บทความที่ได้รับความนิยม

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิธีแก้ปัญหาหนี้

Debt Solutionsคุณกำลังเอา "หนี้" มาใช้ "หนี้" อยู่หรือเปล่า ?

ปราณี ศรีกำเหนิด pranee_s@nationgroup.com
"ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเดือน พ.ค.ขยายตัวเพิ่มขึ้น จากเดือน เม.ย.ถึง 11.98% รวมยอดการใช้จ่ายทั้งสิ้นเกือบ 53,000 ล้านบาท ..

เช่นเดียวกันกับการเบิกเงินสดล่วงหน้าในเดือน พ.ค.ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น 20.57% โดยเพิ่มขึ้นเป็น 13,102.53 ล้านบาท จากการเบิกเงินสดล่วงหน้าในเดือนเมษายนจำนวน 10,866.71 ล้านบาท" (หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 14 ก.ค.2548)

.....................................................

ใครหลายคนที่ใช้บริการเบิกเงินสดล่วงหน้าอยู่ อาจจะไม่รู้ตัวว่ากำลังทำให้หนี้สินของตัวเองเพิ่มขึ้น และจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากด้วย เพราะค่าธรรมเนียมการเบิกเงินสดที่ 3% ต่อครั้งนั้น หมายถึง 36% ต่อปี ถ้าคุณกดเงินสดทุกเดือนเพื่อมาใช้จ่าย

และจะยิ่งเลวร้ายมากขึ้นไปอีกถ้าคุณกดเงินสดจากบัตรใบหนึ่ง เพื่อไปชำระขั้นต่ำของบัตรอีกใบหนึ่ง หรือชำระสินเชื่อส่วนบุคคลของอีกรายหนึ่ง

นี่ไม่ใช่การยกตัวอย่างเพื่อให้ตกใจเล่น แต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เชื่อหรือไม่ว่าหลายคนที่ใช้วิธีนี้ประสบปัญหาหนี้สินจากหนี้ทุกก้อนรวมกัน หลายแสนบาท บางรายอาจสูงถึงล้านบาท

วิธีการชำระหนี้ที่ผู้รู้หลายคนแนะนำ คือ วิธีแรก ถ้าคำนวณเงินรายได้ของตัวเองว่าเพียงพอที่จะชำระหนี้ ก็ค่อยๆ ทยอยชำระหนี้ โดยตั้งเป้าปลดหนี้ทีละใบ หรือทีละก้อน โดยจ่ายให้สูงกว่าขั้นต่ำแค่ 1ใบ (กรณีสินเชื่อบุคคลต้องพิจารณาเงื่อนไขการชำระก่อนกำหนดด้วยว่ามีค่า ธรรมเนียมหรือไม่)

วิธีที่สอง หาแหล่งเงินกู้ระยะยาวแหล่งอื่นมาโปะ ไม่มีดอกเบี้ยยิ่งดี ถ้ามีดอกเบี้ยต้องให้ถูกกว่า และผ่อนแบบลดต้นลดดอก เช่น การรีไฟแนนซ์บ้าน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สวัสดิการเงินกู้ของหน่วยงานหรือองค์กร เงินกู้สหกรณ์ ฯลฯ

วิธีสุดท้าย ถ้ารายได้ตัวเองไม่เพียงพอชำระหนี้แม้แต่ชำระขั้นต่ำ และหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำไม่ได้ ขณะที่หนี้สินพอกพูนจนกระทบกับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของตัวเอง และครอบครัว แนะนำให้หยุดจ่ายบัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคลไว้ก่อน จ่ายเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อเพราะเป็นคดีอาญา การหยุดจ่ายไว้ก่อนชั่วคราวก็เพื่อให้ตั้งตัวได้ มีเงินพอใช้จ่ายประจำวัน หลังจากนั้นค่อยรอดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายต่อไป ซึ่งก็คือ การฟ้องศาล

ข้อดีของวิธีนี้ คือ ยังมีเงินใช้จ่ายประจำวัน หยุดหนี้ไว้กับที่ไม่บานปลาย มีระยะเวลาไม่ต้องชำระหนี้ประมาณ 1 ปีหรือปีเศษ มีโอกาสลดดอกเบี้ย, ค่าธรรมเนียม, ค่าปรับล่าช้า เมื่อจบในศาล ศาลจะสั่งอายัดเงินเดือน 30% ของเงินเดือน กรณีมีเจ้าหนี้หลายราย ต้องเข้าคิวอายัดทีละราย การบังคับคดีมีระยะเวลา 10 ปี เกินกว่านี้เจ้าหนี้หมดสิทธิ

ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำจากผู้รู้ และลูกหนี้ผู้มีประสบการณ์

- หนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคลมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 แสน เป็นคดีแพ่งและเป็นคดีมโนสาเร่

- หยุดใช้บัตรเครดิต และหยุดกู้เงินใหม่ทุกชนิด (บัตรเครดิต อย่าลืมแจ้งยกเลิกด้วย)

- อดทนกับการทวงหนี้ของธนาคารในช่วงที่ธนาคารทวงหนี้เอง ประมาณ 3-4 เดือน และทำจดหมายประนอมหนี้ส่งให้ทุกธนาคารเพื่อลดการทวงหนี้ (อาจได้ผลหรือไม่ได้ผลขึ้นอยู่กับธนาคาร)

