บทความที่ได้รับความนิยม

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

เคลียร์หนี้บัตรเครดิตแบบมือโปร

พอดีไปเจอข้อความที่น่าสนใจ จึงขอนำมาลงไว้ให้อ่านกัน

อาจจะสายไปสำหรับผมเองและพวกเราบางคน แต่ถ้ามีใครยังไม่อาการหนักนักก็อาจนำไปใช้ได้บ้างนะครับ.....


เคลียร์หนี้บัตรเครดิตแบบมือโปร
สัปดาห์ที่แล้ว ผมเปิดศักราชรับปีใหม่ ด้วยการแนะนำ 5 เทคนิค เริ่มต้นในการ เคลียร์หนี้บัตรเครดิต และในตอนท้ายสัญญาเอาไว้ด้วยว่าจะนำเสนอเทคนิคเคลียร์หนี้บัตรเครดิตขั้นสูง สำหรับแฟนคอลัมน์ที่เป็นมือเซียน

คำเตือน!! คอลัมน์ประจำสัปดาห์นี้ไม่เหมาะกับลูกหนี้ ที่ตั้งใจจะเบี้ยวหนี้แบงก์ หรือไม่มีความตั้งใจจริง ที่จะใช้หนี้คืนแบงก์ ประเมินกำลังตัวเอง ก่อนแปลงหนี้

หากท่านได้ประเมินแผนการเงินของตนเอง และแน่ใจแล้วว่าไม่สามารถจ่ายชำระหนี้ บัตรเครดิตทั้งหมดให้เสร็จสิ้นได้โดยเร็ว

โดยเฉพาะหากท่านยังพอเหลือบ้าน และที่ดิน อาคารพาณิชย์ ทาวน์เฮ้าส์ หรือแม้แต่ คอนโดมิเนียม อยู่บ้าง ขอแนะนำให้เอาไปใช้ เป็นหลักประกันเพื่อขอกู้สินเชื่อ เพื่อที่อยู่อาศัยมาโปะหนี้

มีหลายเหตุผลที่แนะนำเช่นนี้ ประการแรก ท่านสามารถนำเงินค่างวด ผ่อนชำระหนี้ ในแต่ละเดือนมาขอหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาในวงเงินไม่เกิน 1 หมื่นบาท

ประการที่สอง การที่ท่านมีขีดความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ในแต่ละเดือนค่อนข้างจำกัดทำให้ ไม่เหมาะที่จะทนกัดฟัน ผ่อนชำระตามอัตราขั้นต่ำต่อไป คงต้องยอมรับความจริงว่าภาระหนี้สินนี้ต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน (ส่วนใหญ่ ไม่ต่ำกว่า 3-5 ปี) ถึงจะเคลียร์ได้หมด

ทางออก ที่ดี ที่สุด ก็คือ ต้องหาวิธี ยืดระยะเวลา ในการ ผ่อนชำระหนี้ ออกไป ให้นานที่สุด ด้วยต้นทุน อัตรา ดอกเบี้ย ที่ต่ำที่สุด และสินเชื่อ เพื่อที่อยู่ อาศัย ก็คือ หนึ่งใน ทางเลือก ดังกล่าว

ประการสุดท้าย เนื่องจาก สินเชื่อ เพื่อที่อยู่อาศัย เป็นสินเชื่อ ประเภท ที่มี อสังหาริมทรัพย์ เป็นหลัก ประกัน และมี ระยะเวลา ในการ ผ่อนชำระหนี้คืน ระยะยาว แบบแน่นอน จึงมี ต้นทุน อัตรา ดอกเบี้ยต่ำ กว่าอัตรา ดอกเบี้ย บัตรเครดิต มากพอสมควร

