1) การจ่ายเงินหลังคำพิพากษา จะเหมาะกับ คนที่มีบ้าน จำนองบ้าน +โดนฟ้อง 1-3 ราย + เงินเดือนสูง
- กรณีเงินเดือนสูง 30,000 – 50,000 ถ้าปล่อยไปถึงอายัดเงินเดือนมากตาม เดือนละ 9,000 – 15,000
- การโดนฟ้องศาลไม่มาก 1- 3 ราย ถ้าโดนฟ้องติดๆกัน รวมทั้งหมด 3 ราย และแต่ละรายจะต้องผ่อนจ่ายหลังคำพิพากษารายละ 2,000 บาท ในช่วงปีที่ 1 (แบบขั้นบันได) อาจจะจ่ายน้อยบ้าง ครบบ้าง ตามความเหมาะสม ดังนั้นคุณเสียเงินเพื่อผ่อนจ่ายตามคำพิพากษาเฉลี่ย 1,000 - 2,000 * 3 ราย = 3,000 - 6,000 บาท/เดือน ส่วนต่างที่เหลือเมื่อเทียบกับการปล่อยให้อายัดเงินเดือน = 6,000-12,000 บาท/เดือน ก็จะเป็นทั้งการป้องกันเรื่องการโดนบังคับคดี ยึดบ้าน หรือ เพื่อเก็บเงินต่อเดือนมากขึ้น เพื่อเก็บไว้รอ hair cut นั่นเองนะครับ
- คนที่มีบ้าน/บ้านจำนอง และโดนฟ้องหลายราย การผ่อนจ่ายจะมากตาม จนไม่สามารถเก็บเงินได้ วิธีนี้อาจจะไม่ใช่ทางออกที่ดีนั่นเอง
2) การให้ไปจบที่อายัดเงินเดือน จะเหมาะกับ คนที่ไม่มีบ้าน จำนองบ้าน +โดนฟ้องมากกว่า 3 ราย
- เราสามารถเจรจา hair cut ได้ตลอดเหมือนแบบที่ 1
3) แนวทางการ hair cut จะทำตอนไหนระหว่าง (จ่ายตามคำพิพากษา) หรือ (อายัดเงินเดือน) โดยรูปแบบการ hair cut ตั้งแต่ขั้นตอนนี้จะแตกต่างกันแล้วแต่กรณี รายละเอียดตามนี้
3.1 ถ้าไม่มีบ้าน จำนองบ้าน เงินเดือน +/- 10,000
case แบบนี้ หลังศาลตัดสินลูกหนี้จะได้เปรียบเพราะเจ้าหนี้ไม่มีช่องทางจะเอาเงินคุณได้ เลย แต่ถ้าคุณไม่จ่าย หนี้ก็จะติดตัวคุณไปตลอด!!!
ค่อยๆเก็บเงินไปไม่กี่เดือนก็จะ hair cut ได้
3.2 ถ้ามีบ้าน/บ้านติดจำนอง ทรัพย์สิน เงินเดือน +/- 10,000
case นี้การนิ่งเฉยไม่ทำอะไรเลย ถึงแม้จะอายัดเงินเดือนไม่ได้ แต่จะเสียงกับการโดนสืบทรัพย์ได้ ทั้งบ้านที่ไม่ติดจำนอง หรือ บ้านที่ติดจำนองแต่ผ่อนมานาน จนมูลหนี้เหลือน้อยมาก จะเกิดส่วนต่างระหว่างหนี้ กับ ราคาประเมินมาก เจ้าหนี้อาจจะฟ้องบังคับคดีขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินส่วนต่างตรงนี้นั่นเอง
การ hair cut ทำได้เหมือนข้อ 1 แต่จะเสี่ยงมากกว่า ทางออกคือต้องประเมินเรื่องบ้านก่อน และ เจรจากับเจ้าหนี้อย่างต่อเนื่อง ห้ามหายตัวเด็ดขาด
3.3 ถ้าไม่มีบ้าน/ไม่มีบ้านติดจำนอง เงินเดือน > 10,000 - 20,000
case นี้การนิ่งเฉยหลังศาลตัดสิน เจ้าหนี้จะฟ้องบังคับอายัดเงินเดือนได้อย่างเดียว
การ hair cut ทำได้ตั้งแต่ศาลตัดสิน จนถึงระหว่างอายัดเงินเดือน ระหว่างอายัดเงินเดือนก็สามารถเจรจา hair cut ได้ขอเพียงมีเงินพร้อม และเจรจาจนพอใจทั้ง 2 ฝ่าย
3.4 ถ้ามีบ้าน/มีบ้านติดจำนอง เงินเดือน >10,000 -20,000
case นี้การ นิ่งเฉย หรือคิดว่าจะปล่อยให้อายัดเงินเดือนต้องระวัง เพราะเจ้าหนี้จะทำการสืบทรัพย์และบังคับยึดบ้าน ก่อนถึงขั้นตอนอายัดเงินเดือนได้
จึงควรต้องเจรจากับเจ้าหนี้ให้ได้ว่าจะให้เราผ่อนจ่ายเท่าไหร่ ห้ามหายหน้าเด็ดขาด เงื่อนไขเจรจาที่ได้ผลดีคือขอจ่ายแบบขั้นบันได เริ่มปีที่1 น้อย แล้วค่อยๆเพิ่มไป ตามความเหมาะสม) หลังจากได้เงื่อนไขแล้วก็ชำระหนี้ไปอย่างสม่ำเสมอ จ่ายพอดีบ้าง น้อยบ้าง แบบสมเหตุสมผล เพื่อไม่ให้เจ้าหนี้ฟ้องบังคับคดีเราได้ หรือถ้าแก้ไขเรื่องบ้านได้แล้ว จะให้ไปจบที่อายัดเงินเดือนก็ย่อมทำได้
การ hair cut จะต้องพิจารณามากกว่าข้อ 3.3 เนื่องจาก มีบ้าน/จำนองบ้าน การปล่อยให้ไปถึงขั้นตอนอายัดเงินเดือน บ้าน/บ้านจำนอง อาจจะได้รับผลกระทบด้วย
3.5 ถ้ามีบ้าน/มีบ้านติดจำนอง เงินเดือนสูงๆ เช่น 30,000 - 50,000
case นี้ถ้านิ่งเฉยหลังศาลตัดสิน จะเสี่ยองต่อการโดนยึดทรัพย์เหมือน ข้อ 3.4 อีกทั้งการอายัดเงินเดือนก็จะโดนมาก คือ 30% = 9,000 - 15,000 (ภาระที่หนักมากนั่นเอง) จึงมีลายทางเลือก เนื่องจากมีรายได้สูง
- การขอจ่ายหลังคำพิพากษา เพื่อลดภาระการชำระหนี้มากๆๆ นั่นเอง เช่น ขอจ่าย 1,500 หรือ 2,000 หรือ 2,500 ต่อ/เดือน แบบขั้นบันได มีน้อยจ้ายน้อย จ่ายพอดีบ้าง ซึ่งการจ่ายแบบนี้จะน้อยกว่าโดนอายัดเงินเดือน แต่ต้องโดนฟ้อง 1-3 รายเท่านั้น ถึงจะคุ้ม เงินส่วนต่างก็เก็บไว้เพื่อรอ hair cut เป้นต้น
- ถ้าโดนฟ้องเกิน 3 ราย การจ่ายหลังคำพิพากษาจะไม่คุ้ม เช่น โดนฟ้อง 5 ราย จะต้องผ่อนจ่ายเกือบ 10,000 บาท/เดือน ซึ่งจะทำให้ไม่มีเงินเหลือเก็บเพื่อ hair cut เป็นต้น
ห้ามคิดว่าต้องแก้ไขด้วยวิธีเดียวกัน หรือเหมือนกันหมดทุก case นะครับ
ที่มา: http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=10152
แหล่งข้อมูลการแก้ปัญหาหนี้ สินเชื่อบุคคลและบัตรเครดิต
บทความที่ได้รับความนิยม
-
ทางออกของคนเป็นหนี้แล้วไม่รู้จะหาแหล่งรวมหนี้ได้ที่ไหนที่นี่เลยคับ บริษัท รีโซลูชั่น เวย์ จำกัด ให้บริการสินเชื่อสำหรับผู้ที่ประสบปัญหา...
-
การเจรจาต่อรองปิดบัญชีขอส่วนลด( Hair Cut ) สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือความแน่นอนในยอดเงินในการชำระหนี้ การโชว์เสต็ปครั้งนี้ผมมีภาพประกอบและเร...
-
เจ้าหนี้-ลูกหนี้ ควรรู้ไว้ ทวงหนี้อย่างไรไม่ผิดกฎหมาย ลูกหนี้ร้องเรียนได้หากพบถูกปฏิบัติไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ 2558 ...
-
ประเมินสถานการณ์ทางการเงินของคุณ 1) ตรวจสอบทรัพย์สินของคุณ ขั้นตอนแรกในการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเงินเพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนของสถานการณ์ท...
-
"นิยาม" ของคำว่า Hair-cut คือ การจ่ายชำระมูลหนี้ ที่เรามีค้างจ่ายไว้กับเจ้าหนี้ โดยมีข้อตกลงเจรจา เป็นการนำเสนอที่จะลดมูลหนี้ที...
วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553
เสริมขั้นที่ 6 เสริมกรณีเจ้าหนี้ไม่ยอมอะไรเลย ทำไมถึงไม่ต้องไปสนใจเรื่องดอกเบี้ยเลย
(กรณีที่ แบงค์เขี้ยวมากๆๆ ไม่ยอมลดอะไรเลยไม่ยอมผ่อนปรน ตามเงื่อนไขของลูกหนี้เลย จะเอาตามเงื่อนของแบงค์ฝ่ายเดียว)
ก็ไม่ต้องไปเครียดมาก พยายามเจรจาเอาเงื่อนไขผ่อนจ่ายแบบขั้นบันไดมาก่อน แล้วก็ผ่อนเข้าไปตามปกติ..ตรงบ้าง น้อยบ้าง ตามที่เราไหว
เงินส่วนที่เหลือก็เก็บเงินรอ hair cut อย่างเดียว..
