บทความที่ได้รับความนิยม

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิธีแก้ปัญหาหนี้

Debt Solutionsคุณกำลังเอา "หนี้" มาใช้ "หนี้" อยู่หรือเปล่า ?

ปราณี ศรีกำเหนิด pranee_s@nationgroup.com
"ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเดือน พ.ค.ขยายตัวเพิ่มขึ้น จากเดือน เม.ย.ถึง 11.98% รวมยอดการใช้จ่ายทั้งสิ้นเกือบ 53,000 ล้านบาท ..

เช่นเดียวกันกับการเบิกเงินสดล่วงหน้าในเดือน พ.ค.ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น 20.57% โดยเพิ่มขึ้นเป็น 13,102.53 ล้านบาท จากการเบิกเงินสดล่วงหน้าในเดือนเมษายนจำนวน 10,866.71 ล้านบาท" (หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 14 ก.ค.2548)

.....................................................

ใครหลายคนที่ใช้บริการเบิกเงินสดล่วงหน้าอยู่ อาจจะไม่รู้ตัวว่ากำลังทำให้หนี้สินของตัวเองเพิ่มขึ้น และจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากด้วย เพราะค่าธรรมเนียมการเบิกเงินสดที่ 3% ต่อครั้งนั้น หมายถึง 36% ต่อปี ถ้าคุณกดเงินสดทุกเดือนเพื่อมาใช้จ่าย

และจะยิ่งเลวร้ายมากขึ้นไปอีกถ้าคุณกดเงินสดจากบัตรใบหนึ่ง เพื่อไปชำระขั้นต่ำของบัตรอีกใบหนึ่ง หรือชำระสินเชื่อส่วนบุคคลของอีกรายหนึ่ง

นี่ไม่ใช่การยกตัวอย่างเพื่อให้ตกใจเล่น แต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เชื่อหรือไม่ว่าหลายคนที่ใช้วิธีนี้ประสบปัญหาหนี้สินจากหนี้ทุกก้อนรวมกัน หลายแสนบาท บางรายอาจสูงถึงล้านบาท

วิธีการชำระหนี้ที่ผู้รู้หลายคนแนะนำ คือ วิธีแรก ถ้าคำนวณเงินรายได้ของตัวเองว่าเพียงพอที่จะชำระหนี้ ก็ค่อยๆ ทยอยชำระหนี้ โดยตั้งเป้าปลดหนี้ทีละใบ หรือทีละก้อน โดยจ่ายให้สูงกว่าขั้นต่ำแค่ 1ใบ (กรณีสินเชื่อบุคคลต้องพิจารณาเงื่อนไขการชำระก่อนกำหนดด้วยว่ามีค่า ธรรมเนียมหรือไม่)

วิธีที่สอง หาแหล่งเงินกู้ระยะยาวแหล่งอื่นมาโปะ ไม่มีดอกเบี้ยยิ่งดี ถ้ามีดอกเบี้ยต้องให้ถูกกว่า และผ่อนแบบลดต้นลดดอก เช่น การรีไฟแนนซ์บ้าน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สวัสดิการเงินกู้ของหน่วยงานหรือองค์กร เงินกู้สหกรณ์ ฯลฯ

วิธีสุดท้าย ถ้ารายได้ตัวเองไม่เพียงพอชำระหนี้แม้แต่ชำระขั้นต่ำ และหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำไม่ได้ ขณะที่หนี้สินพอกพูนจนกระทบกับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของตัวเอง และครอบครัว แนะนำให้หยุดจ่ายบัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคลไว้ก่อน จ่ายเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อเพราะเป็นคดีอาญา การหยุดจ่ายไว้ก่อนชั่วคราวก็เพื่อให้ตั้งตัวได้ มีเงินพอใช้จ่ายประจำวัน หลังจากนั้นค่อยรอดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายต่อไป ซึ่งก็คือ การฟ้องศาล