แม้ว่า จะนับรวม ค่าธรรมเนียม ในการ จดจำนอง เป็นหลัก ประกัน เข้าไป ด้วยแล้ว ก็ตาม อีกทั้ง การผ่อน ชำระ ค่างวด ในแต่ละเดือน ยังเป็น แบบลดต้น ลดดอก ซึ่งจะช่วยให้ ลูกค้า มีภาระ ดอกเบี้ย ที่ต้องจ่าย ในแต่ละงวด ลดน้อยลง ไปเรื่อยๆ เมื่อระยะเวลา ผ่านไป

แต่ถ้า ไม่สะดวก ในการ เอาที่อยู่ อาศัย ซึ่งเป็น สมบัติ ชิ้นสุดท้าย ไปเสี่ยง กับเรื่องนี้ ก็เสนอ ให้พิจารณา สินเชื่อ รายย่อย อื่นๆ ประเภท ต้องใช้ หลักประกัน มาค้ำ ประกัน วงเงิน เช่น โอนลอย ทะเบียน รถยนต์ เป็นต้น และควรมี ระยะเวลา ในการ ชำระคืน แน่นอน อย่างน้อย สัก 3 ปี

กู้ยืมเงิน จากแหล่ง ที่อาจ ถูกมอง ข้ามไป
ถ้าท่าน เป็นหนี้ บัตรเครดิต เพราะหย่อนยาน ในเรื่อง วินัยทาง การเงิน แต่ได้วาง แผนชีวิต และการ ออมเอา ไว้บ้าง ตามสมควร เช่น ซื้อ "กรมธรรม์ ประกันชีวิต" ที่มี ระยะเวลา คุ้มครอง ตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป หรือเป็น สมาชิก "สหกรณ์ ออมทรัพย์" หรือ "กองทุน สำรอง เลี้ยงชีพ" เป็นต้น

ต้องบอกว่า ท่านยัง คงพอมี ความหวัง อยู่บ้าง เพราะท่าน มีสิทธิ ขอรับ ความช่วยเหลือ ในรูป ของวงเงินกู้ อัตรา ดอกเบี้ยต่ำ ตามเงื่อนไข และสิทธิ ประโยชน์ ที่เขา กำหนดไว้ เช่น กู้ได้ ไม่เกิน ครึ่งหนึ่ง ของทุน ประกันชีวิต หรือสูงสุด ไม่เกิน ยอดเงิน สะสม ในกองทุน สำรอง เลี้ยงชีพ เป็นต้น

อย่าลืม ศึกษา รายละเอียด และเงื่อนไข ในการ กู้ยืมเงิน ให้ถี่ถ้วน ก่อนที่จะ ตัดสินใจ ใช้บริการ

สำหรับ ผู้ถือบัตร ที่เป็น พนักงาน องค์กร ธุรกิจต่างๆ น่าจะลอง ศึกษา หาข้อมูล เพิ่มเติมว่า บริษัท ของท่าน มีสวัสดิการ "วงเงิน กู้ยืม ฉุกเฉิน" หรือ "วงเงิน กู้ยืม บรรเทาทุกข์ อัตรา ดอกเบี้ยต่ำ" ให้ใช้ บริการ หรือไม่ แม้ว่า จะเป็น จำนวนเงิน ที่ไม่ มากนัก และท่าน คงต้อง ถูกหัก เงินเดือน ไปชำระหนี้ เลยทันที จงอย่า ลังเล ที่จะรีบ ตะครุบ โอกาส ดังกล่าว

เจรจา ต่อรอง กับแบงก์ ผู้ออกบัตร
หลายท่าน อาจจะ ไม่ทราบ มาก่อนว่า ในช่วง ที่ผ่านมา แบงก์หลายแห่ง เปิดโอกาสให้ลูกค้า รายย่อย มาเจรจา ต่อรอง ประนี ประนอมหนี้ และกลุ่ม ลูกค้า รายย่อย ที่แบงก์ ให้ความสำคัญ เป็นลำดับ ต้นๆ ในการ เจรจา ด้วย ก็คือ ลูกหนี้ บัตรเครดิต โดยเฉพาะ กลุ่มที่ มีสถานะ เป็นลูกหนี้ เอ็นพีแอล ของแบงก์