สุดท้าย ดอกเบี้ยเป็นเพียง ตัวเลข เท่านั้น
ที่มา : http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=10152
ก็ไม่ต้องไปเครียดมาก พยายามเจรจาเอาเงื่อนไขผ่อนจ่ายแบบขั้นบันไดมาก่อน แล้วก็ผ่อนเข้าไปตามปกติ..ตรงบ้าง น้อยบ้าง ตามที่เราไหว
เงินส่วนที่เหลือก็เก็บเงินรอ hair cut อย่างเดียว..
สุดท้าย ดอกเบี้ยเป็นเพียง ตัวเลข เท่านั้น
ที่มา : http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=10152
ป้ายกำกับ:
เจรจาหนี้,
ผ่อนชำระหนี้,
hair cut
ขั้นที่ 6 แนวทางปฏิบัติเมื่อคดีความที่เข้าสู่ศาลแพ่ง
1 มาจากการเจรจา hair cut ไม่ได้ / ไม่ทัน เนื่องจาก เราไม่มีเงินพอ หรือ แบงค์ต้องการเงินคืนเร็ว เลยฟ้องเร็ว อันนี้ไม่มีอะไรแน่นอน
2 ขั้นตอนนี้ก็ยังสามารถเจรจา hair cut ได้เรื่อยๆ จำไว้ว่าการ hair cut ทำได้ในทุกขั้นตอน ขอเพียงเรามีเงิน
3 วันไปขั้นศาล ควรไปทุกนัดจะดีมาก
3.1 ไปนัดแรก เป็น นัดไกล่เกลี่ย
ก) หากคู่ความ ตกลงกันได้ในต้นเงิน ดอกเบี้ย ระยะเวลา และค่าใช้จ่ายต่อกัน เช่น ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ ค่าทนายความโจทก์ 500-1,000 บาท
(ก.1) ก็จะลงนามใน บันทึกการไกล่เกลี่ย โดยคู่ความ โจทก์ ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ หรือทนายความโจทก์ และ จำเลย หรือทนายความจำเลยและ ผู้ไกล่เกลี่ย
(ก.2) เจ้าหน้าที่ศาล จะทำ คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมตามที่คู่ความตกลงกันไปให้ผู้พิพากษาลงนาม โดยท่านผู้พิพากษาจะให้คู่ความทั้งสองฝ่ายพร้อมกันต่อหน้า
(ก.3) ท่านผู้พิพากษาจะอ่านคำพิพากษาให้สองฝ่ายทราบ และแก้ไขข้อความให้ตรงกับที่คู่ความ ตกลง พึงพอใจสองฝ่ายเมื่อเป็นที่เข้าใจตรงกันแล้ว
(ก.4) ท่านจะมีคำพิพากษาและลงนามไปตามนั้น พร้อมให้คู่ความลงนาม และมอบคำพิพากษาให้คู่ความเก็บเป็นหลักฐานและปฏิบัติไปตามนั้น
(ก.5) ขั้นตอนเจรจาที่จบลงแบบนี้ คือ เงื่อนไขที่ลูกหนี้ร้องขอ เจ้าหนี้พอใจ แต่ถ้าไม่ยินยอมก็ไปข้อ (ข)
ข) หากคู่ความไม่ตกลงในนัดไกล่เกลี่ย
(ข.1) จะส่งเรื่องคืนเข้าสู่การนัดสืบพยานเรื่องราวที่ตกลงกันในการไกล่เกลี่ยถือเป็นโมฆะ ไม่นำกลับมาเป็นข้ออ้างในการพิจารณาของศาล
(ข.2) ขั้นตอนที่เจรจา ส่วนใหญ่จะลงเอยแบบนี้มากกว่าข้อ (ก) เพราะโจทก์ (แบงค์) มักไม่ยอมตามเงื่อนไขลูกหนี้ง่ายๆ ขั้นตอนมีคร่าวๆดังนี้ครับ
2.1 หลังมาศาลแล้วจะเจอทนายของแบงค์ (โจทก์) ที่ฟ้อง ให้เราเจรจาเงื่อนไขที่เราต้องการ ถ้าแบงค์ไม่ยอมอะไรเลย ก็ขอเลื่อนคดี (ยืดหนี้)ออกไปก่อน เช่น ใช้เทคนิคเรื่องโบนัสที่จะออกใน 3-4 เดือนข้างหน้า เป็นต้น
2.2 ดังนั้นเทคนิคยืดเวลา คือ การขอเลื่อนคดีออกไป อีก 2-4 เดือน (แต่ไม่ใช่การสู้คดีนะ) ลูกหนี้มีสิทธิ์ ถึงแม้ทนายโจทก์จะไม่อยากให้เลื่อนก็ตาม ลูกหนี้ทุกคนมีสิทธิ์ร้องขอ ควรทำความเข้าประเด็นนี้ให้มากๆ
2.3 หรืออีกเทคนิคคือ การยื่นคำให้การ แต่จะยุ่งยากกว่าข้อ 2.2 (อาจจะต้องจ้างทนาย) ลองประเมินตามความเหมาะสม
2.4 ระหว่างที่รอมาศาลในนัดต่อไป ก็เก็บเงินไปเรื่อยๆ ได้อีกหลายเดือน ระหว่างนี้ถ้าพร้อมก็เจรจา hair cut ได้เลย โจทก์ก็จะถอนฟ้องให้ หรือถ้าเงินยังเก็บได้ไม่พอ ก็ไม่ต้องกังวลใจ ค่อยไปต่อรองหน้าศาลในนัดต่อไปได้
3.2ไปนัดที่ 2 เป็น นัดสืบพยาน
ก) ท่านผู้พิพากษาจะสืบคู่ความทั้งสองฝ่าย และพยานที่กล่าวอ้าง ตามกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงแห่งหนี้
ข) และจะนัดให้คู่ความฟังคำพิพากษาในวันถัดไป
3.3ไปนัดสุดท้าย เป็น นัดฟังคำพิพากษา
ก) มาถึงศาลแล้ว จะเจอทนายโจทก์ก็สามารถเจรจาเงื่อนไขได้ ถ้าเจรจาไม่ได้ก็ลองไปเจรจาหน้าบัลลังค์อีกครั้ง
ข) ผู้พิพากษาจะอ่านคำพิพากษาให้คู่ความทั้งสองฝ่ายฟัง โดยคู่ความสามารถตกลงกันตอนนี้ได้ หรือจะให้เป็นไปตามที่มีคำพิพากษาเลยก็ได้
(ข.1) ส่วนใหญ่ถ้ามาศาลคนเดียว ลูกหนี้ (ตัวเรา) จะขอความเห็นใจจากศาลในขั้นตอนนี้ครับ เช่น เทคนิคขอผ่อนแบบขั้นบันได
ปีที่ 1 = 1,000, 1,500, 2,000
ปีที่ 2 = 1,500, 2,000, 2,500
ปีที่ 3 = 2,000, 2,500, 3,000
ปีที่ 4 ………………………..ก็แล้วแต่ยอดหนี้และความเหมาะสม แต่คงไม่เกิน 10 ปีตามอายุบังคับคดี
(ข.2) จากนั้นศาลท่านจะแค่บอกแนวทางสั้นๆ แก่โจทก์ ถ้ายอมก็ตามนั้น ถ้าโจทก์ไม่ยอมก็ตัดสินตามคำฟ้องของเจ้าหนี้
ค) เมื่อท่านมีคำพิพากษาแล้ว คู่ความจะต้องลงนามในคำพิพากษา และรับคำพิพากษาแต่ละฝ่ายกลับไปปฏิบัติตามนั้นถือว่าจบกระบวนการพิจารณาคดี
ง) ค่าใช้จ่ายถ้าไปศาลเองก็ยังไม่ต้องจ่ายอะไร เป็นเรื่องที่ทนายจะไปเรียกเก็บกับทางแบงค์ต้นสังกัดเอง
ที่มา: http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=10152
2 ขั้นตอนนี้ก็ยังสามารถเจรจา hair cut ได้เรื่อยๆ จำไว้ว่าการ hair cut ทำได้ในทุกขั้นตอน ขอเพียงเรามีเงิน
3 วันไปขั้นศาล ควรไปทุกนัดจะดีมาก
3.1 ไปนัดแรก เป็น นัดไกล่เกลี่ย
ก) หากคู่ความ ตกลงกันได้ในต้นเงิน ดอกเบี้ย ระยะเวลา และค่าใช้จ่ายต่อกัน เช่น ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ ค่าทนายความโจทก์ 500-1,000 บาท
(ก.1) ก็จะลงนามใน บันทึกการไกล่เกลี่ย โดยคู่ความ โจทก์ ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ หรือทนายความโจทก์ และ จำเลย หรือทนายความจำเลยและ ผู้ไกล่เกลี่ย
(ก.2) เจ้าหน้าที่ศาล จะทำ คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมตามที่คู่ความตกลงกันไปให้ผู้พิพากษาลงนาม โดยท่านผู้พิพากษาจะให้คู่ความทั้งสองฝ่ายพร้อมกันต่อหน้า
(ก.3) ท่านผู้พิพากษาจะอ่านคำพิพากษาให้สองฝ่ายทราบ และแก้ไขข้อความให้ตรงกับที่คู่ความ ตกลง พึงพอใจสองฝ่ายเมื่อเป็นที่เข้าใจตรงกันแล้ว
(ก.4) ท่านจะมีคำพิพากษาและลงนามไปตามนั้น พร้อมให้คู่ความลงนาม และมอบคำพิพากษาให้คู่ความเก็บเป็นหลักฐานและปฏิบัติไปตามนั้น
(ก.5) ขั้นตอนเจรจาที่จบลงแบบนี้ คือ เงื่อนไขที่ลูกหนี้ร้องขอ เจ้าหนี้พอใจ แต่ถ้าไม่ยินยอมก็ไปข้อ (ข)
ข) หากคู่ความไม่ตกลงในนัดไกล่เกลี่ย
(ข.1) จะส่งเรื่องคืนเข้าสู่การนัดสืบพยานเรื่องราวที่ตกลงกันในการไกล่เกลี่ยถือเป็นโมฆะ ไม่นำกลับมาเป็นข้ออ้างในการพิจารณาของศาล
(ข.2) ขั้นตอนที่เจรจา ส่วนใหญ่จะลงเอยแบบนี้มากกว่าข้อ (ก) เพราะโจทก์ (แบงค์) มักไม่ยอมตามเงื่อนไขลูกหนี้ง่ายๆ ขั้นตอนมีคร่าวๆดังนี้ครับ
2.1 หลังมาศาลแล้วจะเจอทนายของแบงค์ (โจทก์) ที่ฟ้อง ให้เราเจรจาเงื่อนไขที่เราต้องการ ถ้าแบงค์ไม่ยอมอะไรเลย ก็ขอเลื่อนคดี (ยืดหนี้)ออกไปก่อน เช่น ใช้เทคนิคเรื่องโบนัสที่จะออกใน 3-4 เดือนข้างหน้า เป็นต้น