ข้อดีของวิธีนี้ คือ ยังมีเงินใช้จ่ายประจำวัน หยุดหนี้ไว้กับที่ไม่บานปลาย มีระยะเวลาไม่ต้องชำระหนี้ประมาณ 1 ปีหรือปีเศษ มีโอกาสลดดอกเบี้ย, ค่าธรรมเนียม, ค่าปรับล่าช้า เมื่อจบในศาล ศาลจะสั่งอายัดเงินเดือน 30% ของเงินเดือน กรณีมีเจ้าหนี้หลายราย ต้องเข้าคิวอายัดทีละราย การบังคับคดีมีระยะเวลา 10 ปี เกินกว่านี้เจ้าหนี้หมดสิทธิ

ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำจากผู้รู้ และลูกหนี้ผู้มีประสบการณ์

- หนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคลมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 แสน เป็นคดีแพ่งและเป็นคดีมโนสาเร่

- หยุดใช้บัตรเครดิต และหยุดกู้เงินใหม่ทุกชนิด (บัตรเครดิต อย่าลืมแจ้งยกเลิกด้วย)

- อดทนกับการทวงหนี้ของธนาคารในช่วงที่ธนาคารทวงหนี้เอง ประมาณ 3-4 เดือน และทำจดหมายประนอมหนี้ส่งให้ทุกธนาคารเพื่อลดการทวงหนี้ (อาจได้ผลหรือไม่ได้ผลขึ้นอยู่กับธนาคาร)

- อดทนกับการทวงหนี้อย่างขะมักเขม้นของสำนักงานกฎหมายที่รับจ้างทวงหนี้ เป็นเวลาประมาณ 4 เดือน

- ไม่แนะนำให้ประนอมหนี้กับธนาคารนอกศาลอย่างเด็ดขาด แม้งวดผ่อนจะน้อย เพราะการเซ็นรับสภาพหนี้ก้อนใหม่จะรวมดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม และค่าปรับเข้าไปด้วย ขณะที่การประนอมหนี้กับธนาคารในศาลจะลดภาระดอกเบี้ยลง โดยเฉพาะดอกเบี้ยผิดกฎหมาย และไม่แนะนำเซ็นเอกสารใดๆ ทั้งสิ้น

- เมื่อถูกเจ้าหนี้ฟ้อง แนะนำให้ไปยื่นคำให้การสู้คดี เพื่อให้มีเวลาเก็บเงินใช้หนี้ได้อีกระยะ เวลานับจากฟ้องถึงนัดครั้งแรกประมาณ 3-6 เดือน สู้คดีอีกประมาณ 3 เดือน ถ้าสืบพยานอีกประมาณ 3-12 เดือน ดังนั้นจะมีเวลาที่ยังไม่ชำระหนี้ได้ประมาณอย่างน้อย 1 ปี บวกกับเวลาในช่วงทวงหนี้อีกนิดหน่อย ก็จะมีเวลาปีกว่าๆ

- หลังจากใช้จ่ายประจำวันในครอบครัวแล้ว ถ้ามีเงินเหลือเก็บไว้เพื่อชำระหนี้เมื่อประนอมหนี้ได้ในศาล หรือเมื่อศาลพิพากษาให้ชำระหนี้ เงินที่ตั้งใจจะเก็บไว้นี้ไม่แนะนำให้เปิดบัญชีกับเจ้าหนี้ เพราะอาจถูกหักเงินจากบัญชีนี้ได้

- ปรึกษากับผู้รู้ คนที่มีประสบการณ์ และทนายความ โดยเฉพาะเมื่อถึงชั้นศาล

สุดท้ายนี้ คงต้องชี้แจงไว้ด้วยว่า คำแนะนำทั้งหมดมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของลูกหนี้ในช่วงระยะ เวลาหนึ่ง ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการแนะนำให้ชักดาบแต่อย่างใด

เพราะถึงที่สุดแล้ว ลูกหนี้ย่อมต้องชำระหนี้ตามคำสั่งศาลอันเป็นไปตามกระบวนการกฎหมายทุกประการ

......................................................

