เมื่อได้รู้ข่าวว่า "เครดิตบูโรเตรียมนิรโทษกรรมลูกหนี้ติดแบล็คลิสออกจากระบบ" เครดิตบูโรบล็อก ก็ขออนุญาตมาแจ้งอภิมหาข่าวดีของลูกหนี้เลยก็ว่าได้ เมื่อเครดิตบูโร เตรียมปลดแบล็คลิสลูกหนี้กว่า 6 แสนราย ออกจากระบบ ต้องบอกว่า งานนี้ คสช. ได้ใจลูกหนี้ไปเต็มๆ โดยเฉพาะลูกหนี้ที่ติดแบล็คลิสกับ สถาบันการเงินต่างๆ คสช. คืนความสุขให้คนไทยอีกครั้ง ด้วยการนิรโทษกรรมลูกหนี้ค้างชำระ ติดแบล็คลิส เกินกว่า 8 ปี เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นว่ามันไม่ใช่แค่ข่าว ก็แจ้งที่มาเป็นการรับประกันว่า "ปลดแบล็คลิส" ได้จริงๆ แล้วครับ
ข่าวนี้ ถูกเปิดเผยจาก นายรณดล นุ่มนนท์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สายกำกับสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต และทำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต เปิดเผยว่า คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต ได้เห็นชอบให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ระยะเวลาการส่งข้อมูลสมาชิกบริษัทข้อมูล เครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือเราเรียกกันว่า "เครดิตบูโร" (NCB) โดย กำหนดให้สมาชิกส่งข้อมูลลูกหนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน หรือลูกหนี้ที่เป็นเอ็นพีแอล เป็นระยะเวลา 5 ปี ให้แก่เครดิตบูโร โดยเครดิตบูโรเองก็จะแสดงข้อมูลลูกหนี้ต่อไปอีก 3 ปี รวมระยะเวลาที่ข้อมูลลูกหนี้ปรากฏในฐานะข้อมูลเครดิตบูโร รวม 8 ปี ข้อมูลหลังจากนี้จะลบออกจากระบบ แทนหลักเกณฑ์ปัจจุบันที่กำหนดให้สมาชิกส่งข้อมูลลูกหนี้จนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จนเสร็จ
"เนื่องจากคณะกรรมการเครดิตบูโรเห็นว่าในช่วงที่ผ่านมามีลูกหนี้รายย่อย จำนวนหนึ่ง ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤติต้มยำกุ้ง ในปี 2541 ที่ผ่านมา จนกลายเป็นหนี้เอ็นพีแอล และจนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถชำระหนี้ได้ครบ ถึงแม้ว่าจะผ่านกระบวนการฟ้องร้องไปแล้ว และส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่มีมูลค่าไม่มาก แต่ตามเกณฑ์เดิม ประวัติว่าเป็นหนี้เสียจะโชว์อยู่ตลอดไปในข้อมูลเครดิตบูโร ทำให้ไม่สามารถที่จะกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินได้ และทำให้ส่วนหนึ่งจำเป็นต้องไปก่อหนี้นอกระบบ ซึ่งการลบข้อมูลประวัติการเป็นหนี้ส่วนนี้ จะช่วยให้ลูกหนี้เหล่านี้กลับมากู้หนี้ในระบบได้ จึงถือเป็นหนทางในการดูแลหนี้นอกระบบในทางอ้อมด้วย"ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวต่อว่า การปรับหลักเกณฑ์ระยะเวลาการส่งและจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้เกิดความ เป็นธรรมและลดอุปสรรคในการเข้าถึงสินเชื่อของลูกหนี้ ในขณะเดียวกัน จะยังคงเป็นประโยชน์ให้สถาบันการเงินสมาชิกเครดิตบูโร มีข้อมูลและระยะเวลาเพียงพอสำหรับการพิจารณาพฤติกรรมการชำระหนี้ของลูกหนี้ ซึ่งจะทำให้ข้อมูลของลูกหนี้ โดยหลังจากประกาศดังกล่าวลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จะมีลูกหนี้ที่ได้รับการลบประวัติการเป็นหนี้เสียทันทีในประเทศ 6 แสนราย