2.2 ดังนั้นเทคนิคยืดเวลา คือ การขอเลื่อนคดีออกไป อีก 2-4 เดือน (แต่ไม่ใช่การสู้คดีนะ) ลูกหนี้มีสิทธิ์ ถึงแม้ทนายโจทก์จะไม่อยากให้เลื่อนก็ตาม ลูกหนี้ทุกคนมีสิทธิ์ร้องขอ ควรทำความเข้าประเด็นนี้ให้มากๆ
2.3 หรืออีกเทคนิคคือ การยื่นคำให้การ แต่จะยุ่งยากกว่าข้อ 2.2 (อาจจะต้องจ้างทนาย) ลองประเมินตามความเหมาะสม
2.4 ระหว่างที่รอมาศาลในนัดต่อไป ก็เก็บเงินไปเรื่อยๆ ได้อีกหลายเดือน ระหว่างนี้ถ้าพร้อมก็เจรจา hair cut ได้เลย โจทก์ก็จะถอนฟ้องให้ หรือถ้าเงินยังเก็บได้ไม่พอ ก็ไม่ต้องกังวลใจ ค่อยไปต่อรองหน้าศาลในนัดต่อไปได้
3.2ไปนัดที่ 2 เป็น นัดสืบพยาน
ก) ท่านผู้พิพากษาจะสืบคู่ความทั้งสองฝ่าย และพยานที่กล่าวอ้าง ตามกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงแห่งหนี้
ข) และจะนัดให้คู่ความฟังคำพิพากษาในวันถัดไป
3.3ไปนัดสุดท้าย เป็น นัดฟังคำพิพากษา
ก) มาถึงศาลแล้ว จะเจอทนายโจทก์ก็สามารถเจรจาเงื่อนไขได้ ถ้าเจรจาไม่ได้ก็ลองไปเจรจาหน้าบัลลังค์อีกครั้ง
ข) ผู้พิพากษาจะอ่านคำพิพากษาให้คู่ความทั้งสองฝ่ายฟัง โดยคู่ความสามารถตกลงกันตอนนี้ได้ หรือจะให้เป็นไปตามที่มีคำพิพากษาเลยก็ได้
(ข.1) ส่วนใหญ่ถ้ามาศาลคนเดียว ลูกหนี้ (ตัวเรา) จะขอความเห็นใจจากศาลในขั้นตอนนี้ครับ เช่น เทคนิคขอผ่อนแบบขั้นบันได
ปีที่ 1 = 1,000, 1,500, 2,000
ปีที่ 2 = 1,500, 2,000, 2,500
ปีที่ 3 = 2,000, 2,500, 3,000
ปีที่ 4 ………………………..ก็แล้วแต่ยอดหนี้และความเหมาะสม แต่คงไม่เกิน 10 ปีตามอายุบังคับคดี
(ข.2) จากนั้นศาลท่านจะแค่บอกแนวทางสั้นๆ แก่โจทก์ ถ้ายอมก็ตามนั้น ถ้าโจทก์ไม่ยอมก็ตัดสินตามคำฟ้องของเจ้าหนี้
ค) เมื่อท่านมีคำพิพากษาแล้ว คู่ความจะต้องลงนามในคำพิพากษา และรับคำพิพากษาแต่ละฝ่ายกลับไปปฏิบัติตามนั้นถือว่าจบกระบวนการพิจารณาคดี
ง) ค่าใช้จ่ายถ้าไปศาลเองก็ยังไม่ต้องจ่ายอะไร เป็นเรื่องที่ทนายจะไปเรียกเก็บกับทางแบงค์ต้นสังกัดเอง
ที่มา: http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=10152
ขั้นที่ 5 อันตรายของการประนอมหนี้, ปรับโครงสร้างหนี้, การให้ FAX บัตรประชาชน
1. มันคือกับดักดีๆ นี่เอง เมื่อเจ้าหนี้เห็นว่าทวงคุณแบบถ่อยๆ เถื่อนๆ แล้วคุณก็ยังไม่จ่ายคุณอึดกว่ามันเจ้าหนี้คุณก็จะเปลี่ยนลุคใหม่ ใส่สูท ผูกไทป์มาคุยกับคุณ
แบบสุดแสนจะสุภาพ ยื่นข้อเสนอดีๆ ให้ปรับโครงสร้างหนี้, ประนอมหนี้กันเถอะนะตัวเองอย่าได้ทำเด็ดขาด
2. เพราะกฎหมายเปิดช่องให้คิดดอกเบี้ยค้างชำระทันทีนับ จากวันที่คุณหยุดจ่ายเจ้าหนี้เกิดสิทธิ์เรียกร้องตามกฎหมายทันทีเขาจะคิด ดอกเบี้ยคุณไม่ได้แต่ถ้าเมื่อไรมีการทำสัญญาใหม่ (การประนอมหนี้, ปรับโครงสร้างหนี้) เขาคิดดอกเบี้ยคุณได้ทันทีและอะไรที่เคยผิด กฎหมายหรือหมกเม็ดก็จะถูกเขาทำให้ถูกและอุดช่องทางการสู้ของคุณหมดและถ้าคุณ จ่ายไปแล้วสะดุดอีก เขาจะฟ้องคุณเร็วมากและคุณไม่มีทางสู้เลย ศาลก็จะไม่เห็นใจด้วย
3. ตั้งเป้าไว้ว่าจะจัดการกับหนี้สินของตัวเองอย่างไรแล้วเดินไปตามนั้น อย่าวอกแวก
4. หน้าที่ของเจ้าหนี้ที่ต้องไปสืบเสาะเอาเองว่าเรามีรายได้อะไรบ้าง ไม่ใช่หน้าที่เราที่ต้องไปบอกไม่ใช่หน้าที่เราที่ต้องไป FAX บัตรประชาชนให้เขาเพื่อบอกว่าอนุญาตให้ฟ้อง
ไม่มี กฎหมายไม่ได้ตัดสิทธิ์เจ้าหนี้ในการฟ้องเรียกร้องให้ลูกหนี้ชดใช้ เจ้าหนี้สามารถฟ้องได้เลยไม่ต้องมาขออนุญาตเราก่อน แต่ที่ให้ส่งไปเพื่อลดภาระและค่าใช้จ่ายของมัน หลอกให้เป็นหลักฐานยอมรับสภาพหนี้ซึ่งน่ารังเกียจมากขอบอก เวลาจะฟ้องเจ้าหนี้ต้องไปขอข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของเราเพื่อดูว่าเรามีภูมิ ลำเนาอยู่ที่ไหนแล้วถึงจะทำสำนวนฟ้องเขาเสียค่าใช้จ่ายก็เลยพยายามผลัก ภาระมาให้ลูกหนี้
ที่มา: http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=10152
แบบสุดแสนจะสุภาพ ยื่นข้อเสนอดีๆ ให้ปรับโครงสร้างหนี้, ประนอมหนี้กันเถอะนะตัวเองอย่าได้ทำเด็ดขาด
2. เพราะกฎหมายเปิดช่องให้คิดดอกเบี้ยค้างชำระทันทีนับ จากวันที่คุณหยุดจ่ายเจ้าหนี้เกิดสิทธิ์เรียกร้องตามกฎหมายทันทีเขาจะคิด ดอกเบี้ยคุณไม่ได้แต่ถ้าเมื่อไรมีการทำสัญญาใหม่ (การประนอมหนี้, ปรับโครงสร้างหนี้) เขาคิดดอกเบี้ยคุณได้ทันทีและอะไรที่เคยผิด กฎหมายหรือหมกเม็ดก็จะถูกเขาทำให้ถูกและอุดช่องทางการสู้ของคุณหมดและถ้าคุณ จ่ายไปแล้วสะดุดอีก เขาจะฟ้องคุณเร็วมากและคุณไม่มีทางสู้เลย ศาลก็จะไม่เห็นใจด้วย
3. ตั้งเป้าไว้ว่าจะจัดการกับหนี้สินของตัวเองอย่างไรแล้วเดินไปตามนั้น อย่าวอกแวก
4. หน้าที่ของเจ้าหนี้ที่ต้องไปสืบเสาะเอาเองว่าเรามีรายได้อะไรบ้าง ไม่ใช่หน้าที่เราที่ต้องไปบอกไม่ใช่หน้าที่เราที่ต้องไป FAX บัตรประชาชนให้เขาเพื่อบอกว่าอนุญาตให้ฟ้อง
ไม่มี กฎหมายไม่ได้ตัดสิทธิ์เจ้าหนี้ในการฟ้องเรียกร้องให้ลูกหนี้ชดใช้ เจ้าหนี้สามารถฟ้องได้เลยไม่ต้องมาขออนุญาตเราก่อน แต่ที่ให้ส่งไปเพื่อลดภาระและค่าใช้จ่ายของมัน หลอกให้เป็นหลักฐานยอมรับสภาพหนี้ซึ่งน่ารังเกียจมากขอบอก เวลาจะฟ้องเจ้าหนี้ต้องไปขอข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของเราเพื่อดูว่าเรามีภูมิ ลำเนาอยู่ที่ไหนแล้วถึงจะทำสำนวนฟ้องเขาเสียค่าใช้จ่ายก็เลยพยายามผลัก ภาระมาให้ลูกหนี้
ที่มา: http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=10152
ป้ายกำกับ:
การประนอมหนี้,
การปรับโครงสร้างหนี้
ขั้นที่ 4 แนวทางรับมือการโดนทวงหนี้โหดช่วง 1-2 เดือนแรก - ขอบเขตระหว่างลูกหนี้ & เจ้าหนี้
1. ต้องทำยังไงให้จิตใจเข้มแข็งไม่มีอะไร ยากหากเราคิดจะทำทลายกำแพงความกลัวในจิตใจลงเสียก่อนเอาง่ายๆ แค่คุณรู้ว่า ที่คนทวงหนี้โทรมาขู่คุณน่ะ จริงๆมันก็กลัวติดคุกเป็นเหมือนกัน และขอให้คุณแม่นในเรื่องของสิทธิของลูกหนี้และขอบเขตการทวงก็พอแล้ว เพราะส่วนใหญ่เป็นการขู่ เช่น จะส่งคนมาหาที่บ้าน จะทำอย่างนั้น อย่างนี้ เอาเข้าจริงๆ ส่วนใหญ่ไม่เห็นมีมา ถึงมาก็แค่มาแบบธรรมดา หรือเป็นคนส่งเอกสารเท่านั้น เป็นต้น
2. จำเอาไว้ให้ดีๆ บ้านหรือที่ทำงานของคุณเป็นพื้นที่ส่วนตัวที่ใครจะรุกล้ำเข้าไปมิได้หากคุณไม่อนุญาต
3. ใครบอกคุณว่าจะส่งคนไปหาที่บ้าน, ที่ทำงานก็ปล่อยให้ไปแต่ไม่ต้องให้พบ แต่ถ้าดึงดันเข้าไปจนได้
แจ้งตำรวจจับข้อหาบุกรุก
4. หรือคุณอนุญาตให้เข้าพบแต่ดันพูดจาสุนัขไม่รับประทานออกแนวข่มขู่, ปะนามหยามเหยียดคุณก้าวร้าว เสียดสี เยาะเย้ยถากถาง
แจ้งความข้อหาขู่กรรโชกทำให้ตกใจกลัวดูหมิ่นซึ่งหน้า
5. ใครโทรหาแจ้งว่าจะอายัดเงินเดือน จะยึดทรัพย์จะเอาตำรวจมาจับหรือจะมาจับเลย
แจ้งตำรวจข้อหาล่วงละเมิดอำนาจศาลแอบอ้างเป็นเจ้าพนักงานแล้วก็ข่มขู่ทำให้ตกใจกลัว
6. ใครโทรมาหาวันละหลายๆรอบ พูดไม่รู้เรื่อง โทรมาหาหลายๆๆคนในที่ทำงาน เพื่อประจานให้อับอาย