(หมายเหตุ : ขอขอบคุณผู้รู้ และลูกหนี้ผู้มีประสบการณ์ที่ให้ข้อมูล และคำแนะนำผ่านทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และขออภัยที่ไม่สะดวกกับการให้เครดิตกับทุกท่าน)

กรุงเทพธุรกิจ 17 ก.ค.2548

ที่มา http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/view.php?id=296

"หนี้บัตรเครดิต" วัฒนธรรมใหม่ ถลุงเงินอนาคต

เปิดวิจัย "หนี้บัตรเครดิต" วัฒนธรรมใหม่ ถลุงเงินอนาคต ประชาชาติธุรกิจ หน้า 12 วันที่ 30 พฤษภาคม 2548 ปีที่ 29 ฉบับที่ 3692 (2892)


กลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา "พอล ครุกแมน" กูรูใหญ่ด้านเศรษฐศาสตร์ ได้สะท้อนมุมมองต่อสังคมไทยว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดเวลานี้คือหนี้ภาคครัวเรือนและหนี้บัตรเครดิต ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น


ในขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวปรารภต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ให้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯรัฐบาลไปหามาตรฐานในการควบคุมบัตรเครดิตที่เพิ่มมากขึ้นกว่า 7 ล้านใบ


การส่งสัญญาณของนักเศรษฐศาสตร์และผู้นำของประเทศเกี่ยวกับ "หนี้" ของคนไทยรอบนี้ ย่อมไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน


ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้นำเสนอบทวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทยอย่างน่าสนใจ






"ในช่วงที่ผ่านมา มีคนถามผมตลอดเวลาว่าเศรษฐกิจน่าเป็นห่วงจริงหรือเปล่า ? ฟองสบู่จะแตกไหม ?


และสิ่งหนึ่งที่ผมรู้สึกได้และได้สัมผัสตลอดเวลาคือ เงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้นน้อยมาก ใน ขณะที่สินค้ามีราคาแพงขึ้น หนี้สินจึงเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว เพื่อนๆ หันไปใช้บัตรเครดิตกันเยอะมาก


เวลาไปรายงานสถานการณ์เศรษฐกิจกับหอการค้าไทย คณะกรรมการมักจะถามเสมอว่าหนี้บัตรเครดิตเป็นอย่างไรบ้าง ลูกน้องผมถูกทวงหนี้ทุกวัน มีคนงานลาออกเนื่องจากเป็นหนี้บัตรเครดิตเดือนละไม่ต่ำกว่า 10 คน"


ทั้งหมดคือสภาพปัญหาหนี้บัตรเครดิต ที่สะท้อนผ่านคำพูดของคนที่อยู่รอบๆ ตัวผู้ อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าฯ ทำให้ต้องทำวิจัยเรื่องนี้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว


และท้ายที่สุดก็พบว่า หนี้บัตรเครดิตนั้นน่าห่วงกว่าหนี้ภาคครัวเรือนอยู่มาก


ดร.ธนวรรธน์บอกว่า จากงานวิจัยในช่วงที่ผ่านมา และการเก็บตัวเลขของสำนักงานสถิติแห่งชาติ จะเห็นว่าสถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทยได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีนัยสำคัญ โดยหนี้ครัวเรือนเพิ่มจาก 31,387 บาทต่อครัวเรือน หรือ 3.80 เท่าของรายได้ในปี 2537 เป็น 203,940 บาทต่อครัวเรือน หรือ 7.11 เท่าในปี 2547 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่กระนั้นก็ยังไม่ค่อยน่าห่วงมากนัก เพราะส่วนหนึ่งเป็นหนี้ที่เกิดจากการบริโภคและการซื้อทรัพย์สิน