เหตุผล หรือครับ เพราะ ว่าหนี้ บัตรเครดิต เป็นหนี้ ที่ไม่มี หลักประกัน มีโอกาส ที่จะเป็น หนี้สูญ ได้มาก และเร็วกว่า หนี้ประเภท อื่น แบงก์ส่วนใหญ่ จึงยอม ที่จะขาดทุน นิดหน่อย ดีกว่า เสียเวลา เสียเงิน ไปฟ้องร้องกัน แม้บางครั้ง ได้รับ คำพิพากษา ให้ชนะคดี แต่ต้อง ตีเป็น หนี้สูญ เพราะหาตัว จำเลย ไม่เจอ

แนวทาง ในการ เจรจา ที่อยาก จะแนะนำ ให้เป็น ข้อมูล ก็คือ ถ้ายอดหนี้ ไม่สูง มากนัก (ไม่เกิน 5 หมื่นบาท) ก็อาจ จะเริ่ม จาก "ขอลดหย่อน ค่าธรรมเนียม ปรับ กรณี ผิดนัด ชำระหนี้" "ขอปรับลด อัตรา ดอกเบี้ย จากอัตรา สูงสุด กรณี ผิดนัด ชำระหนี้ เป็นอัตรา ดอกเบี้ยปกติ" "ขอยกเว้น การคิด ดอกเบี้ย จากยอดหนี้ คงเหลือ จนกว่า จะชำระหนี้ เสร็จสิ้น"

แต่ถ้า ยอดหนี้ มากหน่อย ก็อาจจะ "เจรจา ตกลง ผ่อนจ่าย หนี้คืน (สูงกว่า อัตรา ผ่อนชำระ ขั้นต่ำ) เป็นระยะเวลา 1-3 ปี โดยขอ ส่วนลด จากหนี้ เงินต้น และดอกเบี้ย ที่ต้อง ชำระ ในช่วงเวลา ดังกล่าว" หรือ "ขอลด ยอดหนี้เงินต้น และดอกเบี้ยลง อย่างน้อย 20-30% แล้ว จ่ายคืนหนี้ส่วนที่เหลือ คืนให้ทันที ซึ่งภาษาทางการหน่อย เขาเรียกกันว่า ให้เจ้าหนี้ยอมแฮร์คัท (hair-cut) ร่วมเจ็บตัวด้วย" เป็นต้น

กำลังจะเข้าไคลแม็กซ์อยู่พอดี เนื้อที่หมดซะก่อน คงต้องอดใจรอตอนจบ ในสัปดาห์หน้า รับรองว่าผมไม่ยุให้ท่าน "ชักดาบ" หรอกครับ
เรื่อง: บุญเลิศ อันประเสริฐพร
คอลัมน์ Money Gossip


ขออนุญาตสรุปประเด็น เพื่อย้อนเตือน ความทรงจำ กันสั้นๆ หนี้บัตรเครดิต แบบมือโปร เอาไว้ 3 วิธี ด้วยกัน ดังนี้

แปลงหนี้ บัตรเครดิต เป็นหนี้ระยะยาว ดอกเบี้ยต่ำ และผ่อนแบบ ลดต้นลดดอก

กู้ยืม จากแหล่ง เงินกู้ ที่อาจ ถูกมอง ข้ามไป เช่น ประกันชีวิต กองทุน สำรอง เลี้ยงชีพ สวัสดิการ เงินกู้ ฉุกเฉิน ดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น

เจรจา ต่อรอง กับแบงก์ ผู้ออกบัตร เพื่อขอลด ขอยกเว้น ค่าปรับ ค่าธรรมเนียม ต่างๆ หรือขอลดยอด หนี้เงินต้น และดอกเบี้ย แล้วจ่ายหนี้ ปิดบัญชี เป็นต้น