ทำหนังสือร้องเรียนถึงแบงค์ชาติ แบงค์เจ้าของบัตร จะมีจดหมายตอบกลับมาจากแบงค์ชาติภายใน 7 วัน และแบงค์ชาติจะไปไล่เบี้ยกับแบงค์ที่จ้างมาทวงหนี้ต่อไป
7. แจ้งความแล้วทำไงต่อ
ให้เอาสำเนาบันทึกประจำวันหรือใบแจ้งความที่ตำรวจให้คุณมาไปถ่ายเอกสาร แล้วทำหนังสือร้องเรียนขึ้น 1 ฉบับเล่าเรื่องราวที่คุณถูกกระทำ ถูกข่มขู่ให้ละเอียดจั่วหัวถึงสถาบันการเงินที่คุณเป็นหนี้อยู่ที่ไอ้หมาล่า เนื้อตัวนั้นมันบอกว่ามันทวงหนี้ให้แล้วลงท้ายจดหมายด้านล่างสุดว่าสำเนาส่ง
1.สำนักนายกรัฐมนตรี
2.ธนาคารแห่งประเทศไทย
3.สภาทนายความ
4.มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
แล้วส่งจดหมายร้องเรียนนั้นพร้อมสำเนาใบแจ้งความไปที่สถาบันการเงินที่คุณ เป็นหนี้อยู่สนง.กม.ที่หมาล่าเนื้อตัวนั้นสังกัดอยู่และสี่ที่ๆ ลงท้ายไว้ในจดหมายร้องเรียน
เพื่อป้องปรามไม่ให้เราถูกล้ำเส้นคุณมากไปกว่านี้
8. การถูกทวงหนี้แบบโหด-เลว-ชั่วที่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 323 ผู้ใดล่วงรู้ความลับของผู้อื่น แล้วเปิดเผยความลับนั้น โดยน่าจะเกิดความเสียหายแก้ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องจำคุก ไม่เกิน 6 เดือน ปรับ 1 พันหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยทำให้เสียชื่อเสีย ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ผู้นั้นผิดฐานหมิ่นประมาท จำคุก 1 ปี ปรับ 2หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 328 ถ้าหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา กระจายเสียงทุกชนิด บันทึกเป็นอักษร จำคุก 2 ปี ปรับ 2แสนบาท
มาตรา 337 บัญญัติว่า ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ ยอมให้ หรือ ยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่า จะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือ ของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำผิดฐานกรรโชก มีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ถ้าความผิดฐานกรรโชกได้กระทำโดย
1. ขู่ว่าจะฆ่า ขู่ว่าจะทำร้ายร่างกายให้ผู้ถูกข่มขืนใจ หรือผู้อื่น ให้ได้รับอันตรายสาหัส หรือขู่ว่าจะทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ของผู้ถูกข่มขืนใจหรือผู้อื่น หรือ
2. มีอาวุธติดตัวมาขู่เข็ญ
ผู้กระทำต้องมีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท ....www.kodmhai.com
9. จากหลักกฎหมายข้างต้น นักทวงหนี้ที่ใช้พฤติกรรมตัวอย่างเช่น เขียนจดหมายข่มขู่ด้วยวาจาหยาบคายหรือเป็นเท็จ ทำร้ายร่างกาย ด่าทอ กักขัง ทำการรบกวนชีวิตประจำวัน เป็นต้น
หากกระทำต่อลูกหนี้หรือสมาชิกในครอบครัว เพื่อน บรรดาผู้ถูกทวงหนี้มีอำนาจแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มคนเหล่านั้นได้ทันที ถ้ามีการทำร้ายบาดเจ็บหรือกักขังหน่วงเหนี่ยว พวกเขาต้องรับโทษอาญาฐานทำร้ายร่างกายหรือทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพอีกคดี หนึ่งด้วย
ส่วนการส่งคำเตือนเรื่องหนี้ด้วยวิธีก้าวร้าวหรือจงใจประจานทำให้เสื่อมเสีย ชื่อเสียงด้วยวิธีใดๆ อาจเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทก็ได้ กฎหมายคุ้มครองผู้สุจริตเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน
อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงด้วยคือ จิตสำนึกที่ดีของทั้งสองฝ่าย ยามเดือดร้อนขัดสนทางการเงิน ลูกหนี้ได้เงินมาผ่อนคลายปัญหาแล้ว จึงต้องมีความรับผิดชอบต่อหนี้ คือ พยายามผ่อนใช้หนี้เต็มที่และสุจริตใจ ส่วนเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิในการรับชำระหนี้คืน แต่ควรทำตามขั้นตอนของกฎหมาย มิใช่ทำละเมิดกฎหมายจนนำความเดือดร้อนมาสู่ตนเอง
เจ้าหนี้บางท่านคิดว่าให้นักทวงหนี้ไปจัดการแทนตนแล้วจักไม่มีโทษใดๆ อันเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะหากมีการสอบสวนเต็มที่แล้ว เจ้าหนี้อาจต้องรับโทษฐานเป็นตัวการหรือผู้ใช้จ้างวานก็ได้
ดังนั้น เจ้าหนี้และนักทวงหนี้ทั้งหลายต้องใช้สติก่อนทำงานและตระหนักใจด้วยว่า การมีหนี้ต้องชดใช้ แต่ต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย จึงได้รับความคุ้มครองเต็มที่ ส่วนลูกหนี้ต้องชดใช้หนี้สินที่ก่อขึ้น แต่ก็มีสิทธิปกป้องตัวเองในระดับหนึ่งซึ่งเจ้าหนี้ไม่มีอำนาจล่วงละเมิด สิทธิซึ่งกฎหมายคุ้มครองร่างกายและจิตใจของคนไทยทุกคนไว้โดยไม่จำกัดสถานะ ว่าเป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้
เมื่อลูกหนี้ไม่ยอมชดใช้หนี้เจ้าหนี้ ย่อมต้องรับโทษตามคำพิพากษาของศาลทางแพ่ง เท่านั้น
กฎหมายจักดูแลและคุ้มครองเจ้าหนี้ผู้สุจริตเต็มที่ การรู้จักความพอเพียงและเคารพกฎหมาย ย่อมทำให้เป็นเจ้าหนี้ที่น่าสรรเสริญและเป็นที่นับถือแก่คนรอบกาย อันถือเป็นการสร้างบารมีอย่างหนึ่งให้ตัวเองด้วย ดังนั้น เมื่อทราบสิทธิของลูกหนี้และเจ้าหนี้แล้ว จึงหวังว่าท่านจักกระทำทุกอย่างภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย
10. การทวงหนี้มีหลายรูปแบบ
- เจ้าหนี้ทวงหนี้เอง โดย สถาบันการเงิน
- จ้างบุคคลภายนอก/ สนง.กฎหมาย(ทนายความ)/สนง.ติดตามหนี้อย่างเดียว
- การข่มขู่จะฟ้อง
- นักเลง
- การใช้คำพูดหยาบคาย
- การเป็นหนี้ ผิดนัด 1-2 งวด จะให้พนักงานเป็นคนทวง โดยการโทรเข้ามือถือ, บ้าน, ที่ทำงาน การพูดจะสุภาพ ไม่ค่อยข่มขู่ แต่จะผลักดันให้ใช้หนี้ เช่น ถามว่าจะจ่ายเมื่อไหร่ ถ้าไม่จ่ายจะถูกตัดวงเงิน และยกเลิกบัตร เพื่อให้ลูกหนี้เป็นห่วงเรื่องการยกเลิกบัตร ก็จะรีบพยายามหาเงินมาชำระหนี้
หลังจากครบ 3 เดือนยังไม่ชำระหนี้ ก็จะส่งฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายหนี้เสีย และส่วนใหญ่จะใช้คนข้างใน และข้างนอก
สนง.ทวงหนี้ข้างนอกยังไม่ได้ค่าใช้จ่ายในการทวงหนี้ แต่ะจะมีการตกลงระหว่าง bank เช่น ขาดส่ง 3-6 เดือน, 1-2 ปี , ขาดอายุความ, คำพิพากษา การทวงหนี้จะแตกต่างกัน ถ้าเกิน 6 เดือนจะพูดกันแบบหนัก แบบถ่อย ๆ และเถื่อน
- การเขียนจดหมายข่มขู่ อนุมัติฟ้องภายใน 24 ชม. ภายใน 48 ชม. มันเป็นไปไม่ได้ในความเป็นจริง และในทางปฏิบัติและมีการประทับตราสีแดง อนุมัติฟ้อง และเขียนชื่อลูกหนี้ การกระทำแบบนี้ 1. เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ประจาน และอับอาย สวนมากใช้ไปรษณียบัตร, พับกระดาษต่อเนื่อง มีชื่อ สนง. ชัดเจน มีตราอนุมัติฟ้อง
ข้อความ เพื่อกดดันลูกหนี้
ติดต่อไม่ได้ ทำให้อับอายเพื่อนฝูง เช่น คนทำงานรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการ
2. หากไม่จ่ายภายใน 3 วัน จะพาเจ้าหน้าที่เข้าจับกุมดำเนินคดี เป็นการข่มขู่ ตามกฎหมายไม่ได้เปิดโอกาส การข่มขู่แบบนี้ บัตรเครดิตเป็นคดีทางแพ่ง ไม่ใช่คดีอาญา
3. จะนำชื่อของท่านเข้า black list (บัญชีดำ) ต่อไปท่านไม่สามารถติดต่อกับสถาบันการเงินได้ ฟ้องล้มละลาย และไม่สามารถเดินทางออกต่างประเทศได้ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
4. จดหมายจาก สนง.กฎหมาย(ทนายความ) และ สนง.ทวงหนี้ เช่น หากคุณไม่ชำระ จะเข้ายึดทรัพย์ และยึดทรัพย์เจ้าของบ้าน ทวงหนี้แบบผิดกฎหมาย การจะยึดทรัพย์ได้ จะต้องมีการดำเนินคดี ทางศาลแพ่ง ก่อนและส่งเรื่องให้ลูกหนี้ทราบภายใน 15 วัน
- การที่จะนำเจ้าหน้าที่มาบังคับคดี มายึดทรัพย์ทำไม่ได้ การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จะมายึดทรัพย์ของลูกหนี้ได้ แต่จะมายึดทรัพย์ ของเจ้าของบ้าน ญาติ ภรรยา ทำไม่ได้ไม่ต้องกลัว การทวงแบบนี้เป็นการบีบบังคับลูกหนี้
5. หากมีการยักย้ายทรัพย์ ทรัพย์สมบัติ จนทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ จะถูกจำคุก 2 ปี (จะต้องมีการพิสูจน์) ยกเว้นเนื่องจากมีหนี้สินมากมายก็เลยต้องขายทรัพย์สินให้คนอื่นหมดแล้ว เพื่อเอาเงินมาชำระหนี้ อันนี้เป็นเจตนาดี แต่ถ้ามีเจตนาจะโกงเช่น มีบ้านหลายหลังและมีทรัพย์สินอื่นๆ มากมาย
6. การเขียนไปรษณียบัตร ส่งตามบ้านญาติ พี่น้อง เพื่อนฝูง เช่นเนื่องจากนาย ก.ปิดโทรศัพท์ แล้วติดต่อไม่ได้ก็ไปตรวจสอบตามข้อมูลที่ลูกหนี้เคยให้ไว้ ว่ามีญาติ พี่น้อง ที่ไหน ก็จะส่งไปรษณียบัตรไปให้ตามบ้านญาติ พี่น้อง เพื่อนฝูง ว่า "นาย ก. มีปัญหาเรื่องหนี้ และเขียนข้อความประจานไปตามบ้านญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง เพื่อทำให้ นาย ก. เป็นที่รังเกียจ ถ้าเจอเหตุการณ์แบบนี้ สามารถแจ้งความดำเนินคดีได้ภายใน 3 เดือน
7. การโทรหา ภรรยา ผู้บังคับบัญชา เพื่อน ๆ พูดทวงหนี้ เช่น นาย ก. เป็นคนที่ไม่ยอมใช้หนี้ เป็นการโทรไปหาบุคคลภายนอก ซึ่งไม่เกี่ยวข้องและโทรกวน ผู้บังคับบัญชา
ผิดข้อหาหมิ่นประมาท การกระทำเช่นนี้ผิดกฎหมาย
8. การส่ง fax เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
9. การส่งเจ้าหน้าที่มาเฝ้าหน้าที่สำนักงานของลูกหนี้ หรือการเข้ามาหาในที่ทำงาน เรียกตำรวจจับได้ หรือนัดเลยว่ามากี่โมง ก็เรียกตำรวจจับได้เลย
ที่มา : http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=10152
2. จำเอาไว้ให้ดีๆ บ้านหรือที่ทำงานของคุณเป็นพื้นที่ส่วนตัวที่ใครจะรุกล้ำเข้าไปมิได้หากคุณไม่อนุญาต
3. ใครบอกคุณว่าจะส่งคนไปหาที่บ้าน, ที่ทำงานก็ปล่อยให้ไปแต่ไม่ต้องให้พบ แต่ถ้าดึงดันเข้าไปจนได้
แจ้งตำรวจจับข้อหาบุกรุก
4. หรือคุณอนุญาตให้เข้าพบแต่ดันพูดจาสุนัขไม่รับประทานออกแนวข่มขู่, ปะนามหยามเหยียดคุณก้าวร้าว เสียดสี เยาะเย้ยถากถาง
แจ้งความข้อหาขู่กรรโชกทำให้ตกใจกลัวดูหมิ่นซึ่งหน้า
5. ใครโทรหาแจ้งว่าจะอายัดเงินเดือน จะยึดทรัพย์จะเอาตำรวจมาจับหรือจะมาจับเลย
แจ้งตำรวจข้อหาล่วงละเมิดอำนาจศาลแอบอ้างเป็นเจ้าพนักงานแล้วก็ข่มขู่ทำให้ตกใจกลัว
6. ใครโทรมาหาวันละหลายๆรอบ พูดไม่รู้เรื่อง โทรมาหาหลายๆๆคนในที่ทำงาน เพื่อประจานให้อับอาย
ทำหนังสือร้องเรียนถึงแบงค์ชาติ แบงค์เจ้าของบัตร จะมีจดหมายตอบกลับมาจากแบงค์ชาติภายใน 7 วัน และแบงค์ชาติจะไปไล่เบี้ยกับแบงค์ที่จ้างมาทวงหนี้ต่อไป
7. แจ้งความแล้วทำไงต่อ
ให้เอาสำเนาบันทึกประจำวันหรือใบแจ้งความที่ตำรวจให้คุณมาไปถ่ายเอกสาร แล้วทำหนังสือร้องเรียนขึ้น 1 ฉบับเล่าเรื่องราวที่คุณถูกกระทำ ถูกข่มขู่ให้ละเอียดจั่วหัวถึงสถาบันการเงินที่คุณเป็นหนี้อยู่ที่ไอ้หมาล่า เนื้อตัวนั้นมันบอกว่ามันทวงหนี้ให้แล้วลงท้ายจดหมายด้านล่างสุดว่าสำเนาส่ง
1.สำนักนายกรัฐมนตรี
2.ธนาคารแห่งประเทศไทย
3.สภาทนายความ
4.มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
แล้วส่งจดหมายร้องเรียนนั้นพร้อมสำเนาใบแจ้งความไปที่สถาบันการเงินที่คุณ เป็นหนี้อยู่สนง.กม.ที่หมาล่าเนื้อตัวนั้นสังกัดอยู่และสี่ที่ๆ ลงท้ายไว้ในจดหมายร้องเรียน
เพื่อป้องปรามไม่ให้เราถูกล้ำเส้นคุณมากไปกว่านี้
8. การถูกทวงหนี้แบบโหด-เลว-ชั่วที่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 323 ผู้ใดล่วงรู้ความลับของผู้อื่น แล้วเปิดเผยความลับนั้น โดยน่าจะเกิดความเสียหายแก้ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องจำคุก ไม่เกิน 6 เดือน ปรับ 1 พันหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยทำให้เสียชื่อเสีย ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ผู้นั้นผิดฐานหมิ่นประมาท จำคุก 1 ปี ปรับ 2หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 328 ถ้าหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา กระจายเสียงทุกชนิด บันทึกเป็นอักษร จำคุก 2 ปี ปรับ 2แสนบาท
มาตรา 337 บัญญัติว่า ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ ยอมให้ หรือ ยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่า จะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือ ของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำผิดฐานกรรโชก มีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ถ้าความผิดฐานกรรโชกได้กระทำโดย
1. ขู่ว่าจะฆ่า ขู่ว่าจะทำร้ายร่างกายให้ผู้ถูกข่มขืนใจ หรือผู้อื่น ให้ได้รับอันตรายสาหัส หรือขู่ว่าจะทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ของผู้ถูกข่มขืนใจหรือผู้อื่น หรือ
2. มีอาวุธติดตัวมาขู่เข็ญ
ผู้กระทำต้องมีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท ....www.kodmhai.com
9. จากหลักกฎหมายข้างต้น นักทวงหนี้ที่ใช้พฤติกรรมตัวอย่างเช่น เขียนจดหมายข่มขู่ด้วยวาจาหยาบคายหรือเป็นเท็จ ทำร้ายร่างกาย ด่าทอ กักขัง ทำการรบกวนชีวิตประจำวัน เป็นต้น
หากกระทำต่อลูกหนี้หรือสมาชิกในครอบครัว เพื่อน บรรดาผู้ถูกทวงหนี้มีอำนาจแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มคนเหล่านั้นได้ทันที ถ้ามีการทำร้ายบาดเจ็บหรือกักขังหน่วงเหนี่ยว พวกเขาต้องรับโทษอาญาฐานทำร้ายร่างกายหรือทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพอีกคดี หนึ่งด้วย
ส่วนการส่งคำเตือนเรื่องหนี้ด้วยวิธีก้าวร้าวหรือจงใจประจานทำให้เสื่อมเสีย ชื่อเสียงด้วยวิธีใดๆ อาจเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทก็ได้ กฎหมายคุ้มครองผู้สุจริตเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน
อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงด้วยคือ จิตสำนึกที่ดีของทั้งสองฝ่าย ยามเดือดร้อนขัดสนทางการเงิน ลูกหนี้ได้เงินมาผ่อนคลายปัญหาแล้ว จึงต้องมีความรับผิดชอบต่อหนี้ คือ พยายามผ่อนใช้หนี้เต็มที่และสุจริตใจ ส่วนเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิในการรับชำระหนี้คืน แต่ควรทำตามขั้นตอนของกฎหมาย มิใช่ทำละเมิดกฎหมายจนนำความเดือดร้อนมาสู่ตนเอง
เจ้าหนี้บางท่านคิดว่าให้นักทวงหนี้ไปจัดการแทนตนแล้วจักไม่มีโทษใดๆ อันเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะหากมีการสอบสวนเต็มที่แล้ว เจ้าหนี้อาจต้องรับโทษฐานเป็นตัวการหรือผู้ใช้จ้างวานก็ได้
ดังนั้น เจ้าหนี้และนักทวงหนี้ทั้งหลายต้องใช้สติก่อนทำงานและตระหนักใจด้วยว่า การมีหนี้ต้องชดใช้ แต่ต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย จึงได้รับความคุ้มครองเต็มที่ ส่วนลูกหนี้ต้องชดใช้หนี้สินที่ก่อขึ้น แต่ก็มีสิทธิปกป้องตัวเองในระดับหนึ่งซึ่งเจ้าหนี้ไม่มีอำนาจล่วงละเมิด สิทธิซึ่งกฎหมายคุ้มครองร่างกายและจิตใจของคนไทยทุกคนไว้โดยไม่จำกัดสถานะ ว่าเป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้
เมื่อลูกหนี้ไม่ยอมชดใช้หนี้เจ้าหนี้ ย่อมต้องรับโทษตามคำพิพากษาของศาลทางแพ่ง เท่านั้น
กฎหมายจักดูแลและคุ้มครองเจ้าหนี้ผู้สุจริตเต็มที่ การรู้จักความพอเพียงและเคารพกฎหมาย ย่อมทำให้เป็นเจ้าหนี้ที่น่าสรรเสริญและเป็นที่นับถือแก่คนรอบกาย อันถือเป็นการสร้างบารมีอย่างหนึ่งให้ตัวเองด้วย ดังนั้น เมื่อทราบสิทธิของลูกหนี้และเจ้าหนี้แล้ว จึงหวังว่าท่านจักกระทำทุกอย่างภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย
10. การทวงหนี้มีหลายรูปแบบ
- เจ้าหนี้ทวงหนี้เอง โดย สถาบันการเงิน
- จ้างบุคคลภายนอก/ สนง.กฎหมาย(ทนายความ)/สนง.ติดตามหนี้อย่างเดียว
- การข่มขู่จะฟ้อง
- นักเลง
- การใช้คำพูดหยาบคาย
- การเป็นหนี้ ผิดนัด 1-2 งวด จะให้พนักงานเป็นคนทวง โดยการโทรเข้ามือถือ, บ้าน, ที่ทำงาน การพูดจะสุภาพ ไม่ค่อยข่มขู่ แต่จะผลักดันให้ใช้หนี้ เช่น ถามว่าจะจ่ายเมื่อไหร่ ถ้าไม่จ่ายจะถูกตัดวงเงิน และยกเลิกบัตร เพื่อให้ลูกหนี้เป็นห่วงเรื่องการยกเลิกบัตร ก็จะรีบพยายามหาเงินมาชำระหนี้
หลังจากครบ 3 เดือนยังไม่ชำระหนี้ ก็จะส่งฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายหนี้เสีย และส่วนใหญ่จะใช้คนข้างใน และข้างนอก
สนง.ทวงหนี้ข้างนอกยังไม่ได้ค่าใช้จ่ายในการทวงหนี้ แต่ะจะมีการตกลงระหว่าง bank เช่น ขาดส่ง 3-6 เดือน, 1-2 ปี , ขาดอายุความ, คำพิพากษา การทวงหนี้จะแตกต่างกัน ถ้าเกิน 6 เดือนจะพูดกันแบบหนัก แบบถ่อย ๆ และเถื่อน
- การเขียนจดหมายข่มขู่ อนุมัติฟ้องภายใน 24 ชม. ภายใน 48 ชม. มันเป็นไปไม่ได้ในความเป็นจริง และในทางปฏิบัติและมีการประทับตราสีแดง อนุมัติฟ้อง และเขียนชื่อลูกหนี้ การกระทำแบบนี้ 1. เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ประจาน และอับอาย สวนมากใช้ไปรษณียบัตร, พับกระดาษต่อเนื่อง มีชื่อ สนง. ชัดเจน มีตราอนุมัติฟ้อง
ข้อความ เพื่อกดดันลูกหนี้
ติดต่อไม่ได้ ทำให้อับอายเพื่อนฝูง เช่น คนทำงานรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการ
2. หากไม่จ่ายภายใน 3 วัน จะพาเจ้าหน้าที่เข้าจับกุมดำเนินคดี เป็นการข่มขู่ ตามกฎหมายไม่ได้เปิดโอกาส การข่มขู่แบบนี้ บัตรเครดิตเป็นคดีทางแพ่ง ไม่ใช่คดีอาญา
3. จะนำชื่อของท่านเข้า black list (บัญชีดำ) ต่อไปท่านไม่สามารถติดต่อกับสถาบันการเงินได้ ฟ้องล้มละลาย และไม่สามารถเดินทางออกต่างประเทศได้ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
4. จดหมายจาก สนง.กฎหมาย(ทนายความ) และ สนง.ทวงหนี้ เช่น หากคุณไม่ชำระ จะเข้ายึดทรัพย์ และยึดทรัพย์เจ้าของบ้าน ทวงหนี้แบบผิดกฎหมาย การจะยึดทรัพย์ได้ จะต้องมีการดำเนินคดี ทางศาลแพ่ง ก่อนและส่งเรื่องให้ลูกหนี้ทราบภายใน 15 วัน
- การที่จะนำเจ้าหน้าที่มาบังคับคดี มายึดทรัพย์ทำไม่ได้ การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จะมายึดทรัพย์ของลูกหนี้ได้ แต่จะมายึดทรัพย์ ของเจ้าของบ้าน ญาติ ภรรยา ทำไม่ได้ไม่ต้องกลัว การทวงแบบนี้เป็นการบีบบังคับลูกหนี้
5. หากมีการยักย้ายทรัพย์ ทรัพย์สมบัติ จนทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ จะถูกจำคุก 2 ปี (จะต้องมีการพิสูจน์) ยกเว้นเนื่องจากมีหนี้สินมากมายก็เลยต้องขายทรัพย์สินให้คนอื่นหมดแล้ว เพื่อเอาเงินมาชำระหนี้ อันนี้เป็นเจตนาดี แต่ถ้ามีเจตนาจะโกงเช่น มีบ้านหลายหลังและมีทรัพย์สินอื่นๆ มากมาย
6. การเขียนไปรษณียบัตร ส่งตามบ้านญาติ พี่น้อง เพื่อนฝูง เช่นเนื่องจากนาย ก.ปิดโทรศัพท์ แล้วติดต่อไม่ได้ก็ไปตรวจสอบตามข้อมูลที่ลูกหนี้เคยให้ไว้ ว่ามีญาติ พี่น้อง ที่ไหน ก็จะส่งไปรษณียบัตรไปให้ตามบ้านญาติ พี่น้อง เพื่อนฝูง ว่า "นาย ก. มีปัญหาเรื่องหนี้ และเขียนข้อความประจานไปตามบ้านญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง เพื่อทำให้ นาย ก. เป็นที่รังเกียจ ถ้าเจอเหตุการณ์แบบนี้ สามารถแจ้งความดำเนินคดีได้ภายใน 3 เดือน
7. การโทรหา ภรรยา ผู้บังคับบัญชา เพื่อน ๆ พูดทวงหนี้ เช่น นาย ก. เป็นคนที่ไม่ยอมใช้หนี้ เป็นการโทรไปหาบุคคลภายนอก ซึ่งไม่เกี่ยวข้องและโทรกวน ผู้บังคับบัญชา
ผิดข้อหาหมิ่นประมาท การกระทำเช่นนี้ผิดกฎหมาย
8. การส่ง fax เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
9. การส่งเจ้าหน้าที่มาเฝ้าหน้าที่สำนักงานของลูกหนี้ หรือการเข้ามาหาในที่ทำงาน เรียกตำรวจจับได้ หรือนัดเลยว่ามากี่โมง ก็เรียกตำรวจจับได้เลย
ที่มา : http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=10152
ป้ายกำกับ:
ทวงหนี้โหด
ขั้นที่ 3 แนวทางรับมือการโดนทวงหนี้แบบภาพรวม
1 ตั้งสติ มันไม่ได้น่ากลัวมากอย่างที่คุณคิด หรือฟังมา การทวงมันมีขอบเขตของมัน รู้ไหมจริงๆการทวง เจ้าหนี้มีสิทธิ์แค่โทรมาทวงถามเท่านั้น แต่ไมมีสิทธิ์มาทำอะไรนอกเหนือจากนั้นได้...เช่น มาขู่กรรโชก มาประจาน มาแกล้ง มากวนประสาท มาหมิ่นประมาท มาด่าทอเรา ด่าทอพ่อแม่ มาเหยียดหยัน อันนี้ผิดกฎหมายอาญา
หรืออะไรก็ตามที่คุณเคยฟังมาว่าการโดนทวงหนี้โหด ผมบอกเลยว่าจริงๆเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิ์ทำได้ และตอนนี้ปัญหาเรื่องการทวงหนี้โหดแบงค์ชาติได้รับรู้มากขึ้น จนแบงค์เอกชนต่างๆ เริ่มมีการควบคุมการทวงหนี้ผิดกฎหมายจากสำนักกฎหมายต่าง โดยถ้าพบว่า ทำผิดถึงขั้นเลิกจ้างงานกันเลย อย่าวิตกจนเสียกำลังใจนะครับ
2 คุณต้องเร่งทำความเข้าใจเรื่องขอบเขตการทวงหนี้โดยด่วน อ่านแล้วจดไปสัก 2-3 วัน เอาไปท่อง เอาไปซ้อมว่าจะคุยกับมันอย่างไร...เพราะถึงเวลาจริงๆๆคุณจะได้มั่นใจ..