- อดทนกับการทวงหนี้อย่างขะมักเขม้นของสำนักงานกฎหมายที่รับจ้างทวงหนี้ เป็นเวลาประมาณ 4 เดือน

- ไม่แนะนำให้ประนอมหนี้กับธนาคารนอกศาลอย่างเด็ดขาด แม้งวดผ่อนจะน้อย เพราะการเซ็นรับสภาพหนี้ก้อนใหม่จะรวมดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม และค่าปรับเข้าไปด้วย ขณะที่การประนอมหนี้กับธนาคารในศาลจะลดภาระดอกเบี้ยลง โดยเฉพาะดอกเบี้ยผิดกฎหมาย และไม่แนะนำเซ็นเอกสารใดๆ ทั้งสิ้น

- เมื่อถูกเจ้าหนี้ฟ้อง แนะนำให้ไปยื่นคำให้การสู้คดี เพื่อให้มีเวลาเก็บเงินใช้หนี้ได้อีกระยะ เวลานับจากฟ้องถึงนัดครั้งแรกประมาณ 3-6 เดือน สู้คดีอีกประมาณ 3 เดือน ถ้าสืบพยานอีกประมาณ 3-12 เดือน ดังนั้นจะมีเวลาที่ยังไม่ชำระหนี้ได้ประมาณอย่างน้อย 1 ปี บวกกับเวลาในช่วงทวงหนี้อีกนิดหน่อย ก็จะมีเวลาปีกว่าๆ

- หลังจากใช้จ่ายประจำวันในครอบครัวแล้ว ถ้ามีเงินเหลือเก็บไว้เพื่อชำระหนี้เมื่อประนอมหนี้ได้ในศาล หรือเมื่อศาลพิพากษาให้ชำระหนี้ เงินที่ตั้งใจจะเก็บไว้นี้ไม่แนะนำให้เปิดบัญชีกับเจ้าหนี้ เพราะอาจถูกหักเงินจากบัญชีนี้ได้

- ปรึกษากับผู้รู้ คนที่มีประสบการณ์ และทนายความ โดยเฉพาะเมื่อถึงชั้นศาล

สุดท้ายนี้ คงต้องชี้แจงไว้ด้วยว่า คำแนะนำทั้งหมดมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของลูกหนี้ในช่วงระยะ เวลาหนึ่ง ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการแนะนำให้ชักดาบแต่อย่างใด

เพราะถึงที่สุดแล้ว ลูกหนี้ย่อมต้องชำระหนี้ตามคำสั่งศาลอันเป็นไปตามกระบวนการกฎหมายทุกประการ

......................................................

(หมายเหตุ : ขอขอบคุณผู้รู้ และลูกหนี้ผู้มีประสบการณ์ที่ให้ข้อมูล และคำแนะนำผ่านทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และขออภัยที่ไม่สะดวกกับการให้เครดิตกับทุกท่าน)

กรุงเทพธุรกิจ 17 ก.ค.2548

ที่มา http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=296

3 ความคิดเห็น:

  1. ข่าวดี
    ชมรม "เขตปลอดหนี้"
    พรบ.ทวงหนี้ที่เป็นธรรม ผ่าน ครม.เข้าสู่สภาแล้ว รอสภาอนุมัติและประกาศใช้
    บริษัท รับทวงหนี้ต้องขึ้นทะเบียนตามกฏหมาย
    บริษัทฯที่จัดอบรม ฟรี สัมมนาคืนกำไรให้สังคม รับทราบด้วยคะ
    พิมลณัฏฐ์ ณัทธรมานิต
    บริษัท จิตต์ เอกัตต์ จำกัด(สำนักงานทนายความ)
    สถาบันพัฒนาองค์กรและทรัพยากรมนุษย์ (สอท.)
    20/37 ม.8 ถนนคู้คลองสิบ แขวงคู้ฝั่งเหนือ เขตหนองจอก กทม 10530
    โทร 0-2346-3218, 08-9140-1379

    ตอบลบ
  2. TMB : โอนหนี้ บัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล ดอกเบี้ย 10 % นาน1ปี

    TMB : โอนหนี้ บัตรเครดิต
    สินเชื่อบุคคล ดอกเบี้ย 10 %
    นาน1ปี (0) ... [2 เดือนที่ ผ่านมา];
    ความเหมือนแต่คำพูดต่างกัน
    ระหว่างสินเชื่อกับเงินกู้
    (0) ... สามารถรวม
    หนี้ที่มีอยู่กับสถาบันการ
    เงินต่างๆ เพื่อโอนมาที่TMB
    ได้สูงสุดถึง 3 บัญชี ...

    ตอบลบ
  3. Bloggang.com : Nfive1 - TMB : โอนหนี้ บัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล ...
    TMB : โอนหนี้ บัตรเครดิต
    สินเชื่อบุคคล ดอกเบี้ย 10 %
    นาน1ปี ... ทีเอ็มบี รี ไฟแนนซ์"
    ที่จะช่วยแบ่งเบาภาระทางกา
    รเงินโดยเฉพาะในส่วนของดอก
    เบี้ยเงินกู้ของลูกค้า ...
    สามารถรวมหนี้ที่มีอยู่กับ
    สถาบันการเงินต่างๆ
    เพื่อโอนมาที่TMB
    ได้สูงสุดถึง 3 ...

    ตอบลบ