ถ้าหากเจรจา กันมาถึง ขั้นนี้ ยังหา ข้อสรุป หรือตกลง กับแบงก์ ไม่ได้ ก็นับว่า ปัญหา หนักหนาสาหัส เอาการ ผมเดา เอาว่า แบงก์คง ดำเนินการ ส่งเรื่อง ฟ้องศาล อย่างแน่นอน

ท่านผู้อ่าน คงนึก อยากจะรู้แล้ว ใช่ไหมครับ ว่าควร จะทำอย่างไร หรือ ยังพอมี ทางจะ ทำอะไรได้ ดีกว่า การก้มหน้า รับชะตากรรม ที่จะเกิดขึ้น ที่สุดแล้ว...ต้องร้องขอ ความเมตตา จากศาล

เดิมทีแบงก์ จะมีข้อจำกัด ในการฟ้องร้อง ทางแพ่ง ลูกหนี้ ผู้ถือบัตร บางราย มากพอ สมควร ไม่ว่า จะเป็น ในเรื่อง ของอายุความ ในการ ดำเนินคดี ซึ่งจะสั้น กว่าปกติ คือ มีอายุ ความเพียง 2 ปี นับตั้งแต่ ได้มีการติดต่อ กับแบงก์ เป็นครั้งสุดท้าย

หรืออย่างกรณี ที่มียอด ทุนทรัพย์ ในการฟ้องร้อง เป็นจำนวนเงิน ไม่มากนัก รวมทั้ง กรณีที่ แบงก์ไม่ทราบ ถิ่นที่อยู่ แน่นอน ของลูกหนี้ ผู้ถือบัตร หรือตามล่ าหาตัวกัน ไม่เจอแล้ว

เพราะแบงก์ ต้องเสีย ค่าใช้จ่าย ในการ ส่งเจ้าหน้าที่ ไปเร่งรัดหนี้ ค่อนข้างสูง รวมทั้ง หากต้องการ ส่งเรื่องดำเนินการ ฟ้องร้อง ต่อศาล ก็จะต้อง เสียค่า ใช้จ่ายจิปาถะ ในการแต่งทนาย และค่า ธรรมเนียมศาล ในอัตรา 2.5 % ของยอด ทุนทรัพย์

พูดง่ายๆ ก็คือ ได้ไม่คุ้มเสีย ยิ่งทำก็ยิ่งเข้าเนื้อ
ครั้นจะคิด ฟ้องล้มละลาย ลูกหนี้ ผู้ถือบัตร บางราย เพื่อขู่ ให้ลูกหนี้ รีบติดต่อ ชำระหนี้คืน ก็คงใช้ไม่ค่อยได้ผล เสียแล้ว เพราะกฎหมาย ได้ปรับ เพิ่มยอด ทุนทรัพย์ ขั้นต่ำ ที่จะสามารถ ฟ้องล้ม ละลายให้สูงขึ้น จากเดิม เป็นจำนวนมาก อีกทั้ง ลูกหนี้ ก็มีโอกาส ที่จะเปลี่ยน สถานภาพ จากบุคคล ล้มละลาย กลับมาเป็นปกติ ได้ใน ระยะเวลา ไม่นานนัก

แน่นอนครับ ลูกหนี้ ที่พอรู้ช่องโหว่ ตรงนี้ ก็มักเอาไปใช้ หาประโยชน์ เบี้ยวหนี้แบงก์ เอาเสียเฉยๆ ซึ่งสร้าง ความปวดเศียร เวียนเกล้า ให้กับนายแบงก์ เป็นอย่างมาก