3 หลังศึกษาจนเข้าใจแล้วว่า หนี้สินมันเป็นอย่างไร..ก็ให้ค่อยๆๆบอกคนใกล้ตัว เช่นที่ทำงาน พ่อ แม่..ให้เขารับทราบ ก่อนที่จะรู้จากปากคนทวงหนี้ โดยบอกรายละเอียดขั้นตอนให้หมด.ห้ามไปบอกลอยๆ ต้องมีข้อมูลน่าเชื่อถือ เพราะพ่อ แม่จะกลัวเพราะเขาไม่เข้าใจกระบวนการทางกฎหมายนั่นเอง แต่ถ้าคุณอธิบายจนเข้าใจแล้ว อะไรๆจะดีขึ้นมาแน่นอน
อีกทั้งการที่คุณบอก..มันจะเหมือนว่าคุณได้ปลดปล่อยพันธนาการจิตใจออกไปด้วยนะครับ..
ไม่งั้นความเครียดในใจคุณจะมีแบบนี้ต่อไปตลอด เท่าที่คุณต้องปิดบัง
4 อาวุธป้องกันอย่างดีก็คือเรื่องการร้องเรียนธนาคารแห่งประเทศไทย..ซึ่งพวก ทวงหนี้เหล่านี้จะกลัว เพราะมันถึงขั้นโดนเลิกจ้างจากแบงค์ หรือปิดบริษัทกันเลย.
ที่มา: http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=10152
หรืออะไรก็ตามที่คุณเคยฟังมาว่าการโดนทวงหนี้โหด ผมบอกเลยว่าจริงๆเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิ์ทำได้ และตอนนี้ปัญหาเรื่องการทวงหนี้โหดแบงค์ชาติได้รับรู้มากขึ้น จนแบงค์เอกชนต่างๆ เริ่มมีการควบคุมการทวงหนี้ผิดกฎหมายจากสำนักกฎหมายต่าง โดยถ้าพบว่า ทำผิดถึงขั้นเลิกจ้างงานกันเลย อย่าวิตกจนเสียกำลังใจนะครับ
2 คุณต้องเร่งทำความเข้าใจเรื่องขอบเขตการทวงหนี้โดยด่วน อ่านแล้วจดไปสัก 2-3 วัน เอาไปท่อง เอาไปซ้อมว่าจะคุยกับมันอย่างไร...เพราะถึงเวลาจริงๆๆคุณจะได้มั่นใจ..
3 หลังศึกษาจนเข้าใจแล้วว่า หนี้สินมันเป็นอย่างไร..ก็ให้ค่อยๆๆบอกคนใกล้ตัว เช่นที่ทำงาน พ่อ แม่..ให้เขารับทราบ ก่อนที่จะรู้จากปากคนทวงหนี้ โดยบอกรายละเอียดขั้นตอนให้หมด.ห้ามไปบอกลอยๆ ต้องมีข้อมูลน่าเชื่อถือ เพราะพ่อ แม่จะกลัวเพราะเขาไม่เข้าใจกระบวนการทางกฎหมายนั่นเอง แต่ถ้าคุณอธิบายจนเข้าใจแล้ว อะไรๆจะดีขึ้นมาแน่นอน
อีกทั้งการที่คุณบอก..มันจะเหมือนว่าคุณได้ปลดปล่อยพันธนาการจิตใจออกไปด้วยนะครับ..
ไม่งั้นความเครียดในใจคุณจะมีแบบนี้ต่อไปตลอด เท่าที่คุณต้องปิดบัง
4 อาวุธป้องกันอย่างดีก็คือเรื่องการร้องเรียนธนาคารแห่งประเทศไทย..ซึ่งพวก ทวงหนี้เหล่านี้จะกลัว เพราะมันถึงขั้นโดนเลิกจ้างจากแบงค์ หรือปิดบริษัทกันเลย.
ที่มา: http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=10152
ป้ายกำกับ:
ทวงหนี้
ขั้นที่ 2 แนวทางรับมือเร่งด่วน (1- 15 วันแรกของการหยุดจ่าย) แล้วจะโดนกระหน่ำโทรหาที่ Office
คิดว่ามีเพื่อนๆ หลายท่านคงพอเข้าใจกระบวนการ แต่เอาเข้าจริงๆ อาจจะเลวร้ายมากกว่าที่คิดไว้ อาจถึงขั้นท้อแท้ ทนไม่ไหว แล้วต้องลาออก ผมจึงสรุปทางออกที่ น่าจะเป็นหัวใจของการแก้ไขไว้ดังนี้
1. ให้เตรียมตัวแจ้งหัวหน้า แต่เนิ่นๆๆๆ เพราะมันจะเสียเวลาแน่นอนที่คนทวงหนี้โทรมา
ทางแก้ไข ให้บอก หรือ ทำเป็นลายลักษณ์อักษร แก่หัวหน้างานว่า
1.1 เราจะขอทำงานชดเชยเวลาที่ต้อเสียไปในการรับโทรศัพท์ทวงหนี้ ช่วง 1-2 เดือนแรก..รวมวันละ......xxx ชั่วโมง....
โดยจะขอมาทำงานก่อนเวลา xxx ชั่วโมง....หรือ ชดเชยหลังเวลางาน xxx ชั่วโมง...เป็นต้น
1.2 เรายืนยันว่าจะตั้งใจทำงาน..ไม่ให้งานเสีย..เป็นต้น
2 เตรียมตัวบอกเพื่อนร่วมงาน ที่คาดว่าจะต้องรู้ เป็นเพียงการบอกด้วยวาจาก็พอว่าช่วง 1-2 เดือนนี้อาจจะมีคนโทรมาทวงหนี้ ก็ขอให้เข้าใจนิดนึง..เป็นต้น
3 ควรมีเงินติดตัวตลอดเวลา น้อยมาก ไม่เป็นไร (ถึงติดหนี้แต่ก็มีเงิน) เงินมาจากไหน ก็มาจากที่คุณหยุดจ่าย แล้วเก็บไว้ เพื่อลดแรงกดดัน ช่วงที่คุณโดนตามทวงหนี้ อาจจะมีเพื่อนร่วมงานกลัวคุณยืมเงินเป็นต้น
ให้แสดงว่าตนเองมีเงินนะ แต่ที่ต้องทำแบบนี้...เพราะเจรจาปิดบัญชีไม่ลงตัว..หรือ ไม่อยากแบกภาระเรื่องดอกเบี้ย..เป็นต้น...
คติที่ควรท่องไว้คือ...เราไม่ได้เบี้ยวใคร..แต่ต้องการเวลาเก็บเงินก้อน..เพื่อปิดบัญชีทีเดียว..เท่านั้น
ใครจะนินทาอย่างไรไม่ต้องสนใจ...ขอให้ผ่านช่วง 1-2 เดือนให้ได้ แล้วทุกๆ อย่างจะดีขึ้นเอง
4 เทคนิคการโต้ตอบก็จำเป็น
ต้องหาเทคนิคเชิงรุกบ้าง..อย่าให้โดนรุกไล่ฝ่ายเดียว
ต้องหาเทคนิคเจรจาให้จบในครั้งเดียว. ไม่ใช่คุยวันละหลายรอบ
ต้องหาเทคนิคโต้ตอบแบบ ยืดเวลาโดนทวงถาม ให้ได้..เช่น อีก 2 เดือนจะจ่าย..ครบ 2 เดือน ค่อยยืดไปอีกที...แล้วแต่ถานการณ์
ต้องหาเทคนิคตอบโต้เชิงกฎหมายให้ได้
ที่มา : http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=10152
1. ให้เตรียมตัวแจ้งหัวหน้า แต่เนิ่นๆๆๆ เพราะมันจะเสียเวลาแน่นอนที่คนทวงหนี้โทรมา
ทางแก้ไข ให้บอก หรือ ทำเป็นลายลักษณ์อักษร แก่หัวหน้างานว่า
1.1 เราจะขอทำงานชดเชยเวลาที่ต้อเสียไปในการรับโทรศัพท์ทวงหนี้ ช่วง 1-2 เดือนแรก..รวมวันละ......xxx ชั่วโมง....
