถ้ามีบ้าน/มีบ้านติดจำนอง เงินเดือนสูงๆ เช่น 30,000 - 50,000 case นี้ถ้านิ่งเฉยหลังศาลตัดสิน จะเสี่ยองต่อการโดนยึดทรัพย์เหมือนข้อ 3.4 อีกทั้งการอายัดเงินเดือนก็จะโดนมาก คือ 30% = 9,000 - 15,000 (ภาระที่หนักมากนั่นเอง) จึงมีหลายทางเลือก เนื่องจากมีรายได้สูง

- การขอจ่ายหลังคำพิพากษา เพื่อลดภาระการชำระหนี้มากๆๆ นั่นเอง เช่น ขอจ่าย 1,500 หรือ 2,000 หรือ 2,500 ต่อ/เดือน แบบขั้นบันได มีน้อยจ้ายน้อย จ่ายพอดีบ้าง ซึ่งการจ่ายแบบนี้จะน้อยกว่าโดนอายัดเงินเดือน แต่ต้องโดนฟ้อง 1-3 รายเท่านั้น ถึงจะคุ้ม เงินส่วนต่างก็เก็บไว้เพื่อรอ hair cut เป้นต้น

- ถ้าโดนฟ้องเกิน 3 ราย การจ่ายหลังคำพิพากษาจะไม่คุ้ม เช่น โดนฟ้อง 5 ราย จะต้องผ่อนจ่ายเกือบ 10,000 บาท/เดือน ซึ่งจะทำให้ไม่มีเงินเหลือเก็บเพื่อ hair cut เป็นต้น

http://www.consumerthai.org/compliant_board1/view.php?id=10152
*** ถ้าศาลตัดสินแล้วสักสองสามเดือน ลูกหนี้ยังไม่ยอมจ่ายหนี้อีก คราวนี้แหล่ะ การบังคับคดี(อายัดเงินเดือน/ยึดทรัพย์)ก็จะตามมา

ที่มา  http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=14748

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น