แต่สิ่งที่น่าห่วงที่สุดในสายตาของ ดร.ธนวรรธน์ คือ สถานการณ์หนี้บัตรเครดิตของคน ไทยที่นับวันจะยิ่งสูงขึ้น เนื่องจากสถาบันการเงินต่างๆ ที่ออกบัตรเครดิตต่างเร่งหาลูกค้าบัตรเครดิตเพื่อทำยอดที่ได้รับมอบหมายมา จากส่วนกลาง ส่งผลให้ปัจจุบันจำนวนบัตรเครดิตมีสูงถึง 8,648,100 ใบ


แบ่งเป็นบัตรเครดิตที่ธนาคารพาณิชย์ไทยเป็นผู้ออก จำนวน 3,163,600 ใบ บัตรเครดิตที่ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศในประเทศไทยเป็นผู้ออก จำนวน 965,434 ใบ และบริษัทประกอบธุรกิจบัตรเครดิต จำนวน 4,519,066 ใบ


จากการสำรวจข้อมูลล่าสุด ในปี 2548 พบว่า ผู้ที่ถือครองบัตรเครดิตต่อรายลดลงจากปี 2547 ระดับ NPL ของบัตรเครดิตในปี 2545-2547 ก็ยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงมาก อยู่ที่ร้อยละ 4.0-3.4 และ 2.9 ของหนี้บัตรเครดิตทั้งหมด


แต่เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์การถือครองบัตรเครดิตต่อบุคคลในปี 2547-2548


พบว่าจำนวนบัตรโดยเฉลี่ยในการถือของประชาชนลดลง โดยปี 2547 ตัวเลขอยูที่ 4.2 ใบ ต่อคน และในปี 2548 ตัวเลขลดลงเหลือเพียง 2.8 ใบต่อคน


ส่วนใหญ่คนไทยจะถือครองบัตรเครดิตประมาณ 1-3 ใบต่อคน สูงสุดคือ 21 ใบ/คน


อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจำนวนบัตรเครดิตที่ถือโดยเฉลี่ยต่อคนนั้นจะมีแนวโน้มที่ลดลง แต่สิ่งที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดคือการใช้บัตรเครดิตที่มีการใช้ในลักษณะ การเบิกเงินสดล่วงหน้าเพิ่มขึ้นใน***ส่วนที่มากขึ้น จากร้อยละ 18.9 ในปี 2547 เป็นร้อยละ 32.4 ในปี 2548


สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมในการใช้บัตรเครดิตเพื่อการก่อหนี้มากยิ่งขึ้น


อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ ระดับรายได้ของผู้ถือบัตรเครดิตที่น้อยกว่า 30,000 บาท จะมีโอกาสในการเกิดหนี้บัตรเครดิตได้สูงกว่ากลุ่มที่มีรายได้สูง


นอกจากนั้นแล้ว ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าฯยังได้สำรวจความคิดเห็นของผู้ใกล้ชิดกับผู้ใช้บัตร เครดิตอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่มีความเห็นว่าภาระหนี้ของผู้ถือบัตรเครดิตมีแนวโน้มที่เพิ่ม ขึ้น


และเมื่อถามถึงสถานการณ์หนี้บัตรเครดิต และหนี้ครัวเรือนน่าเป็นห่วงเพียงใด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าทั้งหนี้บัตรเครดิตและหนี้ครัว เรือนของไทยน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะในอนาคต 3 ปีข้างหน้า


โดยสรุปหนี้บัตรเครดิตเป็นสถานการณ์ที่กลุ่มตัวอย่างมีความกังวล และวิตกว่าจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันและอนาคต


แต่ถึงกระนั้นยังไม่มีข้อมูลใดที่ชี้ชัดว่า ปัญหาหนี้บัตรเครดิตจะก่อให้เกิด NPL เพิ่มมากขึ้น และเป็นปัญหามากต่อระบบการเงินโดยรวม
ที่มา http://www.consumerthai.org/old/compliant_board1/index_001.php