สำหรับปฏิกริยาของสถาบันการเงิน ซึ่งถือเป็นเจ้าหนี้ 6 แสนราย มาดูกันซักเล็กน้อยครับว่า มีความคิดเห็นอย่างไร สำหรับ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) โดยนางสาวอรอนงค์ อุดมก้านตรง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผลิตภัณฑ์สินเชื่อรายย่อย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) (บมจ.) เปิดเผยว่า การปรับหรือเปลี่ยนหลักเกณฑ์ดังกล่าวนั้น ในแง่ผู้บริโภคหรือลูกหนี้รายย่อยๆ ที่มีหนี้วงเงินไม่มาก จะได้รับประโยชน์ เพราะถือว่าเป็นการช่วยเหลือให้ลูกค้ากลุ่มนี้สามารถเข้าสู่ระบบสถาบันการ เงินได้ใหม่อีกครั้ง เพราะไม่มีรายชื่ออยู่ในระบบเครดิตบูโร ก็สามารถขอสินเชื่อได้ แต่อีกนัยหนึ่งก็เหมือนการผลักให้คนก่อหนี้เพิ่ม
ในแง่ของสถาบันการเงิน หรือผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้อง จะทำงานได้ยากมากขึ้น เนื่องจากจะไม่สามารถเช็กประวัติการชำระหนี้ของลูกค้าได้ภายหลังจาก 8 ปี ทำให้การพิจารณาสินเชื่อค่อนข้างยาก จึงเป็นความเสี่ยงต่อการปล่อยสินเชื่อ ดังนั้น ในอนาคตจะเห็นต้นทุนทางเครดิตเพิ่ม เช่น ลูกค้าบางรายยังถูกบันทึกประวัติหนี้อยู่ และวันหนึ่งหายไป ซึ่งจะมีผลให้ธนาคารจะแข่งขันในเรื่องของราคาของความเสี่ยงมากขึ้น และลูกค้าจะต้องแบกรับต้นทุนความเสี่ยงดังกล่าว ขณะเดียวกันจะเห็นแนวโน้มการบังคับคดี หรือการผ่อนผันลูกค้าทำในขั้นตอนกระบวนการที่เร็วขึ้น เพื่อให้ทันต่อการถูกลบประวัติทิ้ง
"ก่อนหน้านี้ก็มีการพูดคุยบ้างเรื่องการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งปัจจุบันข้อสรุป 8 ปี ในแง่ลูกค้ารายย่อยและระบบ ถือเป็นเรื่องดี เพราะลูกค้าเป็นหนี้เอ็นพีแอลก็สามารถเคลียร์ประวัติและตั้งต้นใหม่ได้ แต่ควรแยกประเภทธุรกิจ ในส่วนของการมีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน และควรทำควบคู่กับกฎหมายอื่นๆ เพราะหากทำแบบเหมารวม จะทำให้คนประวัติดีและถูกบันทึกปะปนกันหมด แบงก์ก็แยกไม่ออกสุดท้ายก็จะมาลงที่ความเสี่ยงเครดิตได้"