อย่างไร ก็ดี ขณะนี้ แบงก์สามารถ ดำเนินการ ฟ้องร้อง ลูกหนี้ คดีบัตรเครดิต ที่มียอดทุนทรัพย์ ไม่เกิน 4 หมื่นบาท เป็นคดี มโนสาเร่ ได้แล้ว ซึ่งการ ฟ้องร้อง และการพิพากษา จะเป็นไป อย่างรวดเร็ว อีกทั้ง มีค่าธรรมเนียม ขึ้นศาล เพียง 200 บาท ต่อคดี เท่านั้น นับได้ว่า เป็นวิธี การแก้เผ็ด ลูกหนี้ ที่จงใจ เบี้ยวหนี้ ได้ดี ทางหนึ่ง

ถ้าหากเรื่อง ถึงโรงถึงศาล ทางออก สุดท้าย ก็คือ ต้องร้อง ขอความ เมตตา จากศาล ในการ ขอลดหย่อนหนี้ และดอกเบี้ย ที่แบงก์ จะเรียกเก็บ ให้บรรเทา เบาบางลง รวมทั้ง ให้มีเงื่อนไข ในการ ขอผ่อนชำระ หนี้คืน ตามกำลัง ความสามารถ ที่มี

เพราะศาลจะ เริ่มต้นจาก การไกล่เกลี่ย ให้แบงก์ และลูกหนี้ ไปเจรจา ประนี ประนอม ยอมความกัน เสียก่อน หากตกลง กันได้ ก็จะได้ ไม่ต้อง มารบกวนเวลา ไต่สวน ของศาล

แต่ถ้าเรื่อง เลยเถิดไป จนถึงต้อง มีการนัด สืบพยาน และพิจารณา หลักฐานต่างๆ แล้ว จงอย่าขาด นัดศาลโดย ไม่มีเหตุผล อันสมควร เด็ดขาด

พบเห็น มาหลาย รายแล้ว ที่ศาล พิจารณา ตัดสินคดี โดยให้น้ำหนัก ของการ สืบพยาน และหลักฐาน ของแบงก์เพียง ฝ่ายเดียว เพราะลูกหนี้ ผู้ถือบัตร ขาดนัดศาล ติดต่อกัน หลายครั้ง โดยไม่ แสดงตัว

ถึงแม้ว่า จะรู้อยู่แล้ว ว่า อย่างไรเสีย แบงก์คงชนะ คดีค่อนข้าง แบเบอร์ เพราะสามารถ พิสูจน์ได้ว่า ลูกหนี้ เป็นหนี้ แบงก์จริง มีมูลเหตุ แห่งหนี้ และพยาน หลักฐาน แห่งหนี้ ครบถ้วน

แต่ข้อเท็จจริง ที่สังเกต ได้ประการ หนึ่ง ก็คือ ลูกหนี้ มักจะได้รับ ความกรุณา จากศาล ในการลดหย่อน ค่าปรับ ค่าธรรมเนียม ต่างๆ หรืออัตรา ดอกเบี้ย ที่จะคิด จากลูกหนี้ ได้บ้าง ตามสมควร รวมทั้งบางครั้ง ยังอนุญาต ให้ลูกหนี้ ผ่อนชำ ระหนี้ คืนด้วย

สรุปกันง่ายๆ ตรงนี้ได้ว่า ให้ขอในสิ่ง ที่ควรจะขอ เพราะถ้าไม่ขอ ก็คง ไม่มีใคร คิดอยาก จะให้ แล้วเมื่อ ตกลงกัน ไว้อย่างไร ก็จงปฏิบัติ ตามนั้น อย่างเคร่งครัด

ก็ครบถ้วน กระบวน ความกัน เพียงแค่นี้ กับกลเม็ด เด็ดพราย ที่จะใช้เคลียร์ หนี้บัตรเครดิต ท่านผู้อ่านท่านใด มีข้อคิดเห็นที่พิสดาร มากกว่าที่ Money Gossip ได้เสนอแนะไป ก็ยินดีน้อมรับฟังครับ
เรื่อง : บุญเลิศ อันประเสริฐพร
คอลัมน์ Money Gossip

ที่มา: http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=320

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น