โดยจะขอมาทำงานก่อนเวลา xxx ชั่วโมง....หรือ ชดเชยหลังเวลางาน xxx ชั่วโมง...เป็นต้น
1.2 เรายืนยันว่าจะตั้งใจทำงาน..ไม่ให้งานเสีย..เป็นต้น
2 เตรียมตัวบอกเพื่อนร่วมงาน ที่คาดว่าจะต้องรู้ เป็นเพียงการบอกด้วยวาจาก็พอว่าช่วง 1-2 เดือนนี้อาจจะมีคนโทรมาทวงหนี้ ก็ขอให้เข้าใจนิดนึง..เป็นต้น
3 ควรมีเงินติดตัวตลอดเวลา น้อยมาก ไม่เป็นไร (ถึงติดหนี้แต่ก็มีเงิน) เงินมาจากไหน ก็มาจากที่คุณหยุดจ่าย แล้วเก็บไว้ เพื่อลดแรงกดดัน ช่วงที่คุณโดนตามทวงหนี้ อาจจะมีเพื่อนร่วมงานกลัวคุณยืมเงินเป็นต้น
ให้แสดงว่าตนเองมีเงินนะ แต่ที่ต้องทำแบบนี้...เพราะเจรจาปิดบัญชีไม่ลงตัว..หรือ ไม่อยากแบกภาระเรื่องดอกเบี้ย..เป็นต้น...
คติที่ควรท่องไว้คือ...เราไม่ได้เบี้ยวใคร..แต่ต้องการเวลาเก็บเงินก้อน..เพื่อปิดบัญชีทีเดียว..เท่านั้น
ใครจะนินทาอย่างไรไม่ต้องสนใจ...ขอให้ผ่านช่วง 1-2 เดือนให้ได้ แล้วทุกๆ อย่างจะดีขึ้นเอง
4 เทคนิคการโต้ตอบก็จำเป็น
ต้องหาเทคนิคเชิงรุกบ้าง..อย่าให้โดนรุกไล่ฝ่ายเดียว
ต้องหาเทคนิคเจรจาให้จบในครั้งเดียว. ไม่ใช่คุยวันละหลายรอบ
ต้องหาเทคนิคโต้ตอบแบบ ยืดเวลาโดนทวงถาม ให้ได้..เช่น อีก 2 เดือนจะจ่าย..ครบ 2 เดือน ค่อยยืดไปอีกที...แล้วแต่ถานการณ์
ต้องหาเทคนิคตอบโต้เชิงกฎหมายให้ได้
ที่มา : http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=10152
วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ขั้นที่ 1 แนวทางปฏิบัติว่าควรต้องจ่ายต่อไป หรือ หยุดหนี้ (เนื่องจากจ่ายไม่ได้แล้ว)
การเตรียมตัวในอันดับแรก คือ
1. ก่อนอื่นต้องหยุดสร้างหนี้เพิ่มเด็ดขาด ประเภทกดบัตรนั้นมาจ่ายบัตรนี้ กู้ที่นั่นมาจ่ายที่นี่ โดยเฉพาะพวกหนี้นอกระบบห้ามเข้าไปข้องเกี่ยวเด็ดขาด
2. ทำบัญชีรับ-จ่าย เพื่อที่คุณจะได้ทราบว่าคุณมีความสามารถชำระหนี้ในแต่ละเดือนเท่าไหร่
3. ทำบัญชีหนี้สิน แยกประเภท (บัตรเครดิต/สินเชื่อส่วนบุคคล/เช่าซื้อ/นอกระบบ) มูลหนี้ที่เหลืออยู่ ภาระขั้นต่ำที่ต้องชำระเพื่อที่จะทราบภาระหนี้สินทั้งหมด
4. การแก้ไขปัญหาหนี้ที่ดีที่สุดคือ การใช้เงินสดคงเหลือของตัวคุณเองในการแก้ปัญหาหนี้ โดยห้ามสร้างหนี้เพิ่มเด็ดขาด
การเตรียมตัวในอันดับต่อมา คือ5. หากเงินสดที่เหลือสำหรับชำระหนี้ในแต่ละเดือน เหลือน้อยกว่า ภาระขั้นต่ำที่ต้องชำระในแต่ละเดือน เช่น หนี้มากกว่าความสามารถชำระ 20, 30, 40, 50, …, 100 เท่า!!!!! ก็ต้องใช้วิธีหยุดจ่ายทั้งหมด ในการแก้ปัญหา
6. การหยุดจ่ายหนี้ในระบบ มีหนี้บางตัวที่คุณหยุดจ่ายไม่ได้ คือ หนี้ที่เจ้าหนี้เป็นสถาบันการเงินเดียวกับแบงค์ที่เงินเดือนคุณเข้า เนื่องจะเสี่ยงต่อการโดนยึดเงิน
7. เมื่อหยุดชำระหนี้ในระบบแล้ว พยายามเก็บเงินก้อนเพื่อต่อรองขอส่วนลดปิดบัญชี (hair cut) ทยอยปิดทีละตัว หลัการคือใช้เงินที่เก็บได้ให้คุ้มค่าที่สุด รายไหนลดมากสุด และพอกับเงินที่ได้ให้ปิดไปก่อน
8. หลังจากต้องหยุดจ่าย ให้ทำรายละเอียดบอกคนรอบข้างให้รับทราบทั้งที่ทำงาน ที่บ้าน (ที่คาดว่าต้องทราบแน่นอนถึงเราไม่บอกเดี๋ยวก็รู้เพราะคนทวงหนี้จะบอก) ให้ทราบจากปากเราเองดีกว่าให้ทราบจากพวกทวงหนี้ และห้ามบอกแบบลอยๆ ไม่เช่นนั้นจะไม่มีใครเชื่อคุณแน่นอน
9. พยายามทำความเข้าใจกับกระทู้ต่างๆ เยอะๆ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันจากพวกทวงหนี้ แล้วก็ Copy ไปอ่านที่บ้าน
ที่มา :http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=10152
1. ก่อนอื่นต้องหยุดสร้างหนี้เพิ่มเด็ดขาด ประเภทกดบัตรนั้นมาจ่ายบัตรนี้ กู้ที่นั่นมาจ่ายที่นี่ โดยเฉพาะพวกหนี้นอกระบบห้ามเข้าไปข้องเกี่ยวเด็ดขาด
2. ทำบัญชีรับ-จ่าย เพื่อที่คุณจะได้ทราบว่าคุณมีความสามารถชำระหนี้ในแต่ละเดือนเท่าไหร่
3. ทำบัญชีหนี้สิน แยกประเภท (บัตรเครดิต/สินเชื่อส่วนบุคคล/เช่าซื้อ/นอกระบบ) มูลหนี้ที่เหลืออยู่ ภาระขั้นต่ำที่ต้องชำระเพื่อที่จะทราบภาระหนี้สินทั้งหมด
4. การแก้ไขปัญหาหนี้ที่ดีที่สุดคือ การใช้เงินสดคงเหลือของตัวคุณเองในการแก้ปัญหาหนี้ โดยห้ามสร้างหนี้เพิ่มเด็ดขาด
การเตรียมตัวในอันดับต่อมา คือ5. หากเงินสดที่เหลือสำหรับชำระหนี้ในแต่ละเดือน เหลือน้อยกว่า ภาระขั้นต่ำที่ต้องชำระในแต่ละเดือน เช่น หนี้มากกว่าความสามารถชำระ 20, 30, 40, 50, …, 100 เท่า!!!!! ก็ต้องใช้วิธีหยุดจ่ายทั้งหมด ในการแก้ปัญหา
6. การหยุดจ่ายหนี้ในระบบ มีหนี้บางตัวที่คุณหยุดจ่ายไม่ได้ คือ หนี้ที่เจ้าหนี้เป็นสถาบันการเงินเดียวกับแบงค์ที่เงินเดือนคุณเข้า เนื่องจะเสี่ยงต่อการโดนยึดเงิน
7. เมื่อหยุดชำระหนี้ในระบบแล้ว พยายามเก็บเงินก้อนเพื่อต่อรองขอส่วนลดปิดบัญชี (hair cut) ทยอยปิดทีละตัว หลัการคือใช้เงินที่เก็บได้ให้คุ้มค่าที่สุด รายไหนลดมากสุด และพอกับเงินที่ได้ให้ปิดไปก่อน
8. หลังจากต้องหยุดจ่าย ให้ทำรายละเอียดบอกคนรอบข้างให้รับทราบทั้งที่ทำงาน ที่บ้าน (ที่คาดว่าต้องทราบแน่นอนถึงเราไม่บอกเดี๋ยวก็รู้เพราะคนทวงหนี้จะบอก) ให้ทราบจากปากเราเองดีกว่าให้ทราบจากพวกทวงหนี้ และห้ามบอกแบบลอยๆ ไม่เช่นนั้นจะไม่มีใครเชื่อคุณแน่นอน
9. พยายามทำความเข้าใจกับกระทู้ต่างๆ เยอะๆ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันจากพวกทวงหนี้ แล้วก็ Copy ไปอ่านที่บ้าน
ที่มา :http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=10152
วิธีรับมือหากคุณถูกตัดบัญชีเงินเดือนโดยไม่มีหนังสือแจ้งเตือนจากธนาคารหรือหมายศาล
|
ป้ายกำกับ:
ตัดบัญชีเงินเดือน,
หมายศาล
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)