นอกจากเรื่องที่ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต ได้เห็นชอบให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ระยะเวลาการส่งข้อมูลให้กับเครดิตบูโร จากเดิม ส่งข้อมูลลูกหนี้จนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จนเสร็จ เป็น รวมระยะเวลาที่ข้อมูลลูกหนี้ปรากฏในฐานะข้อมูลเครดิตบูโร รวม 8 ปี ก็ยังมีประกาศกำหนดให้สหกรณ์ และชุมนุมสหกรณ์ทุกประเภทเป็นสถาบันการเงิน ตามมาตรา 3 (9) แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 เพื่อให้สหกรณ์ และชุมนุมสหกรณ์ทุกประเภทมีคุณสมบัติในการเข้าเป็นสมาชิกบริษัทข้อมูลเครดิต แห่งชาติ (เครดิตบูโร) ได้ แต่ในเบื้องต้นยังเป็นระบบสมัครใจก่อน โดย ธปท.และเครดิตบูโร จะไปชี้แจงทำความเข้าใจกับสหกรณ์แต่ละรายถึงผลดี ผลเสียและการส่งข้อมูลอีกครั้ง
คำถาม จะรู้ได้อย่างไร คุณคือ 1 ใน 6 แสนราย
คำตอบ ลูกหนี้ที่มี ประวัติการค้างชำระหนี้เกิน 90 วันอยู่ในฐานข้อมูลของเครดิตบูโรครบ 8 ปี จะถูกลบประวัติการค้างหนี้ออกจากระบบ ...แต่...ยอดหนี้ยังคงเดิม ไม่มีการลบทิ้งหรือล้างข้อมูลออกไปแต่อย่างใด ....ชัดเจนนะครับ ลบประวัติ แต่ไม่ลบหนี้
คำถาม แล้วลูกหนี้นอกจาก 6 แสนราย จะได้สิทธิอะไรเพิ่มเติมหรือไม่
คำตอบ สำหรับลูกหนี้เอ็นพี แอลอื่นๆ หรือลูกหนี้ค้างชำระหนี้เกิน 90 วัน (มีข้อมูลในระบบยังไม่ครบ 8 ปี) ยังไม่ได้ชำระหนี้สินต่อธนาคารสมาชิก ต่อจากนี้ขอให้ส่งข้อมูลต่อเนื่อง มาให้เครดิตบูโรเป็นระยะเวลา 5 ปี และหลังจากนั้นเครดิตบูโรจะแสดงข้อมูลลูกหนี้ที่เป็นหนี้เอ็นพีแอลต่อไปอีก 3 ปี ทำให้รวมระยะเวลาที่ข้อมูลลูกหนี้ ปรากฏในฐานข้อมูลของเครดิตบูโรรวมทั้งสิ้น 8 ปี หลังจากนั้นจะลบประวัติออกไปตามหลักเกณฑ์ใหม่ต่อไป อ่านมาถึงตรงนี้ สำหรับท่านที่ค้างชำระ ....ผมว่าท่านคงพอคิดออกนะครับ ว่าจะทำยังไงต่อไป
==>> แต่อย่างไรก็ตาม ธปท. หรือเครดิตบูโรบล็อกเอง ไม่ได้สนับสนุนให้เกิดการเบี้ยวหนี้ ไม่ชำระหนี้ หนีหนี้ แต่อย่างใดนะครับ
ส่วนกรณีลูกหนี้ที่เคยเป็นหนี้เอ็นพีแอล แต่ได้ชำระจนครบจำนวนแล้ว แต่ยังต้องมีการแสดงข้อมูลเคยเป็นหนี้ต่อไปอีก 3 ปี ซึ่งมีผลต่อการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์นั้น ในขณะนี้คณะกรรมการเครดิตบูโร กำลังพิจารณาว่าควรปรับลดเวลาลงหรือไม่ หรือจะยังไงต่อไป ถ้ามีรายละเอียดเพิ่มเติม เครดิตบูโรบล็อกจะแจ้งข่าวให้ทราบกันต่อไปครับ
คำถาม จะมีผลเมื่อใด
คำตอบ หลังจากลงในราชกิจจานุเบกษา
นอกจากนั้น คณะกรรมการเครดิตบูโร ยังได้ออกประกาศกำหนดให้สหกรณ์และชุมนุมสหกรณ์ทุกประเภท เป็นสถาบันการเงินตามมาตรา 3 (9) แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 เพื่อให้สหกรณ์และชุมนุมสหกรณ์ทุกประเภท ซึ่งมีอยู่ด้วยกันในขณะนี้ 8,000 แห่ง ซึ่งมีลูกหนี้ทั้งสิ้นกว่า 11 ล้านราย สามารถเข้าเป็น สมาชิกข้อมูลเครดิตได้ แต่ในเบื้องต้นยังเป็นระบบสมัครใจก่อน โดย ธปท.และเครดิตบูโร จะไปชี้แจงทำความเข้าใจกับสหกรณ์แต่ละรายถึงผลดี ผลเสียและการส่งข้อมูลมาในระบบ ขอบคุณสำหรับการติดตาม...เครดิตบูโรบล็อก
http://clearbl-creditbureaus.blogspot.com/